Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

พิมพ์ PDF

เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

วาทิน ศานติ์ สันติ

ภาพจาก : http://eyesimage.wordpress.com/2010/04/27

ข่าวพระสงฆ์ไทยทุกวันนี้หลายข่าวทำให้เราชาวพุทธไม่ค่อยสบายใจมากนัก โดยเฉพาะข่าวพระสงฆ์ใช้ศรัทธาประชาชนเรียกเงินมหาศาลจนซื้อบ้าน ซื้อรถ ซ้อเครื่องบินส่วนตัวได้ เพื่อนผู้เขียนคนหนึ่งบอกว่า องค์กรสงฆ์เป็นเพียงองค์กรเดียวที่ไม่อาจตรวจสอบฐานะทางการเงิน ผมก็ว่าจริง บางวัดมีเงินบริจาคมหาศาล มากจนนำเงินนั้นมาพัฒนาประเทศได้มากมาย คำถามสำคัญ เงินบริจากถูกนำไปใช้อะไรบ้าง ใครเป็นผู้ดูแล

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เน้นกระปฏิบัติตนเพื่อไปให้ถึงความสุขอันสูงสุดคือ “นิพพาน” ดังนั้นหลักคำสอนของศาสนาพุทธจึงสอดแทรกทุกกิจกรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจซึ่งผูกพันกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ แต่กระนั้นเป้าหมายหลักก็ต่างกัน

 

เศรษฐกิจกับพุทธศาสนาเปรียบเทียบฆราวาสกับพระสงฆ์

๑. เป้าหมาย

ฆราวาส เพื่อ ๑.) การมีทรัพย์ ๒.) การใช้จ่ายทรัพย์ ๓.)การไม่มีหนี้สิน ๔.)ปราศจากทุกข์

พระสงฆ์ เพื่อ ๑.) เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน ๒.) เพื่อขัดเกลากิเลศ

๒. การได้มา

ฆราวาส ได้มาจากสัมมาอาชีวะโดยการประกอบอาชีพหรือเลี้ยงชีพชอบ เป็นการได้มาอันสุจริต เพื่อ ๑.) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ๒.) ท่ามกลางจิตใจที่มีคุณธรรมเพื่อประโยชน์ในชาตินี้ หรือชาติหน้า ๓.) หรือเพื่อหวังความสูงสุดคือนิพพาน ทรัพย์ที่ได้มาต้องไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และไม่ผิดกรรมบถ

พระสงฆ์ ได้มากจากการ บิณฑบาต เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอย การร้องขอนั้นสงฆ์สามารถขอได้เฉพาะญาติหรือผู้ที่ปวารณาตนไว้แล้วเท่านั้น เหตุที่บัญญัติเรื่องการได้มาของทรัพย์นั้นสามารถจำแนกได้ดังนี้

๑. เพื่อขัดเกลาจิตให้มีคุณธรรมและพระนิพพาน คือการดำรงชีวิตที่ไม่ยุ่งยาก

๒. เพื่ออยู่เป็นสุขของสงฆ์ เพื่อให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ดี

๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก หรือผู้ที่ไม่มีความอาย

๔. เพื่อความสำรวมแห่งสงฆ์อันมีศีลเป็นที่รัก

๕. เพื่อป้องกันอาสวะอันเกิดในปัจจุบัน และในอนาคต

๖. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสแล้ว

๗. เพื่อความตั่งมั่นแห่งพระสัจธรรม

๘. เพื่อเอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย ให้พระธรรมวินัยคงอยู่ได้ เพราะหากบัญญัติขอหนึ่งและรักษาได้ บัญญัติอื่นจะสามารถคงอยู่ได้เช่นกัน

๙. สามารถขัดเกลาตนเอง เป็นหนึ่งในการปฏิบัติธรรมและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นในแง่การเลื่อมใสด้วย

นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการแสวงหาทรัพย์ที่ไม่สมควร (อเนสนา) เอาไว้ กล่าวคือ หากทรัพย์ที่ได้มานั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่บริสุทธิ์ ถือเป็นอาบัติ

๑. ห้ามทรัพย์ที่ได้มาจากการอวดอุตริมนุษยธรรม

๒. ห้ามชักสื่อนำทรัพย์มาให้

๓. ห้ามร้องขอต่อบุคคลที่ไม่ใช่ญาติหรือผู้ที่ไม่ได้ปวารณาตน

๔. ห้ามขอในเวลาที่ไม่สมควรเช่น การร้องขออาหารในเวลาอันวิกาล

๕. แกล้งอาพาธเพื่อแสดงความเห็นใจให้ได้มาซึ่งทรัพย์

๖. พูดชักจูงให้ผู้คนตายใจจนนำทรัพย์มาให้

๗. บีบบังคบด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งที่ผู้นั้นไม่เต็มใจ

