Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เด็กที่เรียนกวดวิชามาก การเรียนรู้ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้ต่ำ

พิมพ์ PDF

ในการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เมื่อเช้าวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖  ช่วงที่ว่าด้วยเรื่อง ผลการประเมิน PISA ในประเทศไทย ดร. ปรีชาญ เดชศรี แห่ง สสวท. บอกว่า ผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบ PISA ของนักเรียนไทย ได้ผลออกมาชัดเจน แต่ท่านไม่กล้าพูดให้สาธารณชนรับรู้อย่างกว้างขวาง ว่าในกลุ่มเด็กที่กวดวิชามาก ผลการสอบ PISA ได้คะแนนต่ำ


ผมแปลกใจ ว่าทำไมท่านไม่ออกมาบอกสังคมให้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง  เพราะนี่คือความจริงจากผลการวิจัย  และความรู้นี้จะช่วยยืนยันต่อพ่อแม่ และนักเรียนที่ไม่ต้องการไปกวดวิชา  ว่าการกวดวิชาไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่แท้จริง


ผมตีความว่า เพราะการกวดวิชาเป็น teach for test  ไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง  แต่ PISA วัดการเรียนรู้ที่แท้จริง  คือข้อสอบ PISA เป็นข้อสอบที่โจทย์เน้นการเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน   คนที่ทำโจทย์ได้คือคนที่เรียนรู้ลึกในระดับนำความรู้ไปแก้ปัญหาได้


ผลการวิเคราะห์รายละเอียดของผลการสอบ PISA ของเด็กไทย  ตามที่ ดร. ปรีชาญ บอก  เป็นหลักฐานหนึ่งที่บอกเราว่า การเรียนกวดวิชาไม่ใช่การเรียนรู้ที่ดี ตามแนวทางของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543989

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 09:51 น.
 

การเสวนาหัวข้อ “เปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไทยสู้ธุรกิจบริการ”

พิมพ์ PDF

จากงานสัมมนา “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555
ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา

การเสวนาสาขาธุรกิจท่องเที่ยว ดร. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

ภาครัฐมีความประสงค์จะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวจากปัจจุบันที่อยู่ระดับหนึ่งล้านล้านบาทเป็นสองล้านล้านบาท เนื่องจากเป็นสาขาธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ดีในสาขาท่องเที่ยวต้องประสบกับข้อจากัดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. การท่องเที่ยวทั่วโลกเติบโตได้เพียงร้อยละสามต่อปี แต่ในระดับภูมิภาคอาเซียนการท่องเที่ยวเติบโตได้มากเนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่า (Low Cost Airline) ซึ่งทาให้ชนชั้นกลางเดินทางได้มากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจะมีศักยภาพเติบโตได้มากถ้าหากสามารถแก้ไขข้อจากัดดังต่อไปนี้
- ความแออัดของท่าอากาศยานและระบบโลจิสติกส์ กรณีศึกษาที่ดีคือประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีนักท่องเที่ยวกว่า 60 ล้านคน เท่ากับจานวนประชากรในประเทศ แต่มีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวจานวนดังกล่าวได้
- กฎหมายและระเบียบไม่เอื้ออานวย เช่นการไม่ให้ Single Visa ในประเทศอาเซียน ในขณะที่กลุ่มประเทศ CLMV มีสัญญาร่วมกันว่าจะพัฒนาระบบ Single Visa ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าในข้อกฎหมายและระเบียบดังกล่าว
- คณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองมาจากหน่วยงานด้านความมั่นคงเกือบทั้งหมด ทำให้ไม่เข้าใจธุรกิจ จึงควรแก้โครงสร้างของปัญหานี้
- ประเทศไทยมีกฎหมายด้านความสะอาดแต่ไม่มีการบังคับใช้ เช่น ความสะอาดของป้ายโฆษณา และความสะอาดของถนน
- ปัญหาความปลอดภัย ส่วนหนึ่งมาจากโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งตามกฎหมาย แนวทางการปรับปรุงควรจะนากรณีศึกษาในประเทศรัสเซียมาใช้ คือให้มีการจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกันหมดคือร้อยละ 13 ซึ่งจะทาให้ธุรกิจนอกกฎหมายเข้ามาสู่ในระบบ และรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น รัสเซียใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับคนเข้าเมืองที่เอื้อต่อการอนุมัติคนเข้าเมือง อาทิ กลุ่ม Expat ทาให้มีคนเข้ามาในประเทศมากขึ้น
- ปัญหาด้านเอกลักษณ์ ทำให้ประเทศไทยขาด Product Differentiation โดยสินค้าที่คล้ายๆ กันก่อให้เกิดการ Over-supply จึงทาให้เกิดการแข่นขันด้านราคา ตัดราคากันเองเพื่อแย่งลูกค้า

