Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

พิมพ์ PDF

ข้อพิจารณา แนวคิดการจัดตั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง หลังวิกฤตการณ์โควิท

เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ต้องทำแบบ “คนจน”บริหารแบบ “คนจน”ไม่ติดกับตำรามากเกินไป

ทำอย่างมีสามัคคีเมตตากัน….

 

I ข้อเท็จจริง

 

๐ เราเข้าสู่ช่วงเวลาของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ หลังสถานการณ์สงครามชีวภาพ (ไวรัสโควิท19) ซึ่งเป็นภัยคุมคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ซึ่งเกิดจาก (ก) คนตกงาน โดยเฉพาะคนชนชั้นรากหญ้า เกษตรกร ผู้ใช้แรงงานในเมืองใหญ่ (ข) ห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคเปลี่ยนอย่างฉับพลัน เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการส่งออกเป็นหลัก (ค) ระบบกฎหมาย กลไกของสถาบันทางการเมืองและสังคมแบบปรกติ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความมั่นคงระบบมหภาค ที่สร้างผลกระทบทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกับวิกฤตระดับนานาชาติร่วมกัน

 

๐ วิกฤตครั้งนี้ ถือเป็นภัยคุมคามความมั่นคงของชาติ ต้องการกลไกของสถาบันทางการเมืองและความมั่นคง. ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตครั้งนี้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด คู่ขนานกับกลไกของสถาบันการเมืองแบบปรกติ 

 

๐ เห็นควรที่จะอันเชิญพระปฐมบรมราชโองการ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไปมาเป็นหลักชัยและเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินการให้บรรลุตามพระราชประสงค์นี้ ด้วยการใช้ศาสตร์พระราชาเป็นหลักในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา

 

๐โดยการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ ร่วมสร้างศูนย์รวมใจ มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง เพื่อร่วมกันทั้งมิติการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหาความมั่นคงของประเทศ อย่างพร้อมเพรียงและบูรณาการ เพื่อนำพาประเทศก้าวข้ามวิกฤตการณ์ความมั่งคงครั้งนี้อย่างทันถ่วงทีกับบริบทปัญหาปัจจุบัน

 

๐ ดังนั้นในบรรยากาศทางการเมืองของประเทศปัจจุบัน ที่ภาคการเมืองจากการเลือกตั้งไม่มีความเป็นบึกแผ่น  ประเทศต้องการกลไกเสริม ทำหน้าที่เป็น  War Room ในการแก้ปัญหาของชาติครั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่สร้างศูนย์รวมจิตใจ ต่อยอดจากทุนทางสังคม (social capital) หรือการสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชา

 

๐ เห็นควรจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 6 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)  เป็นหน่วยวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนา แก้ปัญหาและฟื้นฟูประเทศไทย  ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหน่วยงานร่วม  ซึ่งทำหน้าที่บูรณาการทางเศรษฐกิจภาคพลเรือน ที่มีความรู้ ทักษะ ด้านเศรษฐกิจชุมชน  ร่วมกันขับเคลื่อน แก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้

 

II. ข้อพิจารณา

 

(1) ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 6 (กอ.รมน.) จะทำหน้าที่สร้างทีมงานที่มีความรู้ ทักษะ จากทุกภาคส่วน มีภาวะผู้นำ ทำหน้าที่เป็น War Room ในการวางแผนเชิงกลยุทธ บัญชาการ ขับเคลื่อนแก้ปัญหาและประเมินผล อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ ภายใต้ความมั่นคงที่มุ่งต่อยอดศาสตร์พระราชา

 

(2) ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหาเร่งด่วน ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 

 

(ค) สร้างองค์กร เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทำหน้าที่การออม แหล่งทุน และการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยบุคลากรมืออาชีพ ในฐานะนิติบุคคล “วิสาหกิจเพื่อความมั่นคงทางสังคม”  (social security enterprise) ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จริง พัฒนาต่อยอดจากวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และสหกรณ์  

 

