Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

พิมพ์ PDF

ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

วาทิน ศานติ์ สันติ

รูปจาก เรือนไทยวิชาการ.คอม http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3419.375

ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองการปกครองโดยสังเขป

แนวความคิดปรัชญาการเมืองแบบตะวันตกมักไม่ยุ่งเกี่ยวกับปรัชญาการดำรงชีวิตของประชาชนมากนัก ผิดกับปรัชญาของตะวันออกที่มีหลักศีลธรรมและศาสนาควบคู่ไปด้วย  ปรัชญาแบบตะวันออกเน้นการปฏิบัติย่างชัดเจน

ลักษณะของรัฐสามรถจำแนกได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้

๑. State as Machine สสารนิยม คือ รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเครื่องจักร บุคคลในสังคมมีความสัมพันธ์แบบตัวจักร

๒. State as Organism องคาพยพ  รัฐเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์

๓. State as Class แบบชนชั้น รัฐเกิดขึ้นเพราะสังคมดำเนินอยู่บนพื้นฐานการผลิต เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับแรงงาน สังคมที่ไม่มีชนชั้นถือว่าดีที่สุด

ที่มาของอำนาจมีสองแบบคือ ประชาธิปไตย ประชนเป็นผู้มอบให้ และ เทวาสิทธิ์ พระเจ้าเป็นผู้มอบ  สำหรับประเทศไทย อำนาจของผู้ปกครองและรูปแบบการปกครองมีผลต่อสภาพทางสังคมอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ โทมัส ฮอปกล่าวว่า รัฐและสังคมเป็นสิ่งจำเป็น รัฐต้องมีอำนาจเพื่อปกป้องประชาชน

 

พัฒนาการทางสังคมไทย

สังคมไทยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

สมัยสุโขทัยสังคมเป็นระบบครอบครัว  มีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยตนเองและหมู่ญาติ ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจน ปลายสุโขทัยเริ่มมีการแบ่งชนชั้นคือผู้ปกครองและใต้ปกครอง  เป็นแบบพ่อบ้านกับลูกบ้าน

สมัยอยุธยา ถือเป็นสังคมศักดินาเนื่องจากมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ ต้องการแรงงานสร้างความมั่นคง มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจนเพื่อควบคุมกำลังคน ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ ฐานะสมมติเทพ รองลงมาคือขุนนาง ผู้ใช้แรงงานคือไพร่ ชนชั้นล่างสุดคือทาส การเลื่อนฐานะทางสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ เช่นการทำความชอบช่วงสงคราม เสรีภาพของประชาชนมีไม่มากนัก

รัตนโกสินทร์ ร. ๔ – ๕ สังคมต้องปรับตัวรับเอาความรู้ตะวันตก เพื่อให้ชาติรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคม ชนชั้นสูงถ่ายทอดให้ชนชั้นล่าง มีสงครามน้อยลงไม่จำเป็นต้องใช้กำลังคนมากมาย ใช้แรงงานชาวจีนเพิ่มขึ้น กลไกลในการควบคุมไพร่เสื่อมลง มีการยกเลิกระบบไพร่และทาส หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง สภาพเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตแบบส่งออก

กระแสประชาธิปไตยจากชาติตะวันตก ผนวกกับสื่อการพิมพ์ ทำให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องสิทธิเสรีภาพ มีการเรียกร้องประชาธิปไตยเช่น เหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ที่เหล่าชนชั้นนำเรียกร้องการปกครองประชาธิปไตยจากรัชกาลที่ ๖

 

สังคมไทยในช่วงและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัย ร.๗ กลุ่มคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยถือหลัก ๖ ประการคือ เอกราช ความสงบภายใน เศรษฐกิจ สิทธิเสมอภาค เสรีภาพ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยมากมาย เช่น

การศึกษา ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ เพื่อขยายการศึกษาอย่างเสมอภาค ไม่จำกัดเพศ เชื่อชาติ ศาสนา ให้ทุกตำบลมีโรงเรียนเป็นศึกษาภาคบังคับ จัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ความเสมอภาคทางสังคม รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ รับรองความเสมอภาคทางกฎหมายและเสรีภาพของประชาชน ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ยกเลิกบรรดาศักดิ์ของข้าราชการผลเรือน