2.ประเทศไทยควรมองประเทศในอาเซียนนอกจากเป็นเสมือนประเทศคู่ค้า คู่แข่งแล้วให้คิดว่าเป็นประเทศคู่คิด (Partner) เช่น กรณีถ้าต้องขยายตลาดมุสลิม ประเทศไทยจาเป็นต้องร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน และต้องประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ CLMV เป็นต้น

3. รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในส่วนที่เอกชนไม่สามารถดาเนินการได้เอง อาทิเช่น การแก้กฎหมาย
4. ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว แต่สิ่งที่สาคัญมากกว่าคือทัศนคติ (Mentality and Mindset) ของผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว หรือการปรับทัศนคติต่อนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ อาทิเช่น ความเข้าใจต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนจากประเทศต่างๆ ที่ผู้ให้บริการตระหนักว่านักท่องเที่ยวผู้ที่ใช้จ่ายมากที่สุดมักจะเป็นชาวเอเชีย ส่วนนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายน้อยมักจะมาจากประเทศเยอรมัน เป็นต้น

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:09 น.
 

การเสวนาเรื่องทุนมนุษย์ภาคบริการ ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

การพัฒนาทุนมนุษย์ต้องอาศัยการวางแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาทุนมนุษย์นั้นต้องอาศัยระยะเวลา ทั้งนี้ประเทศไทยจะต้องตระหนักได้เสียก่อนว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากทุนมนุษย์ของประเทศมีคุณภาพ สิ่งที่สาคัญในภาคธุรกิจคือการหันมาวางแผนเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ประเทศไทยในยุคปัจจุบันมีความล้มเหลวในเรื่องระเบียบวินัยและจริยธรรมเพราะเมื่อคนไม่มีวินัยและจริยธรรมในการทางานเบื้องต้น อาทิเช่น การลอกเลียนแบบความคิด โอกาสที่ประเทศไทยจะล้มเหลวเมื่อเปิดเสรีอาเซียนจึงมีสูงมาก นอกจากนี้ การศึกษาของประเทศไทยปัจจุบันพัฒนาไปในวิถีทางที่ผิดโดยการไปเน้นที่คุณวุฒิของบัณฑิตมากกว่ามุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพ ในปัจจุบันบัณฑิตที่มีวุฒิปริญญาตรีมีจานวนมากเกินความต้องการของประเทศ แต่ขณะเดียวกันผู้ที่จบสายอาชีพนั้นลดน้อยลงเพราะค่านิยมที่ผิดของคนไทยที่ต้องการเพิ่มปริมาณ (สถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในระยะเวลาอันสั้น) สิ่งที่สาคัญอีกประการสาหรับการพัฒนามนุษย์คือการสร้างคุณค่า (Value) สาหรับการพัฒนามนุษย์นั้นต้องสร้างทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่า (Value Added) และการสร้างมูลค่า (Value Creation) ยกตัวอย่างเช่นการร่วมมือในระดับภูมิภาคหาความคิดใหม่ๆเพื่อแข่งขันกับโลกภายนอก นอกจากนี้สิ่งที่สาคัญคือต้องสร้าง Value Diversity เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิดซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อระบบธุรกิจโดยรวม

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:15 น.
 