(3) ส่งเสริมการจัดตั้งนิคมการเกษตรอัจฉริยะ ในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย.  พัฒนาตามแนวพระราชดำริเรื่อง “ภูมิสังคม” ที่มุ่งเน้นการวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ของแต่ละพื้นที่ ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ (ดิน น้ำ อากาศ ฯ) ทุนทางสังคม-วัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่ ที่เชื่อมโยงกับตำแหน่งทางการตลาดของพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ เพื่อ “ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต” และสร้างระบบการแลกเปลี่ยนมูลค่าระหว่างสมาชิกชุมชนทั่วประเทศ ด้วยสกุลเงินดิจิตอล ผ่านเทคโนโลยี blockchain ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส บริหารความเสี่ยงจากพลวัตรของสถาบันการเงินโลกาภิวัตรปัจจุบัน

 

(4) ระงับใช้การบังคับใช้กฎหมายปรกติ หรือเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคในการปรับตัวของประเทศที่กระทบต่อความมั่นคง เพื่อการแก้ปัญหาเชิงนโยบายที่รวดเร็ว ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

(5) ปรับปรุงห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคใหม่ (supply chain) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  มีการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนอง New Normal และมีความสอดคล้องกับบริบทตลาดใหม่หลังวิกฤตโควิท

 

(6) ริเริ่มสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ด้านเกษตรอินทรีย์แปรรูปมูลค่าสูงแบบองค์รวม ที่เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศสอดคล้องกับบริบทตลาดใหม่

 

(7) แสวงหาคู่ค้าตลาดใหม่ๆ จากทั่วโลก ที่ต่อยอดจากความมั่นคงด้านการทูต ที่สถาบันกษัตริย์ไทยได้วางรากฐานความสัมพันธ์ทางการทูตในประเทศต่าง ๆ

 

(8) สร้าง “ทุนเชิงสัญลักษณ์” (Symbolic Capital)  ของสถาบันกษัตริย์สู่ระดับสากลมากขึ้น ต่อยอดกระแสโลกเรื่องโควิท  ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติในการแก้ปัญหาวิกฤตความมั่นคงด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นเครื่องมือใหม่ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ ท่ามกลางปัญหาพลวัตรของระบบเสรีนิยมใหม่โลกาภิวัตรปัจจุบันที่ไม่แน่นอน  

 

III อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชนระยะเร่งด่วน

 

(ก) ภาคเกษตรกรรม ( ให้หันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรผสมผสาน ฯ ไม่น้อยกว่า 25% ของประเทศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตเชิงเศรษฐกิจให้คนรากหญ้า)

 

(ข) ภาคพลังงานทางเลือกของชุมชน สร้างความมั่งคงด้านพลังงานจังหวัดชายแดนทั่วประเทศ สามารถพึ่งพอตัวเองได้ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอแลก

 

(ค) ภาคการท่องเที่ยวชุมชน แบบเพิ่มมูลค่าสูง ทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม (eco-cultural tourism) และ/หรือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (cultural capital) ที่ต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) หรือ “ภูมิสังคม” ของชาติทั่วประเทศ. ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย medical hub ของประเทศ เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ผู้มีฐานะดีที่ต้องการพำนักระยะยาว ทำตลาดผ่านข้อตกลงเงื่อนไขพิเศษ ระหว่างรัฐต่อรัฐ กับประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดี

 

(ง) ภาคอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์แปรรูปมูลค่าสูงแบบองค์รวม ที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ให้กับประชาชนชนรากหญ้าทั่วประเทศ

 

IV ผลลัพธิ์ที่คาดหวัง

 

๐ เกิดกระแสการเชิดชูสถาบัน ศาสตร์พระราชาในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติ  เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงระดับประเทศ  มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ  สามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ-สังคม ให้เกษตรกรไทยได้จริง ต่อความผันผวนไม่แน่นอนของกลไกตลาดโลกาภิวัตร

๐ สามารถแก้ปัญหาระยะสั้นในการสร้างงานภาคเกษตรกรรม หลังวิกฤตโควิท

๐ เกิดเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคง ต่อยอดจาก “ทุนทางสังคม” แต่ละชุมชน ผ่านองค์กรวิสาหกิจเพื่อความมั่นคงทางสังคม ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างแท้จริง

๐ เกิดชุมชนที่  รู้ รัก สามัคคี สืบสานต่อยอด วิถีชุมชน “ทุนทางวัฒนธรรม” การช่วยเหลือเกื้อกูล การมีส่วนร่วม และส่งเสริมสำนึกประชาธิปไตยระดับชุมชน

๐ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้หลากหลายช่องทางการตลาด ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ


 
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559659

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า