Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > ในหลวง "ไม่เคย" เซ็นรับรองการรัฐประหาร

ในหลวง "ไม่เคย" เซ็นรับรองการรัฐประหาร

พิมพ์ PDF

ในหลวง “ไม่เคย” เซ็นรับรองการรัฐประหาร

เรื่องหนึ่งที่มีการเอามาโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ เอามาโจมตีในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็คือ การกล่าวหาว่าพระองค์ท่าน “เซ็นรับรองการรัฐประหาร” ซึ่งเรื่องนี้ “ไม่เป็นความจริง” ในหลวงไม่เคยเซ็นรับรองการรัฐประหารเลยแม้แต่ครั้งเดียว จะอธิบายให้ฟังอย่างนี้นะครับ การที่เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ เราต้องเข้าใจเรื่อง “อำนาจอธิปไตย” เสียก่อน อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ก่อน พ.ศ. 2475 ที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตย อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์

แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แล้ว พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานอำนาจอธิปไตยนั้นให้แก่ “ประชาชน” ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกฉบับ จึงมีการระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย หรือ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ซึ่งก็หมายความว่า เราแต่ละคน ล้วนมีอำนาจอธิปไตยนี้อยู่คนละเสี้ยวคนละส่วน แต่ แต่ แต่ ในการใช้อำนาจอธิปไตย มันจะแคะเอามาใช้ทีละเสี้ยวไม่ได้ เวลาใช้มันต้องใช้ทั้งก้อน ถ้านึกไม่ออก ก็นึกถึง “บอลเกงกิ” ของโกคู ในดราก้อนบอลอะ มันต้องมีคนรวมไอ้พลังเล็ก ๆ น้อย ๆ ของแต่ละคน มาปั้นเป็นก้อนใหญ่แล้วใช้ทีเดียวเต็มอานุภาพ เอาล่ะ เข้าใจนะ ไม่เข้าใจก็ไม่อธิบายแระ

เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของ/มาจากประชาชน มันก็จะต้องมีคนเป็นตัวแทนใช้อำนาจเหล่านั้น ซึ่งประเทศไทยตอนเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 ได้ตกลงแล้วว่าจะให้ใช้รูปแบบการปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  ก็หมายความว่า ประเทศไทย มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในเชิงสัญลักษณ์ นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมพระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่าง ๆ

แต่เราให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในทางสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติหรือในความเป็นจริง เราให้องค์กรอำนาจรัฐต่าง ๆ นั้นเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยนั้น โดยแบ่งอำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ มีองค์กรที่ใช้คือ รัฐสภา   อำนาจบริหาร มีองค์กรที่ใช้คือ คณะรัฐมนตรี   อำนาจตุลากร มีองค์กรที่ใช้คือ ศาล ไอ้องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยสูงสุดทั้งหมดนี้ ในทางรัฐศาสตร์มีศัพท์เรียกว่าเป็น “องค์อธิปัตย์”

สรุป ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็จริง แต่ได้มอบหมายให้ พระมหากษัตริย์เป็นตัวแทนใช้อำนาจนั้น แต่ท่านไม่ได้ใช้เอง เพราะท่านต้องใช้ผ่านไปทางองค์อธิปัตย์ตัวจริง คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล

ดังนั้น ในกฎหมายหรือเอกสารที่พระมหากษัตริย์จะต้องลงพระปรมาภิไธย จึงจะต้องมี “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” เสมอ คือคนนั้นรับไปทำแล้ว จะดีจะชั่ว มันก็อยู่ที่ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์แล้ว เพราะในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงดำรงฐานะอยู่เหนือการเมือง (ไม่ใช่อยู่เหนือกฎหมายนะ อย่ามามั่ว ท่านทรงอยู่ภายใต้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ)

ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจหลักการตรงนี้ก่อน จึงจะอธิบายต่อไปได้ว่า ทำไมในหลวงถึงไม่เคยเซ็นรับรองการรัฐประหารตามที่มีคนชั่ว ๆ มันเอาไปโจมตี ต่อไป มาทำความเข้าในเรื่อง “การรัฐประหาร” นะครับ การรัฐประหาร แปลตามศัพท์ก็คือ ฆ่ารัฐเดิมทิ้ง หมายถึง ยึดอำนาจจากคนที่ถืออำนาจอยู่แต่เดิม แล้วเอามาเป็นของคนที่ทำรัฐประหาร สถาปนาตัวคนที่ทำรัฐประหารนั้นให้มีฐานะกลายเป็น “องค์อธิปัตย์”  ทีนี้ อำนาจขององค์อธิปัตย์ ก็คือ อำนาจอธิปไตย อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มันกระจายอยู่ที่รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล แต่ละทำรัฐประหารสำเร็จปุ๊บ “คณะรัฐประหาร” ก็เท่ากับสามารถ “รวบ” อำนาจอธิปไตยนั้นมาอยู่ในมือของตัวเองได้ทั้งหมด เรียกได้ว่า คณะรัฐประหารนั้นทำหน้าที่รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เบ็ดเสร็จในตัวเองเลย (แต่เขาก็จะออกกฎหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำหน้าที่แทนเขาต่อไป) เอาล่ะ ที่นี้ เมื่อมีคนสามารถทำรัฐประหารได้แล้ว เช่น คสช. ทำรัฐประหารได้แล้ว คสช. ก็มีฐานะเป็น “องค์อธิปัตย์” หมายความว่า ภายในอาณาเขตประเทศไทย ณ เวลานั้น “ไม่มีใครใหญ่กว่า คสช.” แม้แต่พระมหากษัตริย์ แต่ตามวัฒนธรรมประเพณีทางการเมืองการปกครองของไทย คณะรัฐประหาร (ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว ณ ตอนนั้น) จะทำการขอเข้าเฝ้าเพื่อชี้แจงสถานการณ์เหตุผลความจำเป็นที่ต้องทำการรัฐประหารต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจริงใจว่า แม้ว่าตอนนี้เขาจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแต่ก็ยังคงจงรักภักดีไม่ได้คิดล่วงละเมิดต่อราชบัลลังก์แต่อย่างใด

จากนั้น ก็จะขอให้พระมหากษัตริย์ทรงมี “ประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหาร” (ซึ่งจะใช้ชื่อคณะอะไรก็สุดแต่ใจจะชอบ) เท่านั้น ไม่ได้ประกาศรับรองการรัฐประหารครั้งนั้น ๆ เลย ย้ำ ไม่ได้ประกาศรับรองการรัฐประหารครั้งนั้น ๆ เลย เอาล่ะ ทีนี้ ก็อาจมีบางคนมันบอกว่า นั้นแหละ ถึงไม่ได้รับรองแต่ก็แต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหาร ท่านไม่เซ็นแต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ได้นี่ ตอบ ไม่ได้ครับ ย้ำ ไม่ได้ครับ เหตุผลเพราะ ตอนนั้น คณะรัฐประหารเขากลายเป็นองค์อธิปัตย์ด้วยตัวเขาเองอยู่แล้ว ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่มีประกาศให้ (ซึ่งประกาศนั้นก็จะต้องมีคนรับสนองพระบรมราชโองการนะ ไม่ใช่ประกาศลอย ๆ) ทางที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือ คณะรัฐประหารทำการล้มล้างสถาบัพระมหากษัตริย์เสียแล้วตั้งตัวปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ถ้าไม่มีใครลุกขึ้นมาสู้ ประเทศก็เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จไป ตัวอย่างของประเทศเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ เกาหลีเหนือ ไงครับ แต่ถ้ามีคนลุกขึ้นมาสู้คณะรัฐประหาร โดยการอ้างว่า คณะรัฐประหารนั้นไม่ชอบธรรม เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหาร แต่คณะรัฐประหารตั้งกันเอง คราวนี้ ก็จะมีการจับอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกัน เลือดนองแผ่นดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สภาพเช่นนี้ พระมหากษัตริย์ที่ทรงดำรงด้วยทศพิธราชธรรม จะยอมให้เลือดอาณาประชาราษฎร์ต้องนองแผ่นดินได้อย่างไร แล้วมันเหลือทางใดให้พระมหากษัตริย์ไหมครับ ว่าไม่ต้องประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหาร เพราะนี่คือหนทางเดียวที่จะยับยั้งการนองเลือดอย่างมหาศาลของคนในชาติได้ และทำแบบนี้มาตั้งแต่ครั้งที่คณะราษฎรมันเข้าเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วครับ

เอาล่ะ ใครที่ได้อ่านแล้ว ก็กรุณา “เบิกเนตร” เสียด้วยนะ ตาสว่างกันเสียที ในหลวงไม่เคยเซ็นรับรองการรัฐประหาร ถ้าใครได้อ่านขนาดนี้แล้ว ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เชื่อ แต่กลับไปเชื่อคนชั่วที่ใส่ร้ายในหลวง มึงนี่เกินจะเยียวยาแล้วล่ะ จบนะ

ปล. ฝากแชร์ ฝากบอกต่อ ช่วยให้คนตาสว่างเอาบุญด้วยนะครับ        Cr.จับสัญญาณการเมือง


 
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > ในหลวง "ไม่เคย" เซ็นรับรองการรัฐประหาร

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559741

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า