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธุรกิจบริการสู่ AEC and Beyond ในธุรกิจบริการ 4 สาขา

พิมพ์ PDF

ความสาคัญ
ภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอันจะเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของไทยในปี 2553 มาจากภาคบริการถึง 45.1% และภาคอุตสาหกรรม 43.3% (World Economic Outlook Database 2010) นอกจากนี้ การเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ภาคบริการจะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Poverty Trap)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงโครงสร้างและมาตรฐานเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหน (Beyond AEC liberalization) โดยผลลัพธ์จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจบริการของภาคเอกชนใน 4 สาขาบริการได้แก่ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจ ICT และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ

สมุดปกขาวเล่มนี้จะได้รับการส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบริการไทยอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการพัฒนาธุรกิจภาคบริการอย่างมีประสิทธิภาพจะไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้จากการผลักดันของภาคเอกชนเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะทำให้ธุรกิจภาคบริการไทยพัฒนาไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

กรอบแผนยุทธศาสตร์ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อเป็นการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขให้แก่ธุรกิจภาคบริการอย่างเป็นรูปธรรม การสัมมนาฯ จึงกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจบริการไทยดังนี้
1. หมวดโครงสร้าง ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ มาตรฐาน ความสาคัญ (จุดเน้น: ทุน แรงงาน เทคโนโลยี หรือทรัพยากรมนุษย์) กรอบการกำกับดูแล (Regulatory Framework) กฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นต้องแก้ไข และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. หมวดความเชื่อมโยงและเครือข่าย ประกอบไปด้วย การปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ และการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
3. หมวดการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย มาตรการส่งเสริมการออกไปลงทุน มาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. หมวดอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
5. หมวดโอกาส ประกอบไปด้วย จุดเด่น และแนวทางการพัฒนาจุดเด่น
6. หมวดการจัดลำดับความสาคัญและเร่งด่วน เพื่อกาหนดประเด็นให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาธุรกิจบริการ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:24 น.
 

ธุรกิจท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

1.โครงสร้าง
ต้องการให้มีมาตรฐานในการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังเป็นรองธุรกิจขนาดใหญ่ พัฒนามาตรฐานทางด้าน ICT เพื่อเกื้อหนุนศักยภาพ เช่นการนา Software มาใช้กับธุรกิจท่องเที่ยวในหลายๆ ส่วน อีกทั้งควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการกากับดูแลเรื่องการตรวจสอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อขจัดธุรกิจแอบแฝง และธุรกิจผิดประเภทนอกจากนี้ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน

2.ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
เอกชนและรัฐควรมีมาตรการร่วมกันในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ อาทิการพบปะนักธุรกิจ การตรวจสอบธุรกิจผิดกฎหมายร่วมกัน รัฐจัดตั้งศูนย์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากเอกชน นอกจากนี้เอกชนจาเป็นต้องรวมกลุ่มเป็น Cluster และต้องมีสถานะที่เข้มแข็งพอที่จะร่วมงานกับรัฐและออกมาตรการที่มีน้าหนักได้

3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
ต้องการให้มีการจัดตั้งกองทุนสาหรับธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Mutual Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารโดยเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยวจัดตั้งจากภาษีของภาคท่องเที่ยวทั้งหมดที่จ่ายให้รัฐ นอกจากนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวต้องการให้มีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการพัฒนามาตรฐาน รัฐควรมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ SMEs ที่มีต้นทุนจากัด รัฐควรสร้างระบบ “Coaching” โดยการสนับสนุนตั้งแต่จัดตั้งธุรกิจ ตลอดจนความช่วยเหลือด้านเทคนิค และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และรัฐควรมีระบบในการรวมแหล่งงานวิจัยและมาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย

4. อุปสรรค
ภาคธุรกิจบริการประสบอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย คุณภาพของคน การขาดแคลนสายอาชีพ บุคลากรขาดความภาคภูมิใจในสายอาชีพโรงแรม การสื่อสารกับรัฐบาลมีปัญหา เช่นการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือไม่ตรงจุด

5. โอกาส
ธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Mobile Home และ Thailand’s Medical Tourism Cluster ที่ตั้งของประเทศ บุคลากรมีจิตใจบริการ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมโดดเด่นและมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย

6. การจัดลาดับความสาคัญและเร่งด่วน
การบังคับใช้กฎหมาย การยกระดับมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาคน การทางานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:29 น.
 


หน้า 460 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591154

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า