Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

อีกก้าวหนึ่ง ของการกลับทางห้องเรียน

พิมพ์ PDF

นิตยสาร Scientific American ฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ มีรายงานพิเศษเรื่อง Learning in the Digital Age ซึ่งผมมองว่า เป็นอีกก้าวหนึ่งของการกลับทางห้องเรียน โดยเขาเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เน้นการใช้ MOOC (Massive Open Online Course) ในการเรียน และมีระบบ ซอฟท์แวร์ ช่วยให้ครูและผู้บริหารจัดการเรียนรู้แบบใหม่ และจัดการเรียนรู้แก่เด็กเป็นรายคนได้ เด็กแต่ละคน เลือกเรียนได้ตามความเร็วที่เหมาะแก่ตนเอง

อ่านส่วนที่เขาให้อ่านฟรี ได้ ที่นี่

เป็นสัญญาณ ว่ายุคการเรียนรู้ผ่านระบบ ออนไลน์ กำลังจะเข้ายึดครองห้องเรียน โรงเรียน และระบบการศึกษา ของประเทศต่างๆ ซึ่งหมายความว่า ระบบการศึกษาของประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญทั้งโอกาส และความท้าทายใหญ่ 
มองในแง่ของโอกาส นี่คือโอกาสปฏิรูปการเรียนรู้/การศึกษา ในศตวรรษที่ ๒๑ ของไทย แต่จะต้องเข้าใจว่า ต้องปฏิรูปทั้งระบบ ต้องฝึกทักษะใหม่ให้แก่ครูประจำการ ต้องจัดหลักสูตรผลิตครูแบบใหม่ เพื่อให้มีกระบวนทัศน์ใหม่ และทักษะการเป็นครูแบบใหม่ 
มองในแง่ความท้าทาย (ปัญหา/หายนะ) นี่คือเส้นทางสู่ความเป็นประเทศราชทางเทคโนโลยี และการเรียนรู้ และเป็นเส้นทางสู่คอรัปชั่นครั้งมโหฬาร คล้ายๆ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด โครงการจัดการน้ำ ๓.๕ แสนล้านบาท และโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ๒ ล้านล้านบาท

หากไม่จัดระบบการเรียนรู้ผ่าน MOOC ให้เป็นระบบ เราก็จะทำกันอย่างต่างคนต่างทำ แทนที่จะได้ผลดีคุ้มค่าการลงทุน เราก็จะจ่ายมาก ได้ผลน้อย หรืออาจใช้ MOOC เพื่อเป้าหมายการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๐ คือเน้นเรียนความจำสาระ ก็จะยิ่งขาดทุนย่อยยับ

หากไม่คิดเองให้ดี เราก็จะลอกแบบของต่างประเทศมาทั้งดุ้น การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นไทย ยกระดับจุดเด่นของวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองไทย ก็จะไม่เกิด กลายเป็นเรียนตามแนวทางสร้างพลเมืองของประเทศอื่น ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยจะหายไป กลายเป็นเส้นทางสูญชาติ สูญวัฒนธรรมประจำชาติ

เราต้องช่วยกันทำให้ คลื่นลูกใหม่ ของการปฏิรูปการศึกษา ด้วย MOOC เป็นเส้นทางแห่งโอกาส ไม่เป็นเส้นทางแห่งหายนะ

 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๓ ก.ค. ๕๖ 
วันเข้าพรรษา

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/546441

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2013 เวลา 10:46 น.
 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๙. ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความรับผิดชอบที่ MSU

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ The Heart of Higher Education : A Call to Renewal เขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้ ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนา บูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้ บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๙ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของ Appendix C : Adninistrative and Campuswide Initiatives เรื่อง Integrated, Embedded, and Engaged : Promoting a Culture of Responsibility at MSU – Chautauqua / Dialogue เขียนโดย Stephen L. Esquith, Professor, Department of Philosophy, and Dean, Residential College in the Arts and Humanities at Michigan State University เล่าเรื่อง การจัดเสวนา เรื่องของสังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีมุมมองจากทั้งด้านวัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในหมู่ นศ. และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท

คนมหาวิทยาลัย มิชิแกนสเตท เรียกกิจกรรมนี้ว่า Chautauqua เป็นคำที่มีรากมาจากกิจกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ที่เชิญองค์ปาฐกด้านการศึกษา และศิลปิน ไปให้ความบันเทิงทั้งทางปัญญาและอารมณ์ แก่ครอบครัวที่ไปพักผ่อน ณ ชายหาด ของทะเลสาบ Chautauqua ตอนเหนือของรัฐ นิวยอร์ก และชื่อนี้ได้กลายเป็นวิสามานยนามของเวทีสาธารณะ ที่เป็นเวทีเปิด สำหรับถกเถียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ที่เป็นจุดสนใจในขณะนั้น ด้วยมุมมองทั้งด้านวัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ ดังคำอธิบายที่นี่

มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ทดลองทำโครงการนี้เป็นโครงการ ๒ ปี ใน ๓ วิทยาลัยที่ นศ. อยู่ประจำในหอพัก โดยมี AAC&U ร่วมเป็นผู้สนับสนุน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมรับผิดชอบต่อสาธารณะ ทั้งในระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับสถาบัน

ความรับผิดชอบต่อสังคม/สาธารณะ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นชุมชนวิชาการ คืออะไร มองได้หลายแง่มุม

แง่มุมหนึ่งมองจากมุมของเสรีภาพทางวิชาการ (Academic Freedom) เสรีภาพต้องคู่กับความรับผิดชอบ รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ในประเทศประชาธิปไตยมีเสรีภาพในการแสดงออก แต่พลเมืองทุกคน ต้องรู้ว่าการแสดงออกแบบไหน ในเรื่องอะไรเป็นสิ่งที่ควร/ไม่ควร ในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ทั้งอาจารย์และ นศ. ต้องเรียนรู้ว่า การแสดงออกเชิงเสรีภาพทางวิชาการของตนมีขอบเขตจำกัดอย่างไร เสรีภาพโดยไม่มีขอบเขตเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ผู้มีการศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้ข้อจำกัดของเสรีภาพ
เช่น นศ. และอาจารย์ พึงมีวิจารณญาณว่าสมควรนำเอาข้อความแบบไหนไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย หรือใน social media ของตน โดยที่ประกาศตนว่าเป็น นศ. ของมหาวิทยาลัย ก

เวทีเสวนา Chautauqua เป็นเวทีที่ทุกคนเท่าเทียมกันในการแสดงความเห็นที่แตกต่างหลากหลายโดยไม่มีข้อขัดแย้ง เป็นเวที่ที่ นศ. ผู้เยาว์ได้เรียนรู้จากสภาพจริง ว่าประชาธิปไตยคืออะไร ความเท่าเทียมกันในการแสดงออกเป็นอย่างไร มิติของความรับผิดชอบต่อสังคมในการแสดงออกเป็นอย่างไร เป็นการเรียนรู้จากตัวอย่างของจริง ไม่ต้องสอน

สิ่งที่ นศ. ได้เรียนรู้จากกระบวนการนี้ คือเทคนิค สุนทรียเสวนา/สานเสวนา (dialogue) ที่ผู้คนรับฟังกันอย่างเคารพซึ่งกันและกัน กับสาระในแต่ละประเด็นที่นำมาเสวนากัน โดยมีผู้นำเสวนาที่เป็นผู้ทำงานหรือมีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้น จากหลากหลายบทบาทหรือมุมมอง แล้วหลังจากนั้น ทุกคนที่เข้าร่วมก็มีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ หรือเล่าประสบการณ์ของตน

บทความนี้ไม่ได้ให้รายละเอียดของการจัดเวทีเสวนา แต่มีข้อความที่แสดงว่าแต่ละหัวข้ออาจมีเวทีเสวนาหลายครั้ง สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ ๓ ชั่วโมง ตัวอย่างหัวข้อเช่น Sustainability and Human Rights; Race, Justice and Equity ในบางกรณีอาจมีการฉายภาพยนตร์ประกอบด้วย

โครงการเสวนานี้ ค่อยๆ ฝังรากเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในด้านสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และขยายตัวสู่การเรียนรู้ในหลักสูตรปกติ นำไปสู่ service learning, กิจกรรมภาคสนาม, หลักสูตรฝึกงาน (internship), หลักสูตรที่เชื่อมโยงกับหน้าที่พลเมือง, การไปเรียนรู้ในต่างประเทศ, หลักสูตรข้ามสถาบันที่มีการทำงานรับใช้ชุมชน, ฯลฯ

ขบวนการ/วิธีการ Chautauqua ในศตวรรษที่ ๒๑ มีการดำเนินการหลากหลาย อ่านได้ ที่นี่

ผมอ่านเรื่องนี้แล้ว นึกถึงขบวนการนักศึกษาระหว่างปี ๒๕๑๔ - ๒๕๑๙ ที่มีกระบวนการกระตุ้นสำนึกสังคมของ นศ.

