Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมในยุคก่อนสมัยใหม่

แนวคิดประชาสังคมในยุคก่อนสมัยใหม่

พิมพ์ PDF

แนวคิดประชาสังคมในยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern history) ข้อมูลจากหนังสือ "พัฒนาการและการพัฒนาประชาคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์

แนวคิดเกี่ยวกับสมบูรณาญาสิทธิราชของรัฐกลายมาเป็นประเด็นขบคิดทางการเมืองในหมู่นักปรัชญาในยุครุ่งเรื่องทางปัญญา (Enlightenment) นักปราชญ์ในยุคนี้สนใจประเด็นคำถามทางการเมืองในเรื่อง "อะไรคือความชอบธรรมในการปกครอง ?" "ทำไมต้องมีสถาบันการปกครอง ?" "ทำไมมนุษย์บางคนจึงมีสิทธิขั้นพื้นฐานเหนือกว่าคนอื่นๆ?" ประเด็นคำถามทำนองนี้นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ แหล่งที่มาของอำนาจทางการเมืองและศีลธรรม เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดจนสนใจว่าสังคมจะเคลื่อนไปได้ไกลเกินกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อย่างไร นักปรัชญาการเมืองในยุคนี้มีความเห็นตรงกันข้ามในเรื่องความสัมพันธ์แบบพันธมิตรระหว่างรัฐกับศาสนจักร โดยมองว่ารัฐและศาสนจักรเป็นตัวสกัดกั้นความก้าวหน้าและความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ เพราะว่ารัฐถือว่าเป็นตัวตนหรือองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจบีบบังคับเสรีภาพของปัจเจกชน ขณะเดียวกันศาสนจักรก็มีความชอบธรรมในการปกครองของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยการสถาปนาทฤษฎีเทวสิทธิ (Divine Right) ขึ้นมาครอบงำความคิดของราษฎรให้ยอมรับการปกครองของกษัตริย์ นักปราชญ์การเมืองในยุคนี้มองว่าความเชื่อนี้ขัดขวางเจตจำนงของประชาชน

ยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern history) เป็นช่วงตอนปลายของยุคกลางไปจนถึงยุคเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่ ประมาณศตวรรษที่ 17 ถึง ศตวรรษที่ 18 มีเหตุการณ์ที่สำคัญในยุโรป คือสงครามสามสิบปี (Thirty Years' War) เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ผลทางการเมืองการปกครองที่ตามมาคือ ระบบกษัตริย์สามารถเข้าไปควบคุมระบบศักดินา จนกระทั่งระบบศักดินาค่อยๆเสื่อมลง กษัตริย์ยุติการพึ่งพากองทัพจากขุนศึกหัวเมือง (Lord) และได้มีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติขึ้นแทน พร้อมๆกับการพัฒนาระบบบริหารราชการแบบอาชีพขึ้น ทำให้กษัตริย์สามารถควบคุมเบ็ดเสร็จและมีอำนาจสูงสุดในการปกครองราษฎร เป็นการเริ่มต้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบนี้มีความรุ่งเรื่องสูงสุดในยุโรปมาจนกระทั่งถึงตอนกลางศตวรรษที่ 18

แนวคิดเกี่ยวกับสมบูรณาญาสิทธิราชของรัฐกลายมาเป็นประเด็นขบคิดทางการเมืองในหมู่นักปรัชญาในยุครุ่งเรื่องทางปัญญา (Enlightenment) นักปราชญ์ในยุคนี้สนใจประเด็นคำถามทางการเมืองในเรื่อง "อะไรคือความชอบธรรมในการปกครอง ?"  "ทำไมต้องมีสถาบันการปกครอง ?" "ทำไมมนุษย์บางคนจึงมีสิทธิขั้นพื้นฐานเหนือกว่าคนอื่นๆ?" ประเด็นคำถามทำนองนี้นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ แหล่งที่มาของอำนาจทางการเมืองและศีลธรรม เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดจนสนใจว่าสังคมจะเคลื่อนไปได้ไกลเกินกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อย่างไร นักปรัชญาการเมืองในยุคนี้มีความเห็นตรงกันข้ามในเรื่องความสัมพันธ์แบบพันธมิตรระหว่างรัฐกับศาสนจักร โดยมองว่ารัฐและศาสนจักรเป็นตัวสกัดกั้นความก้าวหน้าและความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ เพราะว่ารัฐถือว่าเป็นตัวตนหรือองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจบีบบังคับเสรีภาพของปัจเจกชน ขณะเดียวกันศาสนจักรก็มีความชอบธรรมในการปกครองของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยการสถาปนาทฤษฎีเทวสิทธิ (Divine Right) ขึ้นมาครอบงำความคิดของราษฎรให้ยอมรับการปกครองของกษัตริย์ นักปราชญ์การเมืองในยุคนี้มองว่าความเชื่อนี้ขัดขวางเจตจำนงของประชาชน

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 18  ปรัชญาการเมืองตะวันตกมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองเกี่ยวกับอำนาจรัฐ ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองและการเติบโตขององค์กรภาคประชาสังคม จนพัฒนาไปสู่การเป็นรากฐานการปฎิวัตประชาธิปไตยในยุโรป อิทธพลทางความคิดของนักปรัชญาการเมืองในยุคนี้ที่สำคัญได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ล็อค (John Locke) และ ฌ็อง ฌ้ากส์ รุสโซ (Jean -Jacques Rousseau) ความคิดของนักปรัชญาทั้งสามคนจัดอยู่ในกลุ่มความคิดที่เรียกว่าทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Theory) เป็นการนำเสนอความคิดที่อธิบายความชอบธรรมใหม่เกี่ยวกับที่มาของอำนาจรัฐ จากเดิมที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า ผู้ปกครองซึ่งก็คือกษัตริย์มีความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองที่ได้รับมาจากพระเจ้าที่เรียกว่า อำนาจเทวสิทธิ์ (Diving Right) อำนาจจากสวรรค์นี้ผู้ปกครองได้รับผ่านมาทางศาสนจักร ตามความเชื่อแบบเดิมนี้อำนาจของอาณาจักรและอำนาจของศาสนจักรจึงเป็นอันเดียวกัน แต่อำนาจรัฐตามแนวคิดของนักปรัชญากลุ่มสัญญาประชาคมเสนอขึ้นมาใหม่ อ้างที่มาของอำนาจรัฐว่าเกิดจากการยินยอมพร้อมใจกันของมนุษย์ในสังคมมาตกลงจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันด้วยการมอบอำนาจให้ผู้นำทำหน้าที่แทนตนในนามของส่วนรวม นักปรัชญาทั้งสามคนให้เหตุผลแตกต่างกันในการอธิบายถึงความจำเป็นที่มนุษย์ยินยอมมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและยอมมอบอำนาจให้ผู้อื่นปกครอง โดยนักทฤษฎีแต่ละคนมีคำอธิบายอ้างถึงพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ในแง่มุมที่แตกต่างกัน แต่ที่มีทัศนะเหมือนกันคือธรรมชาติของมนุษย์เป็นเหตุแห่งการทำข้อตกลงยินยอมในการจัดตั้งและมอบอำนาจให้ผู้นำ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

7 มิถุนายน 2556

ผมจะนำแนวคิดของทั้งสามนักปรัชญา มาเผยแพร่ ในตอนต่อไป โปรดติดตามในเร็วๆนี้

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมในยุคก่อนสมัยใหม่

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599602

facebook

Twitter


บทความเก่า