Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมยุคใหม่

แนวคิดประชาสังคมยุคใหม่

พิมพ์ PDF

ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 สังคมยุโรปก้าวเข้าสู่สังคมพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในยุคนี้มีปรัชญาเมธีทางการเมืองหลายคนที่มีแนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม นักปรัชญาแต่ละคนมีแนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับประชาสังคมต่างกัน และยังมีแนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคมแตกต่างไปจากแนวคิดในยุคโบราณและยุคก่อนสมัยใหม่ นักปรัชญาการเมืองที่มีแนวคิดกับประชาคมสังคมที่กล่าวถึงในยุคนี้ได้แก่

๑.อดัม เฟอร์กูสัน (มีชีวิตในช่วง ค.ศ.1723-1816) นักปรัชญาชาวสก็อตได้นำแนวคิดประชาสังคมมาอธิบายในทฤษฎีการเมืองใหม่ ในทัศนะของเฟอกูสันมองว่าประชาคมเป็นสังคมที่ได้รับการขัดเกลาและปรุงแต่งให้มีความเป็นอารยธรรม เป็นสังคมที่อยู่ในขั้นตอนที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง การสังคม เฟอกูสันเห็นว่าความก้าวหน้าคือตัวชี้วัดถึงความมีอารยธรรม จุดมุ่งหมายของมนุษย์คือการสลัดความลำบากและความไม่สะดวกสบายออกไป ขณะเดียวกันก็มุ่งไขว่คว้าหาความได้เปรียบต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการดำรงชีวิตในปัจจุบันให้ดีขึ้น ความก้าวหน้าของอารยธรรมเป็นสิ่งที่ค่อยๆเกิดขึ้นโดยตัวของมันเอง อารยธรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่มีรัฐบาลใดที่สามารถจะดำเนินการตามแผนและโครงการให้เกิดอารยธรรมขึ้นมาได้ องค์กรทางสังคมและรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ กำเนิดขึ้นมาจากธรรมชาติที่แตกต่างกันของแต่ละสังคม ประชาสังคมเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเองพร้อมกับการขัดเกลาและปรุงแต่งสังคม มีการพัฒนาการค้นคว้าทางเทคโนโลยีและแบ่งงานกันทำ เฟอกูสันเห็นว่าเส้นทางแห่งความก้าวหน้าของมนุษย์มีหลายขั้นตอนตั้งแต่จากความป่าเถื่อนในยุคดั้งเดิมจนกระทั่งก้าวไปสู่อารยธรรมที่มีความก้าวหน้า สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต

อารยธรรมพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆกับการปรุงแต่งสังคมและการค้นคว้าหาวิธีการปรับปรุงการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น เฟอกูสันเห็นว่าการมีทรัพย์สินส่วนตัวเป็นหัวใจสำคัญของความก้าวหน้า เมื่อปัจเจกชนมีการถือครองทรัพย์สินความมีสิทธิก็เกิดขึ้น เป็นสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินรวมไปถึงแรงงาน เช่นมีสิทธิที่จะมีแรงงานไว้ใช้ สิทธิในการมีอำนาจผูกขาดในแรงงานของตน  เมื่อมนุษย์มีทรัพย์สินขณะเดียวกันก็มีการไตร่ตรองและคิดที่จะหาทรัพย์สิน ทำให้แต่ละคนต้องดูแลผลประโยชน์ของตนเอง นำทรัพย์สินมาผูกพันแสดงความเป็นตัวตน นำไปสู่การแบ่งระดับชั้นและสถานะทางสังคม เฟอกูสันเห็นว่าสิทธิในทรัพย์สินและการปกป้องทรัพย์สินเป็นเงื่อนไขสำคัญของเสรีภาพส่วนบุคคล ของพลเมือง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการขัดเกลาและปรุงแต่งสังคมไปสู่ความมีอารยธรรม