๘. ต่อลาภด้วยลาภ

๓. การใช้

ฆราวาส ควรใช้ให้พอดี พอเพียง ไม่ใช้จนเกินกำลังก่อให้เกิดหนี้สิน ไม่ใช้ไปตามลิเลส

พระสงฆ์ ควรใช้แต่ความพอดีในการดำรงชีวิตและปฏิบัติธรรม เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลศ จำแนกได้ดังนี้

๑. ใช้แค่บริขาร ๘ อันประกอบด้วย สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคด กระบอก กรองน้ำ ซึ่งสงฆ์ต้องพิจารณา ๒ ขณะคือ ขณะรับและเมื่อรับแล้ว  หากรับโดยปราศจากการพิจารณาจะถือว่าของที่ได้มานั้นอาบัติ

๒. เพื่อขัดเกลากิเลศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เป็นการเจริญสัมปชัญญะกรรมฐาน เพื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นเช่น กินเพื่ออะไร ที่อยู่อาศัยเพื่ออะไร ยาเพื่ออะไร เครื่องนุ่งห่มเพื่ออะไร เมื่อพิจารณาแล้วทำให้ไม่ยึดติดกับสิ่งของเหล่านั้น อีกทั้งเพื่อรู้ว่าสิ่งที่ได้มาคืออะไร หากไม่พิจารณาจะถือว่าเป็น การกินใช้อย่างขโมย การกินใช้อย่างเป็นหนี้ กินใช้อย่างทายาท กินใช้อย่างเจ้าของ ซึ่งไม่เหมะกับพระสงฆ์

๔. การสะสม

ฆราวาส สะสมเพื่อใช่สอยยามจำเป็น หรือเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละอาชีพของตนเอง เช่น สะสมเพื่อค้าขายเป็นต้น

พระสงฆ์ ต้องไม่สะสมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่จำเป็นและต้องเป็นไปตามพระวินัยกล่าวคือ

๑. ต้องไม่สะสมของที่ได้มาและต้องรู้ว่าสิ่งของหรืออาหารต่าง ๆ นั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าใด  อาหารทั่วไปเก็บได้ตามเวลา เช่นเช้า – เที่ยงวันเท่านั้น หากเป็นสิ่งของที่ใช้ปรุงยาสามารถเก็บไว้ได้ตลอด

๒. เพื่อไม่ให้ยึดติดไม่ให้หวงแหน

๓. เพื่อความเป็นระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสงฆ์

๔. เพื่อการอาศัยร่วมกับฆราวาสอย่างเป็นสุข เพื่อไม่ให้เกิดการติเตียน

 

ตัวอย่างการใช้ทรัพย์ตามหลักศาสนา

ฆราวาส การใช้ทรัพย์ หรือการมีวิถีทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับหลักทางพระพุทธศาสนา เป็นการเอาเปรียบและเบียดเบียนผู้อื่น เช่น นักการเมืองแสวงหาทรัพย์อันเกิดจากการทุจริต การช้อราษฎร์บบังหลวง ทำให้บ้านเมืองไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างที่ควรจะเป็น ใช้อำนาจที่ตนมีเป็นเครื่องมือแสวงหาทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมให้กับตนเองและเพื่อนพ้อง ทำให้เกิดการแตกแยกทางสังคม รวมถึงนักธุรกิจที่ไม่มีศีลธรรมก็จะแสวงหาทรัพย์โดยไม่สนหลักมนุษยธรรม เกิดการขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนและลูกจ้าง หากประชาชนปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจของศาสนาพุทธและรวมถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สังคมไทยก็จะอยู่เป็นสุข แม้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจก็สามารถเลี้ยงตนเองได้

พระสงฆ์ หากปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจตามพระธรรมวินัย สังคมสงฆ์ก็จะอยู่อย่างสงบสุข เป็นที่ศรัทธาของประชาชน ศาสนาพุทธจะมีผู้เลื่อมใสมากมาย เป็นการสืบทอดพระศาสนาให้ยาวนานขึ้น เช่นการใช้ผ้าจีวรของพระอานนท์ ที่ใช้อย่างคุ้มค่าคือเริ่มจากการเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเก่าแล้วก็ใช้เป็นผ้าปูนอน เก่าแล้วใช้ปัดเช็ดถู เก่ามาใช้เป็นผ้าเช็ดเท้า และเมื่อเก่าจนใช้ไม่ได้ก็ตำรวมกับมูลดินเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ซึงถือเป็นตัวอย่างของการใช้สอยทรัพย์อย่างคุ้มค่า

บทสรุป

เหตุที่ต้องหลักธรรมกับเศรษฐกิจเพราะ ผู้ที่เข้าบวช รวมถึงฆราวาสนั้นมีภูมิหลังที่ไม่เท่ากัน ฐานะทางสังคมและการเงินไม่เท่ากัน แต่เมื่อมาอยู่รวมกันแล้ว จะต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน เสมือนดอกไม้ต่างพรรณต่างสีที่กระจัดกระจายถูกนำมาร้อยเป็นพวงเดียวอย่างสวยงาม

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๒๐ ต.ค. ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2013 เวลา 07:52 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8557375

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า