Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สติกลิตซ์'ชี้ประชานิยมไทยทำต้นทุนสูง

พิมพ์ PDF

สติกลิตซ์'ชี้ประชานิยมไทยทำต้นทุนสูง

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เตือนไทยอย่าเข้าร่วมเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกกับสหรัฐ ชี้เอื้อประโยชน์บริษัทยักษ์ใหญ่ในมะกัน อาจทำให้ไทยต้องซื้อยาแพงขึ้น

คัดลอกจาก คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 23-03-2556

ในงานปาฐกถาพิเศษและการประชุมวิชาการนานาชาติ การศึกษาและตลาดแรงงาน นโยบายและความท้าทาย จัดโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และสมาคมเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม นายโจเซฟ อี สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ปาฐกถาเรื่องเศรษฐกิจโลกว่า ท่ามกลางข่าวร้ายเรื่องเศรษฐกิจทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยังมีแหล่งเศรษฐกิจที่มีข่าวดีอยู่คือภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน โดยประเทศในกลุ่มเอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีตั้งแต่ช่วงปี 2551 ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจต่างประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันทั้งภูมิภาค

การเติบโตของประเทศจีนเริ่มมีสัญญาณน่าเป็นห่วง หลังจากเศรษฐกิจมีการเติบโตมาก โดยเฉพาะเริ่มมีปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน และการบริโภคมากเกินไปเกิดขึ้น ขณะที่จีนเริ่มมีท่าทีจะเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจมาเป็นแบบเติบโตปานกลาง แทนการโตอย่างร้อนแรงเหมือนที่ผ่านมา

"ปัจจุบันจีนกำลังเป็นที่จับตาว่า เริ่มแยกเศรษฐกิจออกจากสหรัฐอเมริกา และลดภาวะการพึ่งพิงจากประเทศสหรัฐอเมริกาชัดเจน และถูกมองว่าในอีก 5-15 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจจีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก" นายสติกลิตซ์กล่าว

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ย้ำว่า จีนต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ลดพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป และจีนไม่ควรสร้างระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคนิยมแบบสหรัฐอเมริกา เพราะอาจพบกับจุดจบที่น่าผิดหวัง ดังเช่นสหรัฐอเมริกาที่การบริโภควัตถุมากๆ พิสูจน์แล้วว่าทำให้ประเทศไปไม่รอด จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ การบริโภคสูงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านแหล่งอาหาร และทรัพยากร ปัญหาความเท่าเทียมในสังคม และนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจในที่สุด มองว่าจีนควรเปลี่ยนนโยบายการเติบโตมาเป็นแบบยั่งยืน และไม่ใช้ตัวเลขจีดีพีวัดคุณภาพเศรษฐกิจ และต้องให้ความห่วงใยดูแลทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน และมีสภาพแวดล้อมที่ดีรองรับ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตทุกคนให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกถือว่ามีภาวะเศรษฐกิจที่ดี สามารถพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศได้ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้จะยังมีการส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่สำคัญกว่าการบริโภคภายใน ส่วนสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าจะไม่เกิดภาวะล้มละลาย เพราะสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ได้ นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ยังยินดีให้สหรัฐกู้ทั้งที่ได้รับผลตอบแทนติดลบ

"อยากแนะนำว่า ให้ทุกประเทศรู้จักการลงทุนให้เป็น เมื่อลงทุนแล้วคนส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์ ขณะที่รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลที่ดี ไม่คอร์รัปชั่น เพราะเป็นบ่อเกิดของปัญหาเศรษฐกิจและสังคม แต่ผมไม่เห็นด้วยกับนโยบายการรัดเข็มขัด เพราะเปรียบเสมือนยาพิษ ทำลายเศรษฐกิจในวันนี้และอนาคต ไม่ส่งเสริมการออม เพราะคนไม่มีงานทำ จึงออมไม่ได้ นโยบายใช้จ่ายเพื่อลงทุนให้ประเทศดีขึ้นในอนาคตเป็นคำตอบสำหรับทุกประเทศ แตกต่างจากนโยบายประชานิยม ซึ่งสัญญาในสิ่งที่ทำให้ไม่ได้ หรือทำให้ได้ในปัจจุบัน แต่เป็นต้นทุนในอนาคตข้างหน้า" นายสติกลิตซ์กล่าว

สาเหตุที่สหรัฐอเมริกาจะยังคงอยู่ในสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจฝืดเคืองต่อ นายสติกลิตซ์มองว่า เป็นเพราะการดำเนินนโยบายผิด โดยเฉพาะนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีหลักฐานยืนยันในอดีตตลอดมาว่า เป็นการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด รวมทั้งหลักฐานจากการที่ไอเอ็มเอฟนำนโยบายรัดเข็มขัดมาใช้ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ แม้จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ แต่ทำให้อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นกัน