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๑ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/546137

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2013 เวลา 23:54 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๗๗. สดชื่นในเช้าอากาศดี

พิมพ์ PDF

ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ฝนตกตอนกลางคืน ตอนเช้าอากาศเย็น และมีลมพัดเอื่อยๆ ผมจึงได้เดินออกกำลังด้วยความสดชื่น ยิ่งในวันหยุด ออกเดินสาย มีแสงให้ถ่ายรูปความงามรอบตัว ได้ความสุขจากชีวิตที่พอเพียง คือไม่มีค่าใช้จ่าย
ในหมู่บ้านสิวลี ติวานนท์ ที่ผมอยู่ มีบ้านที่ปลูกไม้ดอกสวยงามหลายบ้าน และยิ่งกว่านั้น ยังนิยมปลูกไม้ไทยดอกหอม ไม่ว่าฤดูกาลใด ได้กลิ่นหอมอ่อนๆ อยู่เสมอ ไม้เหล่านี้ที่บ้านผมไม่มีเสียแล้ว เพราะต้นไม้ใหญ่โตและแตกกิ่งก้าน จนต้นไม้เล็กไม่ได้แดด พากันล้มตายไปเกือบหมด ที่ทนอยู่ได้คือต้นโมก

เช้าวันนี้ ผมฉวยกล้องถ่ายรูปคู่ใจไปเดินด้วย และถ่ายรูปวิวและดอกไม้งามๆ ไว้เป็นที่ระลึก ที่เสียดายคือต้นบัวหลวงในสระใหญ่ ที่โดนขุดรากถอนโคนไปหมดสิ้น สระน้ำในหมู่บ้านกลายเป็นสระว่างเปล่า ขาดความงามของใบบัวและดอกบัว แต่เมื่อถ่ายรูปก็ได้ความงามไปอีกแบบ คือได้เงาต้นไม้ริมสระ

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ ก.ค. ๕๖

 

กาหลงที่เกสรสีนี้ ผมไม่เคยเห็น ตรวจสอบในอินเทอร์เน็ตก็ไม่มี

 

ลั่นทมที่งามพิศ ทั้งสี การจัดเรียงกลีบ ดอกตูม และใบที่เป็นฉากหลัง

 

ต้นไม่ทราบชื่อ สะและทรงงามสะดุดตา

 

นี่ก็ไม่ทราบชื่อ

 

ยางอินเดียใบด่างต้นนี้สวยมาก

 

ยิ่งส่วนยอดสียิ่งสวย

 

สระน้ำ ที่บัดนี้ไร้บัวเสียแล้ว

 

ให้เงาสะท้อนต้นไม้และเมฆบนท้องฟ้า งามไปอีกแบบ

ไม้ใบงามใต้แสงเงา

 

บัวดินที่บ้านลูกสาว


คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/546223

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๗๗. สดชื่นในเช้าอากาศดี

พิมพ์ PDF

ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ฝนตกตอนกลางคืน ตอนเช้าอากาศเย็น และมีลมพัดเอื่อยๆ ผมจึงได้เดินออกกำลังด้วยความสดชื่น ยิ่งในวันหยุด ออกเดินสาย มีแสงให้ถ่ายรูปความงามรอบตัว ได้ความสุขจากชีวิตที่พอเพียง คือไม่มีค่าใช้จ่าย
ในหมู่บ้านสิวลี ติวานนท์ ที่ผมอยู่ มีบ้านที่ปลูกไม้ดอกสวยงามหลายบ้าน และยิ่งกว่านั้น ยังนิยมปลูกไม้ไทยดอกหอม ไม่ว่าฤดูกาลใด ได้กลิ่นหอมอ่อนๆ อยู่เสมอ ไม้เหล่านี้ที่บ้านผมไม่มีเสียแล้ว เพราะต้นไม้ใหญ่โตและแตกกิ่งก้าน จนต้นไม้เล็กไม่ได้แดด พากันล้มตายไปเกือบหมด ที่ทนอยู่ได้คือต้นโมก

เช้าวันนี้ ผมฉวยกล้องถ่ายรูปคู่ใจไปเดินด้วย และถ่ายรูปวิวและดอกไม้งามๆ ไว้เป็นที่ระลึก ที่เสียดายคือต้นบัวหลวงในสระใหญ่ ที่โดนขุดรากถอนโคนไปหมดสิ้น สระน้ำในหมู่บ้านกลายเป็นสระว่างเปล่า ขาดความงามของใบบัวและดอกบัว แต่เมื่อถ่ายรูปก็ได้ความงามไปอีกแบบ คือได้เงาต้นไม้ริมสระ

