Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Blog > Blog for Member > ลุมลึก และ เนียน ใน Mixed-Methods Research

ลุมลึก และ เนียน ใน Mixed-Methods Research

พิมพ์ PDF
การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-method research) เป็นแบบของการวิจัยประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัยเรื่องเดียวกัน

เรียนเพื่อนๆชาวBlog วันนี้คุยเรื่อง รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed-Methods Research) เราจะทำการ Mixed อย่างไร? ....ให้งานวิจัยของเราให้ เนียนและไร้รอยต่อ....ระหว่างงานวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ....การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยการวิจัยในงาน ป.เอก ของP’Ple ...ทำรูปแบบที่สอง...วิธีแรก ค่ะ...โดยที่ท่าน ศ. ดร. สุวิมล ว่องวาณิช และCresswell & Clark (2007) ได้อธิบายไว้ว่า.....มี 2 วิธี คือ

 

@ รูปแบบแรก.... เป็นการวิจัยแบบทำการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพไปพร้อมกัน (concurrent design) โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน แล้วค่อยนำผลการวิจัยจากทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์ (Analysis) หรือสังเคราะห์ (Synthesis) ภายหลัง รูปแบบนี้ทำให้ได้ข้อมูลจากวิธีวิจัยทั้งสองประเภทมาเสริมกัน เพื่อให้ผลการวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยทั้งสองแบบอาจนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างก็ได้ ซึ่งหากไม่สอดคล้องกัน ก็ต้องมีการวิเคราะห์หาเหตุผลในการอภิปราย

 

@รูปแบบที่สอง... เป็นการวิจัยแบบทำตามลำดับก่อนหลัง (Sequential design) เป็นการออกแบบการวิจัยที่สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี

 

วิธีแรก ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณก่อน แล้วใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยเชิงปริมาณมาออกแบบการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพตามหลัง เพื่อขยายความหรืออธิบายข้อค้นพบให้ลุ่มลึกเพิ่มเติมจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

 

วิธีที่สอง วิธีวิจัยเชิงคุณภาพก่อน แล้วนำผลมาช่วยในการสร้างเครื่องมือวิจัย เพื่อใช้ในการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณตามหลัง เพื่อให้คำตอบที่เป็นสะท้อนภาพรวมของประชากรที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้การเลือกรูปแบบของการวิจัยขึ้นอยู่กับนักวิจัยว่าจะต้องการคำตอบจากการวิจัยแบบใด โดยงานวิจัยเชิงปริมาณของ P’Pleเก็บข้อมูลจำนวน 420 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Model: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL  Version 8.72 วิจัยเชิงคุณภาพเก็บตัวแปรละ 5 คน มีทั้งหมด 5 ตัวแปร เก็บข้อมูลเชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) รวมจำนวน 25 คน วิเคราะห์โดยการตีความ การวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นคำอธิบายที่ลุ่มลึก และไม่ได้เน้นที่การอ้างอิงผลการวิจัยไปยังประชากรอื่น เรียกการวิจัย นี้ว่าใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างวิธีวิจัยทั้งสอง นี้ว่า การวิจัยแบบผสมวิธี หรือ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-method research) เป็นแบบของการวิจัยประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัยเรื่องเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในผลการวิจัยที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในปัญหาวิจัยหนึ่ง ซึ่งอาจให้คำตอบที่เหมาะสมกว่าการใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง

 

ข้อดีและข้อจำกัดของการวิจัยแบบผสมวิธี

การวิจัยแบบผสมวิธีช่วยสร้างความกระจ่างในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยเฉพาะการให้คำตอบในเรื่อง“ทำไม” จึงมีความสัมพันธ์เช่นนั้น ช่วยสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงลึก โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากตัวแปรเชิงคุณภาพ มาศึกษาต่อด้วยวิธีการเชิงปริมาณ ช่วยยืนยันหรือตรวจสอบความตรงของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

 

แต่.....การวิจัยแบบผสมวิธีก็มีข้อจำกัดเช่นกัน คือ ใช้เวลานานในการศึกษาวิจัย (โดยเฉพาะการลงพื้นที่) และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย (ม๊ากๆๆ) และเนื่องจากนักวิจัยส่วนใหญ่จะมีความชำนาญในวิธีวิจัยแบบใดแบบหนึ่งเพียงวิธีเดียว การใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ที่สำคัญต้องมีความชำนาญ....ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยคะแนนที่ Excellent (94.68 คะแนน) ขอขอบคุณ คณาจารย์ที่สอนงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศ.ดร. สนิท สมัครการ และ รศ.ดร.สุพรรณี ไชยอำพร สมัยที่เรียน ป.โท ที่ NIDA ขอบคุณ คณาจาย์ที่ได้สอนในป.โท ด้าน MBA ซึ่งทำให้ สามารถ ออกแบบงานวิจัยระดับ ป.เอก ที่สามารถออกแบบงานวิจัยที่ดี (Research Desing) และงานวิจัยเกิดImmpact ในสังคม งานวิจัยเกิดคุณค่าทางสังคม ต้องขอบคุณ คณาจารย์ทุกๆท่าน โดยเฉพาะ รศ. นพ.สิงห์เพชร สุขสมปอง ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช ที่กรุณาสละเวลาในการสอน นศพ. และการตรวจคนไข้ เพื่อมาสอบงานดุษฎีนิพนธ์ครั้งนี้ งานวิจัยครั้งนี้ต้องกราบขอบคุณท่านดร. วรรโณ ฟองสุวรรณ ผศ. ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์ ท่านทั้งสองเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและที่ปรึกษาทางสถิติขั้นสูง ที่กรุณารับเป็นศิษย์นะค่ะ

 

ขอบคุณ  ผู้อ่านบทความด้วยค่ะ


 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 13:55 น.  
Home > Blog > Blog for Member > ลุมลึก และ เนียน ใน Mixed-Methods Research

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


Blog Archive

แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585586

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า