อีกความผิดพลาดที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบปัญหา คือ การคอร์รัปชั่นทางการเมือง เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่บิดเบือนผลประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของตน ซึ่งการเลือกตั้งแต่ละครั้ง เกิดการคอร์รัปชั่นมาก เพราะแต่ละพรรคใช้เงินหาเสียงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เม็ดเงินเหล่านั้นล้วนมาจากชนชั้นที่มีเงินทั้งสิ้น และการบริจาคทางการเมืองก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อการกุศล แต่ล้วนเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

"การคอร์รัปชั่นแบบอเมริกันสไตล์ดังกล่าว กำลังเป็นรูปแบบหนึ่งของการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นทั่วโลก และสร้างปัญหาไปทั่วทุกประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตย และเชื่อมั่นว่าความตระหนักรู้ในความเสียหายที่เกิดจากการคอร์รัปชั่นจะทำให้เกิดการปฏิรูปทางโครงสร้าง" นายสติกลิตซ์กล่าว

ทั้งนี้ ในระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษโดย นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป นายสติกลิตซ์ เตือนว่า ประเทศไทยไม่ควรเข้าทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบเอเชีย-แปซิฟิก กับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ เพราะการเจรจาต่อรองทำเป็นความลับ ทำให้ภาคประชาสังคมไม่มีโอกาสรับรู้กับการต่อรองแลกผลประโยชน์กัน และบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตยาจะมีอิทธิพลอย่างมากในการต่อรองของสหรัฐ ทำให้ประเทศไทยอาจต้องซื้อยาในราคาที่แพงขึ้น

เมื่อถามว่า หากประธานาธิบดีบารัก โอบามา ยื่นคำขาดให้ไทยเข้าร่วมวงการค้าเสรีนี้ ประเทศไทยจะทำให้อย่างไร นายสติกลิตซ์เขาตอบว่า "ควรจะให้ประชาชนออกมาประท้วง"

 

ขอบพระคุณ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่แนะนำบทความนี้ในเวปเพส ของท่าน ใน gotoknow ทำให้ผมได้เข้าไปอ่านและถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่

 

 

"สติกลิตซ์"เตือนไทยอย่าร่วมTPPค้าเสรีสหรัฐ

พิมพ์ PDF

"สติกลิตซ์"เตือนไทยอย่าร่วมTPPค้าเสรีสหรัฐ

คัดลอกจาก "คนบ้าข่าว Suthichai Yoon

http://www.suthichaiyoon.com/home/details.php?NewsID=1565

 

ในระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษโดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป "โจเซฟ สติกลิตซ์" เตือนว่า ประเทศไทยไม่ควรเข้าทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบเอเชีย-แปซิฟิก หรือTrans-Pacific Partnership (TPP) กับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ เพราะการเจรจาต่อรองทำเป็นความลับ ทำให้ภาคประชาสังคมไม่มีโอกาสรับรู้กับการต่อรองแลกผลประโยชน์กัน และบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตยาจะมีอิทธิพลอย่างมากในการต่อรองของสหรัฐ ทำให้ประเทศไทยอาจต้องซื้อยาในราคาที่แพงขึ้น 

เมื่อถามว่า หากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยื่นคำขาดให้ไทยเข้าร่วมวงการค้าเสรีนี้ ประเทศไทยจะทำให้อย่างไร เขาตอบว่า "ควรจะให้ประชาชนออกมาประท้วง" 

"สติกลิตซ์"เชื่อเศรษฐกิจไทย-จีนโตต่อ 

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเชื่อว่าเศรษฐกิจจีน อาเซียนรวมไทย จะเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤติในยุโรป-ความอ่อนแอของสหรัฐ แนะประเทศเกิดใหม่ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ หันพึ่งพาความต้องการในประเทศ เน้นบริหารทรัพยากรพอเหมาะ ชี้ลัทธิบริโภคนิยมวัตถุแบบตะวันตกไปไม่รอด เตือนไทยอย่าเข้าร่วมเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกกับสหรัฐ 

ทั้งนี้ นายโจเซฟ อี สติกลิตซ์ นักเศรษศาสตร์รางวัลโนเบล อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิล คลินตัน เปิดเผยว่า ท่ามกลางข่าวร้ายเรื่องเศรษฐกิจทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยังมีแหล่งเศรษฐกิจที่มีข่าวดีอยู่คือภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน โดยประเทศในกลุ่มเอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีตั้งแต่ช่วงปี 2551 ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจต่างประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันทั้งภูมิภาค 

การเติบโตของประเทศจีนเริ่มมีสัญญาณน่าเป็นห่วง หลังจากเศรษฐกิจมีการเติบโตมาก โดยเฉพาะเริ่มมีปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน และการบริโภคมากเกินไปเกิดขึ้น ขณะที่จีนเริ่มมีท่าทีจะเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจมาเป็นแบบเติบโตปานกลาง แทนการโตอย่างร้อนแรงเหมือนที่ผ่านมา 