การวัดถึงความก้าวหน้าและการมีอารยะธรรมจะดูที่การมีกฎหมายแห่งชาติ ความก้าวหน้าทางการค้าและพฤติกรรมที่ได้รับการขัดเกลาปรุ่งแต่งแล้วของพลเมือง ความก้าวหน้าของสังคมดังกล่าวเป็นลักษณะสำคัญในการนำไปสู่พัฒนาการของประชาสังคม แต่การพัฒนาไปสู่การเป็นประชาสังคมนั้นยังมีเงื่อนไขอื่นๆอีก คือการแข่งขันทางการค้าระหว่างชาติและภาวะตรึงเครียดจากการถูกรุกรานและสงคราม สถานการณืเหล่านี้เรียกร้องให้คนในชาติมีใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อป้องกันสาธารณะ นำไปสู่การปรับปรุงส่วนราชการต่างๆ ขึ้นมารองรับโดยต้องใช้คนที่มีความสามารถทางปัญญาและความประเสริฐทางศีลธรรม ความรู้สึกผูกพันทางอารมณ์และความเป็นมิตรของคนในชาติประกอบกับความรู้สึกเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงกับศัตรู ทำให้พลเมืองมีความกระตือรือร้นและความเข้มแข็งพร้อมที่จะมาเป็นผู้พิทักษ์สังคม สงครามในทัศนะของเฟอกูสันจึงเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพของสังคมและจิตวิญญาณแห่งความรักชาติ

ตามความคิดของเฟอกูสันความก้าวหน้ามิได้หมายถึงเพียงความก้าวหน้าทางศิลปะและเทคโนโลยีเท่านั้นแต่รวมไปถึงการปรับปรุงทางศีลธรรมด้วย ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากมนุษย์ไม่แสวงหาความสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมทางการเมือง การอบรมพัฒนาความดีและปลูกฝังความรู้สึกทางศีลธรรมเป็นประเด็นสำคัญของแนวคิดประชาสังคม ความเข้มแข็งของรัฐไม่ได้ขึ้นอยู่กับความมั่งคงเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือคุณธรรมของพลเมือง

เฟอร์กูสันเห็นว่าไม่มีระบบกฎหมายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกฏหมายทางการเมืองหรืกฎธรรมชาติใดๆสามารถที่จะปกป้องสังคมการเมืองได้ สังคมการเมืองอาจถูกกัดเซาะให้ผุกร่อนได้หากปราศจากการทำนุบำรุงคุณธรรมของพลเมือง ถึงแม้นจะมีสถาบันทางการเมืองที่ดีที่สุดก็ไม่เพียงพอต่อการป้องกันรักษาเสรีภาพของบุคคลได้ เสรีภาพที่ใช้กันอย่างรื่นรมย์จะไม่ถูกปกป้องอีกต่อไปหากไม่มีการเฝ้าระวังทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง หากไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง รัฐบาลของสังคมพาณิชยกรรมอาจกลายมาเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ทำในสิ่งเลวร้ายต่่อสาธารณะขึ้นมาได้ ในทัศนะของเฟอร์กูสันเห็นว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นความจำเป็นทางศีลธรรมของพลเมืองและเป็นคุณลักษณะพื้นฐานของประชาสังคม เสรีภาพทางการเมืองต้องเข้าใจว่าเป็นเสรีภาพแบบพลเมือง (civic liberty) ซึ่งฟอร์กูสันแยกออกต่างหากจากเสรีภาพส่วนตัว (private liberty) การปรุงแต่งทางการเมืองจะต้องพัฒนาฝึกฝนให้สมาชิกในสังคมเป็นผู้มีเหตุผลและมีจิตใจที่จะทำหน้าที่ทางสังคมและปฎิบัติการสาธารณะต่างๆ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลรวมทั้งความมั่นคงในทรัพย์สินจะไม่มีความสมบูรณ์พอหากพลเมืองไม่มีความคิดที่จะแสดงออกถึงความมีคุณธรรมและดำรงชีวิตแบบพลเมืองผู้กระตือรือร้น เฟอร์กูสันเน้นว่า เสรีภาพทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นตัวบ่งบอกถึงรัฐที่มีความอิสระและเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่ดี

ประชาสังคมจะเติบโตรุ่งเรืองขึ้นมาพร้อมกับพลเมืองผู้มีความรักในความเป็นธรรมและมีความผูกพันต่อสาธารณะ ชีวิตของพลเมืองจะไม่มีความหมายใดๆหากดำรงตนอยู่นอกปริมณฑลสาธารณะ กล่าวคือมีแต่ชีวิตส่วนตัวโดยไม่มีชีวิตสาธารณะ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

10 มิถุนายน 2556

ข้อมูลจากหนังสือพัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์


 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมยุคใหม่

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559354

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า