Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > สงกรานต์ หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน

สงกรานต์ หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน

พิมพ์ PDF

สงกรานต์ หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง ๔ เมษายน ๒๕๕๖

ภาพประกอบ พระราชพิธีสรงมุรธาภิเษก ในพระราชพิธีสงกรานต์

ที่มา : ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร (๒๕๔๖ : ๑๑๑)

 

 



พระราชพิธีทวาทศมาส หรือ ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันในนามที่ว่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพระราชกรณียกิจของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่จะต้องจัดทำขึ้นเป็นประจำในแต่ละเดือนเพื่อจะคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงของบ้านเมือง และเพื่อแสดงความเป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือพระเจ้าจักรพรรดิราช เชื่อกันว่า หากมีการขาดตกบกพร่องในการประกอบพระราชพิธีดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตรายแก่บ้านเมือง ดังนั้นจึงมีการประกอบพระราชพิธีสิบสองเดือนสืบต่อกันเป็นเวลายาวนาน ความสำคัญของการปฏิบัติพระราชพิธีสิบสองเดือนในแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น ก็เพื่อแผ่พระเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ เช่นการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินทางสถลมารถและทางชลมารถนั้นจะมีขบวนใหญ่โต ตลอดจนเป็นการเตรียมความพรักพร้อมด้านกำลังและอาวุธในคราวที่บ้านเมืองจะต้องรบพุ่งเพื่อรักษาเอกราชจากอริราชศัตรู และ รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นทางจิตใจให้กับสังคมในยุคนั้น ๆ ด้วย 

ประเพณีสงกรานต์ คาดว่ามีมานานนับแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี แต่หลักฐานปรากฏเด่นชัดที่สุดคือ หนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 

พระราชพิธีสิบสองเดือน นับว่าเป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทย และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาในสมัยต่อมา อีกทั้งยังได้รับการอ้างอิงจากงานเขียนมากมาย พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๔๓๑ เนื่องจากกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระราชาธิบาย เรื่องพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งทำประจำพระนคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของความเรียงอธิบาย ให้ข้อมูลเรื่องการพระราชพิธีสิบสองเดือนโดยละเอียด อีกทั้งทรงวินิจฉัยที่มาของการพระราชพิธีและการแก้ไขเปลี่ยนของการพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชสมัยของพระองค์

ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวถึงประเพณีสงกรานต์ หรือ พระราชพิธีสงกรานต์โดยย่อดังนี้

พระราชพิธีสงกรานต์เริ่มขึ้นเมื่อวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ถือเป็นวันปีใหม่ของไทย พระราชพิธีสงกรานต์แบ่งออกเป็นสามวัน คือ วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศกตามลำดับ ระหว่างสามวันนี้จะมีการพระราชกุศลก่อพระทรายและการถวายข้าวบิณฑ์ และยังมีพระราชพิธีสรงมุรธาภิเษกในวันสงกรานต์อันเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ ที่พระเจ้าแผ่นดินจะต้องสรงมุรธาภิเษกในวันเถลิงศกเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ประกาศให้ข้าราชการและราษฎรทำบุญให้ทานในช่วงเวลาสงกรานต์เหมือนที่เคยทำกันมา แต่ทรงเพิ่มเติมพิธีสังเวยพระสยามเทวาธิราช และการเลี้ยงอาหารข้าราชการ พ่อค้า ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนมิชชันนารีขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในช่วงต้นรัชกาลได้ทรงยกเลิกการเลี้ยงอาหารข้าราชการและพ่อค้าที่รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ตั้งขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงขอให้เลิกแล้วโปรดให้มีการเลี้ยงปีใหม่เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ขึ้นมาแทนวันสงกรานต์ นอกจากจะเป็นงานพระราชพิธีแล้วยังเป็นประเพณีของชาวไทยที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องแต่ครั้งสุโขทัยเป็นประจำทุกปี

หนังสือประกอบการเขียน

กฎหมายตรา ๓ ดวง เล่ม ๑. แก้ไขปรับปรุงใหม่ ๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. ๒๕๔๘.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. ๒๕๑๔.
เทพพิทู, ออกญา. (ฌืม กรอเสม). พระราชพิธีทวาทศมาส หรือพระราชพิธีสิบสองเดือนกรุงกัมพูชา ภาค ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : กรมสารนิเทศ. ๒๕๕๐.
บำราบปีปักษ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา. โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ๒๕๔๕.
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร. “การพระราชพิธีสิบสองเดือนในจิตกรรมฝาผนัง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร”. สาระนิพนธ์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๖.

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532408

 

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > สงกรานต์ หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8592134

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า