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ ก.ค. ๕๖

 

กาหลงที่เกสรสีนี้ ผมไม่เคยเห็น ตรวจสอบในอินเทอร์เน็ตก็ไม่มี

 

ลั่นทมที่งามพิศ ทั้งสี การจัดเรียงกลีบ ดอกตูม และใบที่เป็นฉากหลัง

 

ต้นไม่ทราบชื่อ สะและทรงงามสะดุดตา

 

นี่ก็ไม่ทราบชื่อ

 

ยางอินเดียใบด่างต้นนี้สวยมาก

 

ยิ่งส่วนยอดสียิ่งสวย

 

สระน้ำ ที่บัดนี้ไร้บัวเสียแล้ว

 

ให้เงาสะท้อนต้นไม้และเมฆบนท้องฟ้า งามไปอีกแบบ

ไม้ใบงามใต้แสงเงา

 

บัวดินที่บ้านลูกสาว


คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/546223

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๔๔. คนพันธุ์ เอ็ม

พิมพ์ PDF

นิตยสาร ไทม์ ฉบับวันที่ ๒๐ พ.ค. ๕๖ ลงเรื่องเด่นประจำฉบับ  Me Me Me Generation. Millenials are lazy, entitled narcissists who still live with their parents. Why they’ll save us all เขียนโดย Joel Steinน่าอ่านมาก  ช่วยให้เราเข้าใจคนรุ่นใหม่ ที่เขาเรียกว่า millenials ซึ่งหมายถึงคนที่เกิดในช่วง ค.ศ. ๑๙๘๐ - ๒๐๐๐  เติบโตมากับการมีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตครบครัน หรือมีมากเกินไป

เขาจำแนกคน (อเมริกัน) ออกเป็น ๗ รุ่น (generation) ตามช่วงปีเกิด คือ Missionary Generation (1860 – 82), The Lost Generation (1883 – 1900), The Greatest Generation (1901 – 24), The Silent Generation (1925 – 1942), Baby Boomers (1943 – 1960), Generation X (1961 – 1980), และ The Millenials (1980 – 2000) ซึ่งบางครั้งเรียก Generation Y  โดยมีคำอธิบายคนแต่ละรุ่น และมีรูปคนที่เด่นที่สุดในรุ่นนั้นๆ ด้วย

เขาบอกว่า ลักษณะของ “คนพันธุ์ เอ็ม” นี้ ไม่ได้มีเฉพาะในสหรัฐอเมริกา  แต่มีส่วนคล้ายกันทั่วโลก  เพราะคนรุ่นนี้ผ่านประสบการณ์ชีวิตคล้ายกัน  ซึ่งที่จริงเราพูดกันเรื่อง Gen Y มาหลายปีแล้ว  และคนพันธุ์เอ็มนี้ยังจำแนกแยกแยะออกเป็นกลุ่มย่อย (micro generations) ได้อีกมาก

ผมอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจว่า สภาพแวดล้อมในสังคมมีผลหล่อหลอมคนอย่างไร  และเพื่อให้เรียกง่าย ผมใช้คำว่า คนพันธุ์ เอ็ม และผมเข้าใจว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่หล่อหลอมคนรุ่น เอ็ม นี้คือ  เขาเกิดมา และเติบโตในสังคมที่ข้อมูลข่าวสารเปิดกว้างถึงกันหมด  ผู้คนติตต่อสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา  เทคโนโลยีสื่อสาร และ โซเชี่ยล มีเดีย มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก ยิ่งกว่าพ่อแม่

บทความบอกว่า คนรุ่นนี้ ตกอยู่ใต้อิทธิพลของเพื่อน มากกว่าคนรุ่นก่อนๆ  เขาใช้คำว่า peer-enting แทนคำว่า parenting  ศาสตราจารย์ด้านภาษาอังกฤษ Mark Bauerlein แห่งมหาวิทยาลัย Emory ผู้เขียนหนังสือ The Dumbest Generation : How the Digital Age Stupefies Young Americans and Jeopardizes Our Future (Or, Don’t Trust Anyone Under 30) บอกว่าเด็กอเมริกันรุ่นนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของเพื่อน รุนแรงกว่าสมัยไหนๆ  แรงกดดันของเพื่อน (peer pressure) มีผลต้านปัญญา (anti-intellectual),  ต้านประวัติศาสตร์ (anti-historical),  และต้านวาทศิลป์ (anti-eloquence)  โดยสิ่งที่ขาดคือการคลุกคลีสื่อสารแลกเปลี่ยนกับคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า