"ปัจจุบันจีนกำลังเป็นที่จับตาว่า เริ่มแยกเศรษฐกิจออกจากสหรัฐอเมริกา และลดภาวะการพึ่งพิงจากประเทศสหรัฐอเมริกาชัดเจน และถูกมองว่าในอีก 5-15 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจจีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก" เขากล่าว ปาฐกถาเรื่องเศรษฐกิจโลก จัดโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์วานนี้ 

สติกลิตซ์ มองว่า ประเทศจีนต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ลดพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป และจีนไม่ควรสร้างระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคนิยมแบบสหรัฐอเมริกา เพราะอาจพบกับจุดจบที่น่าผิดหวัง ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาที่การบริโภควัตถุมากๆ พิสูจน์แล้วว่าทำให้ประเทศไปไม่รอด จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ การบริโภคสูงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านแหล่งอาหาร และทรัพยากร ปัญหาความเท่าเทียมในสังคม และนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจในที่สุด 

"มองว่าจีนควรเปลี่ยนนโยบายการเติบโตมาเป็นแบบยั่งยืน และไม่ใช้ตัวเลขจีดีพี (GDP) วัดคุณภาพเศรษฐกิจ และต้องให้ความห่วงใยดูแลทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน และมีสภาพแวดล้อมที่ดีรองรับ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตทุกคนให้ดีขึ้น" 

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนี้ ถือว่ามีภาวะเศรษฐกิจที่ดี สามารถพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศได้ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้จะยังมีการส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่สำคัญกว่าการบริโภคภายใน 

เชื่อสหรัฐไม่เกิดภาวะล้มละลาย 

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีของสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าจะไม่เกิดภาวะล้มละลาย เพราะสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ได้ นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ยังยินดีให้สหรัฐกู้ทั้งที่ได้รับผลตอบแทนติดลบ เช่นพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีของสหรัฐขณะนี้ให้ผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ 2 % แต่ก็ยังมีนักลงทุนต่างชาติยอมให้สหรัฐกู้เงิน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่สหรัฐสามารถเอาเงินมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข การศึกษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมสีเขียว 

ดังนั้นเขาจึงอยากแนะนำว่า ให้ทุกประเทศรู้จักการลงทุนให้เป็น เพื่อให้อนาคตของแต่ละประเทศดีขึ้น โดยให้คำนึงถึงผลดี ผลเสีย ความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และเมื่อลงทุนแล้วคนส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่รัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐบาลที่ดี ไม่คอร์รัปชัน เพราะเป็นบ่อเกิดของปัญหาเศรษฐกิจและสังคม 

เขายังแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายตัดรายจ่ายของรัฐบาลในประเทศตะวันตก 

"ผมไม่เห็นด้วยกับนโยบายการรัดเข็มขัด เพราะเปรียบเสมือนยาพิษ ทำลายเศรษฐกิจในวันนี้และอนาคต ไม่ส่งเสริมการออม เพราะคนไม่มีงานทำ จึงออมไม่ได้ นโยบายใช้จ่ายเพื่อลงทุนให้ประเทศดีขึ้นในอนาคตเป็นคำตอบสำหรับทุกประเทศ ซึ่งแตกต่างจากนโยบายประชานิยม ซึ่งสัญญาในสิ่งที่ทำให้ไม่ได้หรือทำให้ได้ในปัจจุบัน แต่เป็นต้นทุนในอนาคตข้างหน้า" 

เขากล่าวถึงกรณีที่ไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในอีก 2 ปีข้างหน้านั้น ไม่ควรใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะจะทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ในยามที่เศรษฐกิจมีปัญหา อย่างเช่นที่ประเทศในยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกันกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน 

ชี้10ปีศก.สหรัฐยังไม่ฟื้นเต็มตัว 

อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ของประธานาธิบดีบิล คลินตัน กล่าวอีกว่า ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวอย่างแข็งแรงเร็วๆ นี้ คงเป็นไปได้ยาก ส่วนตัวเชื่อว่าในระยะ 10 ปีนี้ จะไม่ได้เห็นเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกากลับไปดีเหมือนเดิม ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า จะเห็นอัตราการเติบโตของประเทศสหรัฐอยู่ในอัตราไม่เกิน 3% เป็นอัตราที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการสร้างงานใหม่ภายในประเทศได้ 

สาเหตุที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะยังคงอยู่ในสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจฝืดเคืองต่อ เป็นเพราะการดำเนินนโยบายผิด โดยเฉพาะนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีหลักฐานยืนยันในอดีตตลอดมาว่า เป็นการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด รวมทั้งหลักฐานจากการที่ไอเอ็มเอฟนำนโยบายรัดเข็มขัดมาใช้ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ในช่วงที่ประเทศเหล่านี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แม้จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ แต่ทำให้อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นกัน 

จากการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ภาคเอกชนถูกปิดกั้นจากแหล่งเงินทุนสำคัญคือธนาคารพาณิชย์ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานเดิมว่างงาน แรงงานใหม่ไร้งาน ทั้งยังทำให้งานที่เกิดจากการจ้างงานของรัฐบาลเองลดลง 7 แสนงาน จากปกติที่จะมีการจ้างงานราว 1.8 ล้านงาน และงานที่ออกมาก็เป็นงานค่าจ้างต่ำ นอกจากนี้ การไร้พัฒนาการด้านเทคโนโลยี ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย 

อีกความผิดพลาดที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบปัญหา ก็คือ การคอร์รัปชันทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่บิดเบือนผลประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของตน โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง เกิดการคอร์รัปชันมาก เพราะแต่ละพรรคใช้เงินหาเสียงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเม็ดเงินเหล่านั้นล้วนมาจากชนชั้นที่มีเงินทั้งสิ้น และในการบริจาคทางการเมืองก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อการกุศล แต่ล้วนเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 

"การคอร์รัปชันแบบอเมริกันสไตล์ดังกล่าว กำลังเป็นรูปแบบหนึ่งของการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นทั่วโลก และสร้างปัญหาไปทั่วทุกประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตย และเชื่อมั่นว่าความตระหนักรู้ในความเสียหายที่เกิดจากการคอร์รัปชันจะทำให้เกิดการปฏิรูปทางโครงสร้าง " 

สติกลิตซ์ กล่าวว่า สรุปสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่ฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ หรือไม่สวยหรูเหมือนเดิมได้ 3 ประการคือ 1.เป็นเรื่องที่ยากเกินไป 2.ไร้การพึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น แต่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะระดับการออมเท่ากับ 0% แต่ข่าวดีคือปัจจุบันนี้ระดับการออมของประชากรสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมาเป็น 4.5-5% และ 3.นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผิดพลาดดังที่กล่าวข้างต้น และแม้จะมีความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยที่ธนาคารสหรัฐเพิ่มปริมาณเงิน (QE2 และ QE3) ก็ไม่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น แต่อาจทำให้เกิดปัญหาทั่วโลกไปด้วย ทั้งนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาควรทำ และประชาชนยินดีให้ทำก็คือการใช้นโยบายการคลัง 

เขากล่าวเพิ่มว่า แม้ภาพเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาจะย่ำแย่ แต่เมื่อมองไปดูเศรษฐกิจฝั่งยุโรปแล้วจะรู้สึกดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจฝั่งยุโรปกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนัก สาเหตุหลักมาจาก 2 ประการคือ การใช้เงินสกุลเดียวกัน และการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัด การใช้เงินยูโรร่วมกันในเวลาที่เร็วเกินไป ก็กลายเป็นสาเหตุแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยทำให้ประเทศสมาชิกไม่มีประสิทธิภาพในการชำระหนี้ 

ทั้งยังส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อ่อนแอ ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ ก็มีรัฐบาลของแต่ละประเทศให้การสนับสนุนเป็นส่วนมาก เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ ธนาคารก็อ่อนแอ 

"ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เอง ยังเลือกใช้นโยบายรัดเข็มขัดมาใช้แก้ปัญหา มองว่ากลุ่มยุโรปก็ไม่มีทางหนีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ตราบใดที่ไม่เปลี่ยนนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายใช้สกุลเดียวกัน และตอนนี้ผู้เฝ้าสังเกตการณ์เริ่มคิดว่าปล่อยให้สหภาพยุโรปล่มสลายไปดีกว่าหรือไม่ หรือไม่ก็ให้ประเทศเยอรมันออกจากสหภาพยุโรปเสีย เรียกว่าทิ้งยูโร เพื่อกู้ยุโรป"

 

 

 

สติกลิตซ์ เชื่อเศรษฐกิจไทย-จีน เติบโตต่อเนื่อง

พิมพ์ PDF

สติกลิตซ์ เชื่อเศรษฐกิจไทย-จีน เติบโตต่อเนื่อง

คัดลอกจากกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 16 มีนาคม 2556

ขอขอบคุณ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่แนะนำบทความนี้ทางเวปเพสของอาจารย์ใน gotoknow ทำให้ผมเข้าไปติดตามอ่านและนำมาเผยแพร่

สติกลิตซ์ เชื่อเศรษฐกิจจีน อาเซียนโตต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤตยุโรป-สหรัฐ ชี้ลัทธิบริโภคนิยมวัตถุแบบตะวันตกไปไม่รอด เตือนไทยอย่าเข้าร่วมทีพีพี

นายโจเซฟ อี สติกลิตซ์ นักเศรษศาสตร์รางวัลโนเบล อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิล คลินตัน เปิดเผยว่า ท่ามกลางข่าวร้ายเรื่องเศรษฐกิจทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยังมีแหล่งเศรษฐกิจที่มีข่าวดีอยู่คือภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน โดยประเทศในกลุ่มเอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีตั้งแต่ช่วงปี2551 ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจต่างประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันทั้งภูมิภาค