วัฒนธรรม นำวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่สังคมไทย โดยเฉพาะ การดำรงชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีแบบตะวันตก ยกย่องสิทธิสตรีว่ามีความสามรถเท่าเทียมบุรุษ จัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเพื่อวางระเบียบวัฒนธรรมไทย

 

สังคมไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

นับว่าอำนาจการปกครองอยู่ในมือของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว เรียกว่า การปกครองแบบเผด็จการมีลักษณะทางสังคมดังนี้

๑. ลัทธิทหารนิยม จากการตื่นตัวลัทธิเผด็จการทหารที่มาจากเยอรมนีและอิตาลี มีการปลูกฝังให้เยาวชนไทยนิยมทหาร

๒. แนวคิดสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่

๓.  รัฐออกรัฐนิยม ๑๒ ฉบับ เช่น ให้คนไทยยืนเคารพธงชาติ ผู้ชายนุ่งกางเกง ผู้หญิงสวมกระโปรง สวมหมวกอกนอกบ้าน เลิกกินหมากพลู เลิกรับประทานอาหารด้วยมือ เลิกเชื่อไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ มีการปรับปรุงภาษาเขียน

 

สภาพทางสังคมและผลกระทบ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดปัญหาในสังคมมากมาย เช่น ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม การช้อราษฎร์บังหลวง ค่าครอบชีพสูง ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค การกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ การขายตัวของภาคอุตสาหกรรม  การเหลื่อมล้ำทางสังคม เกิดปัญหานายจ้างกับลูกจ้าง การสืบทอดอำนาจเผด็จการ การรัฐประหารหลายครั้ง เหตุการณ์สำคัญเช่น

วันมหาวิปโยค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนและนักศึกษารวมตัวต่อต้านเผด็จการทหาร เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งยิ่งใหญ่ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๗ ถือเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สุดฉบับหนึ่ง

๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ชัยชนะของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ถูกต่อต้านจากหลายฝ่ายเพราะมองว่าเป็นการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ นำไปสู่การปราบปรามนักศึกษา มีการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ประชาชนและนักศึกษาจำนวนมากต้องหนีเข้าป่า

พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ ประชาชนได้เรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านการขึ้นสู่อำนาจของพลเอกสุจินดา คราประยูรที่ไม่ได้เกิดจาการเลือกตั้ง สังคมไทยใช้เทคโนโลยีเช่นโทรศัพท์มือถือ เรียกม๊อปครั้งนี้ว่า “ม๊อปมือถือ” ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว รัฐไม่สามารถปิดข่าวหรือปล่อยข่าวลือได้อย่างที่เคย

๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน และคณะ ภายใต้ชื่อ ค.ม.ช. (คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ) ยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ ชินวัติ บ้านเมืองแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย มีสัญลักษณ์โดยการแบ่งสีเสื้อ คือเสื้อแดง สนับสนุนฝ่ายทักษิณ ชินวัติ เสื้อเหลือง คือฝ่ายต่อต้าน สังคมเกิดความแตกแยกกระทบกระทั้งรุนแรงมีผู้เสียชีวิตและกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีการโจมตีกันด้วยข่าวสาร ข่าวโคมลอยและข้อมูลเท็จ ประชาชนไม่อาจทราบว่าข้อมูลใดเป็นจริงหรือเท็จ เหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่สามารถคลี่คลายแม้นในปัจจุบัน

สรุป

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ประชาธิปไตย แต่ปัญหาทางสังคมก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้นัก อันเนื่องมากจากการใช้อำนาจของผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรมและแฝงผลประโยชน์ อีกทั้งการครอบงำประชาชนโดยข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ทำให้สังคมเกิดการแตกแยกมากมาย แม้ประเทศจะเจริญไปด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสารมากมาย แต่หากประชนชนยังไม่มีใจเป็นกลาง  ไม่เรียนรู้การปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง ประเทศไทยก็จะประสบปัญหาความขัดแย้งทางสังคมอย่างไม่รู้จบ

 

วาทิน ศานติ์ สัติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590522

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า