แม้คนพันธุ์เอ็ม จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นถี่กระชั้นมาก  ผ่านไอซีที หรือโซเชี่ยลมีเดีย  แต่เป็นการสื่อสารผ่านจอ  และสื่อสารกับเพื่อนรุ่นเดียวกันเกือบทั้งหมด  ขาดมนุษย์สัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่กว่า

ผู้เขียนออกตัวในเบื้องต้นว่า เป็นธรรมดา ที่คนรุ่นก่อนจะกล่าวถึงคนรุ่นหลังว่า เป็นคนขี้เกียจ, เรียกร้องสิทธิ์, เห็นแก่ตัว, และ ตื้นเขิน  แต่ที่เขียนบทความนี้ เขาเขียนด้วยข้อมูลอ้างอิง จากผลงานวิจัย  และจากหนังสือดีๆ หลายเล่ม

เขาบอกว่า คนพันธุ์ เอ็ม มีลักษณะ หลงตัวเอง (narcissism), วัตถุนิยม (materialism), เสพติดเทคโนโลยี (technology addiction), เป็นผู้ใหญ่ช้า (stunted development คือยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่แม้อายุจะมากแล้ว คล้ายๆ ช่วงอายุระหว่างทีนเอจ กับการเป็นผู้ใหญ่ ยาวขึ้น), ไม่ค่อยสนใจเรื่องของสังคม (less civic engagement), ไม่ค่อยสนในการเมือง, ไม่เคารพผู้มีอำนาจรับผิดชอบ (เพราะไม่สนใจเรื่องอำนาจรับผิดชอบ), ชอบอ้างสิทธิ์ (entitlement), แต่งงานช้าลง, ชอบทำตัวเป็นคนรวย

ศาสตราจารย์ Roy Baumeister  ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย ฟลอริดา สเตท ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือ Self-Esteem : The Puzzle of Low Self Regardบอกว่า เหตุที่เกิด คนพันธุ์ เอ็ม ก็เพราะในช่วงทศวรรษ 1970 ได้มีการกระตุ้นเด็กให้มีความเคารพเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem)  โดยเชื่อว่า เด็กที่เคารพเชื่อมั่นในตนเอง จะมีผลการเรียนดีกว่า และโอกาสเป็นเด็กมีปัญหาน้อยกว่า ผลคือเด็กที่มีความเคารพเชื่อมั่นในตนเองเหล่านี้เก่งกว่าในการหางานหรือหาเพื่อน  แต่ด้อยกว่าในการทำงานที่ใดที่หนึ่งนาน หรือในการดำรงสัมพันธภาพกับเพื่อน

ศ. รอย เบาไมสเตอร์ บอกว่า ในเรื่องเรียนดี และประพฤติดีนั้น  ความเคารพเชื่อมั่นในตนเองเป็นผล ไม่ใช่เหตุ

ศ. Jean Twenge ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย ซานดิเอโก ผู้เขียนหนังสือ Generation Me และ The Narcissism Epidemicกล่าวว่า เมื่อดำเนินการส่งเสริมความเคารพเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem)  เรามักไพล่ไปส่งเสริม ความหลงตัวเอง (narcissism) แทน  โดยที่เมื่อลูกยังเล็ก พ่อแม่และคนอื่นๆ เอาอกเอาใจเหมือนเป็นเจ้าชายเจ้าหญิง  หรือตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่  แต่พออายุเข้าทีนเอจ เติบโตเข้าสู่ตัวตนที่แท้จริง พบว่าตนไม่ได้ยิ่งใหญ่อย่างที่คิด  คนรุ่นนี้จึงมีความผิดหวังในชีวิต  ทำงานไม่ได้ผลดีอย่างที่ตนตั้งความหวังไว้   ตรงตามหนังสือ Managing the New Workforce : International Perspectives on the Millenial Generationที่บอกว่าคนรุ่นนี้มักมีเป้าหมายสูงในชีวิต แต่ทำไม่ได้ตามเป้าหมายนั้น