การเติบโตของประเทศจีนเริ่มมีสัญญาณน่าเป็นห่วง หลังจากเศรษฐกิจมีการเติบโตมาก โดยเฉพาะเริ่มมีปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน และการบริโภคมากเกินไปเกิดขึ้น ขณะที่จีนเริ่มมีท่าทีจะเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจมาเป็นแบบเติบโตปานกลาง แทนการโตอย่างร้อนแรงเหมือนที่ผ่านมา

"ปัจจุบันจีนกำลังเป็นที่จับตาว่า เริ่มแยกเศรษฐกิจออกจากสหรัฐอเมริกา และลดภาวะการพึ่งพิงจากประเทศสหรัฐอเมริกาชัดเจน และถูกมองว่าในอีก 5-15 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจจีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก" เขากล่าว ปาฐกถาเรื่องเศรษฐกิจโลก จัดโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์

สติกลิตซ์ มองว่า ประเทศจีนต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ลดพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป และจีนไม่ควรสร้างระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคนิยมแบบสหรัฐอเมริกา เพราะอาจพบกับจุดจบที่น่าผิดหวัง ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาที่การบริโภควัตถุมากๆ พิสูจน์แล้วว่าทำให้ประเทศไปไม่รอด จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ การบริโภคสูงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านแหล่งอาหาร และทรัพยากร ปัญหาความเท่าเทียมในสังคม และนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจในที่สุด

"มองว่าจีนควรเปลี่ยนนโยบายการเติบโตมาเป็นแบบยั่งยืน และไม่ใช้ตัวเลขจีดีพี (GDP) วัดคุณภาพเศรษฐกิจ และต้องให้ความห่วงใยดูแลทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน และมีสภาพแวดล้อมที่ดีรองรับ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตทุกคนให้ดีขึ้น"

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนี้ ถือว่ามีสภาวะเศรษฐกิจที่ดี สามารถพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศได้ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้จะยังมีการส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่สำคัญกว่าการบริโภคภายใน

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีของสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าจะไม่เกิดภาวะล้มละลาย เพราะสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ได้ นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ยังยินดีให้สหรัฐกู้ทั้งที่ได้รับผลตอบแทนติดลบ เช่น พันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีของสหรัฐขณะนี้ให้ผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ 2% แต่ก็ยังมีนักลงทุนต่างชาติยอมให้สหรัฐกู้เงิน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่สหรัฐสามารถเอาเงินมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข การศึกษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมสีเขียว

ดังนั้นเขาจึงอยากแนะนำว่า ให้ทุกประเทศรู้จักการลงทุนให้เป็น เพื่อให้อนาคตของแต่ละประเทศดีขึ้น โดยให้คำนึงถึงผลดี ผลเสีย ความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และเมื่อลงทุนแล้วคนส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่รัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐบาลที่ดี ไม่คอรัปชั่น เพราะเป็นบ่อเกิดของปัญหาเศรษฐกิจและสังคม

เขายังแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายตัดรายจ่ายของรัฐบาลในประเทศตะวันตก

"ผมไม่เห็นด้วยกับนโยบายการรัดเข็มขัด เพราะเปรียบเสมือนยาพิษ ทำลายเศรษฐกิจในวันนี้และอนาคต ไม่ส่งเสริมการออม เพราะคนไม่มีงานทำ จึงออมไม่ได้ นโยบายใช้จ่ายเพื่อลงทุนให้ประเทศดีขึ้นในอนาคตเป็นคำตอบสำหรับทุกประเทศ ซึ่งแตกต่างจากนโยบายประชานิยม ซึ่งสัญญาในสิ่งที่ทำให้ไม่ได้หรือทำให้ได้ในปัจจุบัน แต่เป็นต้นทุนในอนาคตข้างหน้า"

เขากล่าวถึงกรณีที่ไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในอีก 2 ปีข้างหน้านั้น ไม่ควรใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะจะทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ในยามที่เศรษฐกิจมีปัญหา อย่างเช่นที่ประเทศในยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกันกำลังเผญิชอยู่ในปัจจุบัน

อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิล คลินตัน กล่าวอีกว่า ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวอย่างแข็งแรงเร็วๆ นี้ คงเป็นไปได้ยาก ส่วนตัวเชื่อว่าในระยะ 10 ปีนี้ จะไม่ได้เห็นเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกากลับไปดีเหมือนเดิม ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า จะเห็นอัตราการเติบโตของประเทศสหรัฐอยู่ในอัตราไม่เกิน 3% เป็นอัตราที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการสร้างงานใหม่ภายในประเทศได้

