Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๘๑. เรียนรู้จากสี่ดรุณีนักถักทอ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๐ ธ.ค. ๕๖ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง โครงการถักทอเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของจังหวัด ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ ของ สสค.

เหมือนไปเข้าโรงเรียน ทำความเข้าใจสังคมไทย ในระดับจังหวัด    ว่าเราเป็นสังคมแนวดิ่ง สังคมแยกส่วนที่มีหน่วยงานราชการในกรุงเทพ หรือส่วนกลาง เป็นผู้กำหนดและสั่งการ    รุนแรงอย่างไม่น่าเชื่อ

ผมเรียกว่า เป็นสังคม ไซโล   หรือสังคมแยกส่วน    ส่วนใครส่วนมัน ไม่คุยหรือปรึกษาหารือกัน

โครงการถักทอเครือข่ายในพื้นที่เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของจังหวัด ชื่อก็บอกแล้วว่า ต้องการยกระดับการเรียนรู้ของจังหวัด    เน้นการสร้างสรรค์แบบ area-based

สี่ดรุณีไปพบว่า พื้นที่จังหวัดไม่ได้ประสานเป็นหนึ่งเดียว    หน่วยงานในจังหวัดไม่ได้เอาความเจริญก้าวหน้าของจังหวัด เป็นที่ตั้ง    แต่มุ่งทำงานตามคำสั่งของหน่วยเหนือที่กรุงเทพเป็นหลัก

ทำให้ผมได้เรียนรู้และตระหนักว่า ผมเป็นกบฏมาตั้งแต่ยังหนุ่ม และไปทำงานต่างจังหวัดที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    ผมทำตัวเป็นกบฏต่อหน่วยเหนือที่งี่เง่ามาตลอด    หากเขาสั่งหรือขอข้อมูลแบบงี่เง่า ผมก็จะไม่ส่งหรือไม่ทำตาม    และหากผมมีตำแหน่งสั่งการได้ ผมก็จะสั่งห้ามให้ข้อมูล    เป็นที่เอือมระอาของผู้บริหารที่อยู่เหนือผม    ตอนนี้ลูกกะโล่ของ รัฐบาลรักษาการที่ประชาชนไม่ยอมรับกำลังหาเรื่องกับคนที่เขาตราว่า กบฏ”    น่าจะมาจับผมด้วย เพราะผมเป็นเลือดกบฏแท้ แถมยังบริจาคเงินสนับสนุน กปปสอีกด้วย

เลือดกบฏในสายโลหิตผมมันแรงจริงๆ    ลูกๆ จึงกบฏต่อผมด้วย    คือเขาเป็นตัวของเขาเอง    ไม่ทำตามใจพ่อแม่

กบฏแปลว่าไม่ทำตามคำสั่งของหน่วยเหนือ หรือคนที่ถือว่ามีอำนาจสั่งการ    คนในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นกบฏทั้งแผ่นดิน   คือเราทำอะไรร่วมกันเพราะเราเห็นคุณค่าและเป้าหมายร่วมกัน    ไม่ใช่ทำตามคำสั่งแบบไร้ปัญญา หรือแบบเอาใจผู้เผด็จการ

กลับมาที่โคงการถักทอการเรียนรู้ในพื้นที่ ซึ่งในกรณีนี้คือในจังหวัด    สี่ดรุณี (เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, ศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล, วลัยรัตน์ ศรีอรุณ, และ ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร) เขารับคำสั่งจาก ศ. นพ. ประเวศ วะสี ให้ดำเนินการทดลองถักทอภาคีในจังหวัด เพื่อยกระดับการศึกษาในจังหวัด    เป็นโครงการของ สสค. ที่มีหนุ่มน้อย ดร. ไกรยส ภัทราวาส เป็นผู้ประสานงาน

สี่ดรุณีเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน   by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">กระบี่ และกาญจนบุรี    ได้ข้อเรียนรู้สรุปประโยคเดียวคือ    การถักทองานในพื้นที่จังหวัดมันยากและซับซ้อนกว่าที่คิดมาก    ต้องไม่ดูเบาความยากและซับซ้อนนี้    และต้องมีวิธีขับเคลื่อนต่อเนื่อง เพื่อถักทอให้ภาคีที่ร่วมงานกันยาก ค่อยๆ เข้ามาร่วมกัน    เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่

หมายความว่า จะหวังให้กลไกในพื้นที่ถักทอกันเองนั้น    หวังได้บางส่วนเท่านั้น    ตัวโครงการต้องใส่กลไกของการถักทอ จากภายนอกจังหวัดเข้าไปด้วย

แต่ที่ร้ายกว่านั้น หรือสำคัญยิ่งกว่านั้น    โครงการถักทอฯ ต้องหาทางดำเนินการให้หน่วยเหนือในกรุงเทพลด หรือระงับการสั่งการ    เปิดโอกาสให้กลไกในจังหวัดเขาคิดเอง ทดลองพัฒนาเอง    เขาก็จะหันไปหาภาคีร่วมมือในพื้นที่

เป็นการเรียนรู้เรื่องการดำเนินการกระจายอำนาจ    ที่เป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปสังคมไทย

ผมเคยบันทึกเรื่องโครงการถักทอเครือข่ายในพื้นที่ไว้ ที่นี่ และ ที่นี่

 

 

วิจารณ์​ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2014 เวลา 08:55 น.
 

นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ เขียนเรื่องการเมือง

พิมพ์ PDF
แต่ฮันนิมูนระหว่างนักสังคมนิยมหัวรุนแรงกับ “นายทุนใหญ่ใจถึง” มีอยู่ได้ไม่กี่ปี ปัญหาที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เพราะมิชชั่นที่แท้จริงของ “นายทุนใหญ่ใจถึง” คือการสร้างอำนาจผูกขาดถาวรด้วยการกอบโกยกักตุนทุนทรัพย์ไว้สร้างอำนาจให้ตัวเองและครอบครัวต่อๆกันไปไม่สิ้นสุด

นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ เขียนเรื่องการเมือง

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2014 เวลา 00:29 น.
 

แถลงการณ์ของคณบดี ๘ โรงเรียนแพทย์

พิมพ์ PDF
เพื่อยุติความขัดแย้ง และความรุนแรงเฉพาะหน้า เห็นควรให้รัฐบาลรักษาการปัจจุบันเสียสละโดยยุติบทบาท เพื่อให้มีรัฐบาลเฉพาะกาลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเข้ามาเพื่อแก้ไข ควบคุมสถานการณ์ และจัดการเลือกตั้ง

แถลงการณ์ของคณบดี ๘ โรงเรียนแพทย์

อ่าน ที่นี่ และ ที่นี่ เรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 20:25 น.
 

ปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร

เพื่อให้เป็นปากเสียงของราษฎร ไม่ใช่ปากเสียงของหัวหน้าพรรคที่เป็นนายจ้าง

อ่านที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/397502   ความเห็นของ ดร. พิจิตต รัตตกุล

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ม.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 21:06 น.
 

ผลงานวิจัยนำสู่นโยบายภาคประชาชน

พิมพ์ PDF

ทีดีอาร์ไอ และสถาบันคลังสมองของชาติ ทำงานวิจัยเรื่องโครงการรับจำนำข้าว   และสื่อสารสังคมมาตลอด ว่าโครงการนี้จะทำลายความเป็นที่หนึ่งของไทยในโลก ด้านข้าว    และที่สำคัญเป็นช่องทางคอรัปชั่นของนักการเมือง ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ และ ที่นี่

วันที่ ๒๑ ธ.๕๖ ผมพบนักวิจัยท่านหนึ่งคือ รศดรนิพนธ์ พัวพงศกร  แห่ง ทีดีอาร์ไอจึงเรียนท่านว่า ผลงานวิจัยของท่านก่อผลกระทบเชิงนโยบายของประเทศอย่างยิ่งยวด   คือเป็นหลักฐานบอกคนไทยทั้งชาติว่ารัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด โกงชาติเพียงใด   นำสู่การรวมตัวประท้วงเป็นระลอกๆ เพื่อแสดงพลังไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น

ทั้ง ทีดีอาร์ไอ (ดรนิพนธ์)    และ สถาบันคลังสมองฯ (รศดรสมพร อิศวิลานันท์ทำงานวิจัยอย่างน่าเชื่อถือ    มีข้อมูล มีหลักวิชาการ    แล้วบอกแก่สังคม ว่าโครงการรับจำนำข้าว ทั้งของรัฐบาลนี้ และของรัฐบาลก่อนๆ เป็นช่องทางคอรัปชั่นอย่างไรบ้าง    และรุนแรงยิ่งในรัฐบาลที่เพิ่งลาออกไป

เมื่อมีการชุมนุมประท้วง โดยมวลมหาประชาชน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ๒๕๕๖   ที่ผู้คนออกมาร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน    ก็เป็นตัวบอกว่า เขาได้รับข้อมูลต่างๆ มากเพียงพอที่จะลงความเห็นว่ารัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดเลวร้ายเพียงใด

ทำให้ผมคิดออก ว่างานวิจัยเพื่อประโยชน์เชิงนโยบายนั้น    ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้บริหารเป็นผู้นำไปใช้เท่านั้น    ประชาชนในภาพรวม ก็มีโอกาสเอาไปใช้ได้ หากเราสื่อสารสังคมออกไปอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง อย่างกรณีการวิจัยเรื่องโครงการรับจำนำข้าว

ในยุคดิจิตัล ที่สื่อแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว    ผลการวิจัยที่ดี สื่อสารดี ย่อมก่อประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ต่อสาธารณะได้มากอย่างกรณี การวิจัยโครงการรับจำนำข้าว

และปรากฏการณ์ประชาชนเสพผลงานวิจัย    ทำให้นักการเมืองจอมโกง ไม่สามารถหลอกประชาชนได้    เป็นข้อเรียนรู้สำหรับผมอย่างยิ่ง    ในเรื่องหลักการจัดการงานวิจัย ไปสู่การใช้ประโยชน์

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 21:21 น.
 


หน้า 394 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8555781

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า