ผลจากความหลงตัวเอง (narcissism) ทำให้คนพันธุ์เอ็ม ชอบอ้างสิทธิ์ (entitlement)  หรือชอบขอสิทธิพิเศษ  ทำให้ครูภาษาอังกฤษชื่อ David McCullough Jr.กล่าวในพิธีฉลองการจบชั้น ม. ๖ ของโรงเรียน Wellesley High School ด้วยหัวข้อ You Are Not Specialและเป็นที่ชื่นชอบกันมาก ในหมู่คนพันธุ์เอ็มเอง  มีคนเข้าไปชมรายการ YouTube นี้เกือบ ๒ ล้านครั้ง   โปรดสังเกตว่าพิธี ฉลองการจบการศึกษานี้จัดในสนามหญ้ากลางแจ้ง  ไม่ใช่ในอาคารโอ่อ่าใหญ่โต

ศาสตราจารย์ Larry Rosen ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา แห่ง California State University at Dominguez Hills ผู้เขียนหนังสือiDisorderกล่าวว่า คนพันธุ์เอ็มมีความวิตกกังวลสูง จึงมีพฤติกรรมเช็คเมล์ หรือโต้ตอบ SMS บ่อย แบบย้ำคิดย้ำทำ  เพื่อทำตัวให้เป็นที่นิยมชมชอบในหมู่เพื่อนๆ  มีผลให้ความริเริ่มสร้างสรรค์ลดลง  ความเห็นอกเห็นใจคนอื่นลดลง

เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จัก Torrence Test of Creative Thinkingtest of empathyNarcissism Score

ศาสตราจารย์ W. Keith Campbell นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Georgia ผู้เขียนหนังสือถึง ๓ เล่ม เกี่ยวกับดีกรีความหลงตัวเองเพิ่มขึ้นรุ่นต่อรุ่น  รวมทั้งหนังสือ When You Love a Man Who Loves Himself กล่าวว่า ทุกคนต่างก็ยกย่องตนเองใน Facebook และโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ  จนตนเองคล้ายเป็นดาราย่อยๆ

การดูรายการ เรียลลิตี้โชว์ใน ทีวี ก็มีส่วนกระตุ้นให้คนหลงตัวเอง  เตรียมตัวเป็นดาราในเรียลลิตี้โชว์

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ Christopher Lasch เขียนหนังสือ The Culture of Narcissismบอกว่า สื่อมวลชนประโคมความฝันที่จะเป็นดารา  ทำให้คนทั่วไปเอาตัวไปผูกพันกับดารา และรังเกียจหรือดูถูกสังคมธรรมดา

ในด้านบวก คนพันธุ์เอ็ม มีความจริงจัง (earnest), มองโลกแง่ดี (optimistic), อัธยาศัยดี, นำเอาระบบมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (ไม่เป็นกบฎต่อระบบ), เป็นคนมีอุดมการณ์แบบยอมรับความจริง, ชอบหาประสบการณ์ใหม่ๆ และให้คุณค่าต่อประสบ���ารณ์ใหม่ๆ มากกว่าวัตถุสิ่งของ, เป็นคนคิดมากกว่าฝัน, เป็นนักเจาะหาคุณค่าของชีวิต (life hacker), ไม่มีหัวหน้า, ต้องการการยอมรับอยู่ตลอดเวลา (คอยสำรวจหาคนมากด like ในโซเชี่ยลมีเดียของตน), โพสต์รูปของตนเองบ่อยๆ, ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันใหญ่, ไม่เคร่งศาสนา, ท้าทายสิ่งที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป (challenge convention), ต้องการมีประสบการณ์ใหม่ๆ, เป็นผู้รับรู้มาก แต่ไม่ค่อยทำ, ให้คุณค่าต่อธุรกิจ, รับผิดชอบทางการเงิน, ยอมรับความแตกต่าง

เขาแนะนำการบรรยายใน TEDx โดย Scott Hess เรื่องMillenials : Who They Are and Why We Hate Themที่ทำความเข้าใจลักษณะของ คนรุ่น millenials  เปรียบเทียบกับคนรุ่นก่อน คือ Generation X

โดยสรุป ผู้เขียนบอกว่า คนพันธุ์เอ็ม จะเป็นผู้ประกอบการที่มีความหวัง  และสร้างสรรค์โลกในอนาคต ได้จริงหรือไม่  คำตอบสุดท้ายอยู่ที่คนพันธุ์เอ็มจะสนองความท้าทายในอนาคตอย่างไร   ไม่ใช่อยู่ที่ข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ค. ๕๖

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541268

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2013 เวลา 09:29 น.
 


หน้า 453 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591454

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า