สาเหตุที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะยังคงอยู่ในสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจฝืดเคืองต่อ เป็นเพราะการดำเนินนโยบายผิด โดยเฉพาะนโยบายรัดเข็มขัดที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีหลักฐานยืนยันในอดีตตลอดมาว่า เป็นการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด รวมทั้งหลักฐานจากการที่ไอเอ็มเอฟนำนโบายรัดเข็มขัดมาใช้ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ในช่วงที่ประเทศเหล่านี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แม้จะแก้ปัญหาเศรษฐิจได้ แต่ทำให้อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นกัน

จากการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ภาคเอกชนถูกปิดกั้นจากแหล่งเงินทุนสำคัญคือธนาคารพาณิชย์ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานเดิมว่างงาน แรงงานใหม่ไร้งาน ทั้งยังทำให้งานที่เกิดจากการจ้างงานของรัฐบาลเองลดลง 7 แสนงาน จากปกติที่จะมีการจ้างงานราว 1.8 ล้านงาน และงานที่ออกมาก็เป็นงานค่าจ้างต่ำ นอกจากนี้ การไร้พัฒนาการด้านเทคโนโลยี ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย

อีกความผิดพลาดที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาก็คือ การคอรัปชั่นทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่บิดเบือนผลประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของตน โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง เกิดการคอรัปชั่นมาก เพราะแต่ละพรรคใช้เงินหาเสียงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเม็ดเงินเหล่านั้นล้วนมาจากชนชั้นที่มีเงินทั้งสิ้น และในการบริจาคทางการเมืองก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อการกุศล แต่ล้วนเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

"การคอรัปชั่นแบบอเมริกันสไตล์ดังกล่าว กำลังเป็นรูปแบบหนึ่งของการคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นทั่วโลก และสร้างปัญหาไปทั่วทุกประเทศที่้ใช้ระบบประชาธิปไตย และเชื่อมั่นว่าความตระหนักรู้ในความเสียหายที่เกิดจากการคอรัปชั่นจะทำให้เกิดการปฏิรูปทางโครงสร้าง "

สติกลิตซ์ กล่าวว่า สรุปสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่ฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ หรือไม่สวยหรูเหมือนเดิมได้ 3ประการคือ 1.เป็นเรื่องที่ยากเกินไป 2.ไร้การพึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น แต่สหรัฐฯ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะระดับการออมเท่ากับ 0% แต่ข่าวดีคือปัจจุบันนี้ระดับการออมของประชากรสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมาเป็น 4.5-5% และ 3.นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผิดพลาดดังที่กล่าวข้างต้น และแม้จะมีความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยที่ธนาคารสหรัฐเพิ่มปริมาณเงิน (คิวอี 2 และ 3) ก็ไม่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น แต่อาจทำให้เกิดปัญหาทั่วโลกไปด้วย ทั้งนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลสหรัฐฯ ควรทำ และประชาชนยินดีให้ทำก็คือการใช้นโยบายการคลัง

เขากล่าวเพิ่มว่า แม้ภาพเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาจะย่ำแย่ แต่เมื่อมองดูเศรษฐกิจฝั่งยุโรปแล้วจะรู้สึกดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจฝั่งยุโรปกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนัก สาเหตุหลักมาจาก 2 ประการคือ การใช้เงินสกุลเดียวกัน และการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัด

การใช้เงินยูโรร่วมกันในเวลาที่เร็วเกินไปก็กลายเป็นสาเหตุแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยทำให้ประเทศสมาชิกไม่มีประสิทธิภาพในการชำระหนี้ ทั้งยังส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อ่อนแอ ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์เองก็มีรัฐบาลของแต่ละประเทศให้การสนับสนุนเป็นส่วนมาก เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ ธนาคารก็อ่อนแอ

"ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เอง ยังเลือกใช้นโยบายรัดเข็มขัดมาใช้แก้ปัญหา มองว่ากลุ่มยุโรปก็ไม่มีทางหนีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ตราบใดที่ไม่เปลี่ยนนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายใช้สกุลเดียวกัน และตอนนี้ผู้เฝ้าสังเกตการณ์เริ่มคิดว่าปล่อยให้สหภาพยุโรปล่มสลายไปดีกว่าหรือไม่ หรือไม่ก็ให้ประเทศเยอรมันออกจากสหภาพยุโรปเสีย เรียกว่าทิ้งยูโร เพื่อกู้ยุโรป"

เตือนไทยอย่าเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกับสหรัฐเมริกา

ในระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษโดย นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป สติกลิตซ์ เตือนว่า ประเทศไทยไม่ควรเข้าทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบเอเชีย-แปซิฟิก หรือTrans-Pacific Partnership (TPP) กับสหรัฐฯ เนื่องจากจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ เพราะการเจรจาต่อรองทำเป็นความลับ ทำให้ภาคประชาสังคมไม่มีโอกาสรับรู้กับการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน และบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐโดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตยาจะมีอิทธิพลอย่างมากในการต่อรองของสหรัฐ ทำให้ประเทศไทยอาจจะต้องซื้อยาในราคาที่แพงขึ้น ต่อคำถามที่ว่า หากประธานาธิบดีบารัก โอบามา ยื่นคำขาดให้ไทยเข้าร่วมวงการค้าเสรีนี้ ประเทศไทยจะทำให้อย่างไร เขาตอบว่า ควรจะให้ประชาชนออกมาประท้วง


