Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

ติดตามอย่างมีสติ

พิมพ์ PDF

ขอให้ติดตามอย่างมีสติ ใช้เหตุผล และเฝ้าระวังอย่างรอบครอบอย่าตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ เรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศ ทำอะไรต้องคิดและทบทวน เพราะถ้าเราคนไทยกันเอง ต่างออกมาแสดงความเห็นหรือพูดอะไรไปโดยไม่คิดให้รอบครอบ จะกลายเป็นเราคนไทยด้วยกันเป็นผู้ทำร้ายประเทศชาติเสียเอง
สิ่งที่คนไทยต้องรู้ 
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปลด อัษฎา ชัยนาม ออกจาก ปธ.เจบีซี
ปลด ทูตวีรชัย พลาศรัย จากที่ปรึกษา เจบีซี หลังนายกฯเข้ารับตำแหน่งแค่เดือนเดียว

ในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กำลังโหนกระแสเอาหน้ากับผลงานทีมกฎหมายไทยที่มีทูตวีรชัย พลาศรัย เป็นหัวหน้าทีม จากการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง เพรียบพร้อมไปด้วยน้ำหนักของหลักฐาน ข้อเท็จจริง และความชาญฉลาดในการหักล้างข้อกล่าวหาของกัมพูชา และคนไทยก็กำลังปลาบปลื้มกับผลงานของทีมกฎหมายไทย แม้ว่าจะยังไม่มีคำตัดสินจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งคงจะต้องรออีกประมาณ 6 เดือนกว่าจะรู้ผล

แต่การต่อสู้อย่างเข้มแข็งของทีมกฎหมายไทยที่มีการเตรียมการกันมานานตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการรักษาอธิปไตยของประเทศ เพราะยังมีกลไกอื่น ๆ ที่ต้องขับเคลื่อนอย่างเป็นเอกภาพไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยเฉพาะในระดับนโยบายที่จะเป็นผู้กำหนดแนวทางให้ฝ่ายปฏิบัติไปดำเนินการ

กลไกสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชา คือ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี ซึ่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่งตั้งให้ อัษฎา ชัยนาม อดีตอธิบดีกรมการระหว่างประเทศเป็นประธาน ถูกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปลดจากตำแหน่ง ตั้ง บัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ในหลายประเทศ ซึ่งมีปูมหลังเคยรับใช้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณยุคระบอบทักษิณเรืองอำนาจมาดำรงตำแหน่งประธานเจบีซีแทน โดยมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนี้ในวันที่ 13 ก.ย.54 หลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียงเดือนเศษเท่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังเปลี่ยนที่ปรึกษา เจบีซีจากนายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้วตั้งนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุง มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มาทำหน้าที่แทน

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง เพราะเจบีซีคือกลไกในการเจรจาเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาตามกรอบของเอ็มโอยู 43 หากฝ่ายไทยไม่มีความเข้มแข็งปฏิบัติตามนโยบายฝ่ายการเมืองโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง สุดท้ายประเทศชาติก็ยังหนีความเสี่ยงในเรื่องอธิปไตยบริเวณรอบปราสาทพระวิหารไม่พ้น

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือยอดที่งอกจากต้นไม้ ทักษิณ และแนวทางที่ ทักษิณ ยึดมาโดยตลอดเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชา คือการโอนอ่อนตามความต้องการของเขมรบนความสมประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไม่ใช่ความสมประโยชน์ของสองชาติ แต่เป็นความสมประโยชน์ร่วมกันของผู้นำมากกว่า

อย่าลืมว่าการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวมีจุดเริ่มต้นจากรัฐบาลทักษิณและมาปิดจ๊อบในรัฐบาลสมัคร โดยนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น ไปลงนามออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงฝ่ายเดียวจนสำเร็จ ทั้ง ๆ ที่ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ ได้ดำเนินการคัดค้าน พร้อมกับเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา จนทำให้ในปี 2550 คณะกรรมการมรดกโลก ไม่กล้ามีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามข้อเสนอของกัมพูชา จนต้องเลื่อนการประชุมออกไป

แต่เมื่อนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา สนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 จึงมีมติรับรองให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามเป้าประสงค์ของกัมพูชา แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นโมฆะ แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งมติของคณะกรรมการมรดกโลกได้

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือทนายความกัมพูชาได้หยิบยกเอาการสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาลสมัครไปใช้ประโยชน์ในการสู้คดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อโน้มน้าวให้ศาลเข้าใจว่าไทยเคยยอมรับว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาจึงไม่มีการคัดค้านการขึ้นทะเบียนดังกล่าวที่จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่ในส่วนนี้เพื่อให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้อย่างสมบูรณ์

จนถึงวันนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศมาแล้วเกือบสองปี ไม่เคยมีคนในรัฐบาลแม้แต่คนเดียวที่จะประกาศจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา เพื่อต่อยอดจากรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสมัคร เดินหน้าพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยไม่คำนึงถึงผลในทางพฤตินัยว่าจะกลายเป็นการยอมรับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือพื้นที่ปราสาทพระวิหารไปโดยปริยายหรือไม่

ประเด็นที่สังคมไทยต้องจับตาอย่างใกล้ชิดต่อจากนี้ไป จึงไม่ใช่เพียงแค่การรอคอยคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในอีก 6เดือนข้างหน้าเท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายแนวรบที่ไทยต้องยืนยันสิทธิและอธิปไตยของประเทศที่จะไม่ให้กัมพูชาเข้ามาปล้นแผ่นดินไทย

เพราะแนวรบสำคัญคือ คณะกรรมาธิการ เจบีซี ที่ไทยเคยมี อัษฎา ชัยนาม และทูตวีรชัย เป็นขุนพลหลักในการปกป้องเขตแดนไทยได้ถูกปลดออกจากการเป็นแนวหน้าปกป้องชาติจากความกลับกลอกและเล่ห์เหลี่ยมของเขมรไปเสียแล้ว

หน้าที่ของทูตวีรชัยได้ทำอย่างสมบูรณ์ในการปกป้องอธิปไตยชาติและรักษาเกียรติภูมิของชาติไทยในเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจบแล้ว แต่หน้าที่ของคนไทยยังไม่จบเพราะยังต้องเกาะติดเพื่อไม่ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปฝักใฝ่ผลประโยชน์กัมพูชายิ่งกว่าผลประโยชน์ประเทศไทย เหมือนที่นพดล ปัทมะ ถูก ป.ป.ช.ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากการไปออกแถลงการณ์ร่วมกับเขมรมาแล้ว
//////////

 

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589233

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า