 

เมื่อ โจเซฟ สติกกลิตซ์ มาไทย

พิมพ์ PDF

คอรัปชั่นทางการเมืองกำลังทำลายเศรษฐกิจ ทำลายโลก

 

เมื่อ โจเซฟ สติกกลิตซ์ มาไทย

ย่อมมีข่าวและการวิพากษ์วิจารณ์มากมายดังต่อไปนี้ 

จะเห็นว่า เขาชี้ภาพใหญ่ ว่าทุนนิยมสุดโต่งกำลังทำลายศีลธรรม และทำลายโลกอย่างไร

วิจารณ์ พานิช

๒๒ มี.ค. ๕๖

สามารถอ่านข่าวและการวิพากษ์จากเนื้อหาตามสื่อที่อาจารย์ แจ้งไว้ (๑,๒,๓,๔) ได้อย่างต่อเนื่องข้างล่างนี้

ต้องขอขอบคุณอาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่ช่วยแนะนำ ทำให้ผมเข้าไปอ่านและคัดลอกมาเผยแพร่เพื่อให้ท่านอ่านได้อย่างต่อเนื่อง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

23 มีนาคม 2556

 

 

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร

พิมพ์ PDF

พัฒนาการของนักศึกษาและบรรยากาศในชั้นเรียน

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๒ และ ๑๓ มาจากบทที่ 6  Why Do Student Development and Course Climate Matter for Student Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นการมอง “การเรียนรู้” ของ นศ. จากมุมที่กว้างกว่า “การเรียนวิชา”  เชื่อมโยงไปสู่ “การเรียนรู้ชีวิต” สู่วุฒิภาวะในทุกๆ ด้าน  และมองว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ. กับ นศ.  และระหว่าง นศ. กับครู มีผลต่อการเรียนรู้มาก

ตอนที่ ๑๒ ว่าด้วยทฤษฎี  ตอนที่ ๑๓ ว่าด้วยภาคปฏิบัติ หรือยุทธศาสตร์


ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

ทำให้รู้สึกปลอดภัยในสถานการณ์ไม่แน่นอน

ครูต้องหาทางทำให้บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นบรรยากาศที่เปิดกว้าง  ไม่เน้นถูก-ผิด  และให้คุณค่าความคิดเห็นที่อาจไม่สมเหตุสมผล  เพื่อใช้เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้

ครูพึงย้ำว่าความเป็นจริงต่างๆ ในโลก ไม่แยกแยะเป็นขาว-ดำ  และหลายกรณีมีความไม่ชัดเจน  การเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ใช่ความพยายามเข้าไปหาจุดเดียว หรือความจริงแท้หนึ่งเดียว  แต่เป็นการทำความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย  และแตกต่างกันตามมุมมอง

ในห้องเรียน ครูพึงให้ความสำคัญและชวนกันทำความเข้าใจทุกมุมมองที่ นศ. เสนอ  แม้มุมมองนั้นจะไม่ถูกต้อง  ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อการเรียนให้รู้จริง


พยายามไม่ให้มีคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว

ครูพึงทำความเข้าใจกับ นศ. ว่า ความรู้ในตำราเป็นความรู้ที่แบนราบและเป็นเส้นตรง  ความรู้ที่แท้จริงมีมิติความลึก และมีมิติที่สี่ที่ห้า คือกาละเทศะด้วย  ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงจะมีได้ ณ จุดนั้นและเวลานั้น เท่านั้น  คำถามใดคำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง จึงไม่มีคำตอบเดียว

ครูพึงฝึกให้ นศ. ฝึกให้คำตอบให้มากและหลากหลายที่สุดต่อคำถามหนึ่งๆ  รวมทั้งส่งเสริมให้มีคำตอบที่คัดค้านทฤษฎีที่เชื่อถือกันด้วย

ครูควรให้ นศ. ทำแบบฝึกหัดที่มีหลายคำตอบ


ให้มีข้อมูลหลักฐานอยู่ในเกณฑ์ประเมิน

ต้องฝึกให้ นศ. ใช้ข้อมูลหลักฐานอ้างอิงในการเสนอความเห็นหรือโต้แย้ง  วิธีหนึ่งคือใช้ rubrics หรือเครื่องมืออื่น เพื่อค่อยๆ ดึงหลักฐานออกมา  อาจให้ นศ. ตรวจผลงานซึ่งกันและกันโดยใช้ rubrics  และวงข้อมูลหลักฐานของแต่ละส่วนให้เห็นชัดเจน


ตรวจสอบสมมติฐานของตัวครูเอง ต่อ นศ.

สมมติฐานของครู ต่อ นศ. ทั้งชั้น และต่อ นศ. เป็นรายคน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของครู โดยครูไม่รู้ตัว  และพฤติกรรมนี้มีผลต่อการเรียนรู้ของ นศ.  ครูจึงพึงตรวจสอบสมมติฐานของตนให้อยู่บนฐานความเป็นจริง

วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ จัดกระบวนการทำความรู้จักกันในวันแรกของเทอม  ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องพื้นความรู้  เทคนิคทำความรู้จัก นศ. นี้มีมากมายให้ค้นคว้าได้


ระมัดระวังคำพูดที่ระบุว่า นศ. มีความสามารถต่ำ

ครูมีหน้าที่ให้กำลังใจ ให้ นศ. มีความมานะพยายาม  โดยช่วยชี้ช่องทางและวิธีการเรียนที่เหมาะสมให้  ครูไม่ควรใช้ถ้อยคำที่พาดพิงถึงเรื่องที่ไม่มีใครแก้ไขได้  เช่นไม่ควรพูดว่า “ครูยินดีช่วยเสมอ เพราะครูรู้ว่าผู้หญิงมักไม่เก่งคณิตศาสตร์”  การเป็นผู้หญิงไม่มีทางแก้ไขได้ ครูจึงไม่ควรพูด  แต่ควรพูดว่า “หากเธอพยายาม ขยันทำแบบฝึกหัดอีกสักวันละครึ่งชั่วโมง  ครูคิดว่าเธอจะเรียนวิชานี้ได้สำเร็จ”  ความขยันเป็นสิ่งที่แก้ไขได้

เรื่องคำพูดของครู ที่ควรพูด และไม่ควรพูด นี้ ครูทุกคนควรเอาใจใส่ศึกษา


อย่าบอกให้ นศ. คนใดคนหนึ่งพูดแทนกลุ่ม

ในหนังสือระบุถึง นศ. ที่เป็นชนกลุ่มน้อย  ว่าหากให้พูดแทนกลุ่ม อารมณ์ บ่ จอย ของเขาอาจทำให้เขาพูดได้ไม่ดี หรือระเบิดอารมณ์  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเสีย

แต่ผมคิดต่าง  ผมคิดว่าในหลายกรณี ความเห็นของ นศ. ในห้องอาจมีความแตกต่างหลากหลาย  ไม่ได้เป็นเอกภาพ  ซึ่งในด้านเป้าหมายของการเรียน เราต้องการมีหลากหลายความเห็นอยู่แล้ว  การให้พูดแทนกลุ่มโดยไม่ได้แยกกลุ่ม ไม่ได้ปรึกษาหารือหาข้อยุติในกลุ่ม  เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ


ลดการปกปิดตัวตน

บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดีคือบรรยากาศเปิดกว้าง  และมีการยอมรับนับถือตัวตนของ นศ. แต่ละคน  การที่ครูทำความรู้จักและเรียกชื่อศิษย์เป็นรายคน  การที่มีกระบวนการช่วยให้ นศ. รู้จักคุ้นเคยกัน  จะช่วยให้มีบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน


ใช้ท่าที ภาษา พฤติกรรม ที่สะท้อนการเปิดกว้าง ยอมรับชนทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียมกัน

ครูต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ นศ. ทุกคนในชั้นเรียนรู้สึกว่าตนเป็นสมาชิกของห้องเรียนที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนอื่น  ครูพึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำที่สะท้อนจิตใต้สำนึกว่าคนบางกลุ่มเหนือคนอีกบางกลุ่ม  เช่นใช้สรรพนามเพศชาย ส่อว่าให้ความสำคัญผู้ชายเหนือผู้หญิง  หรือเมื่อมีการใช้คำ American idiom ครูก็ช่วยอธิบายให้ นศ. ต่างชาติทราบว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไร  เพื่อช่วยให้ นศ. ผู้นั้นได้เข้าใจร่วมไปกับชั้น


ใช้ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย

ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย ช่วยให้ นศ. เห็นว่า ทฤษฎีนั้นใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  เช่น  ตัวอย่างที่ใช้ในคนเพศใดก็ได้  ที่ใช้ในผู้หญิง  ที่ใช้ในคนต่างเศรษฐฐานะ  จะช่วยให้ นศ. ติดตามได้  และเห็นคุณค่าของความรู้นั้นในสถานการณ์จริง

 

กำหนดและบังคับใช้กติกาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี

กติกาของปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนต้องมีการกำหนดเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี  มีท่าทีเปิดกว้าง (inclusive)  นศ. ทุกคนได้รับการพัฒนา   วิธีที่ดีคือให้ นศ. ระดมความคิดช่วยกันกำหนด  เพื่อป้องกันพฤติกรรมของบางคนที่มีอคติต่อคนบางกลุ่ม


ระมัดระวังว่าสาระในวิชาไม่ทำให้ นศ. บางกลุ่มถูกผลักออกไปชายขอบ

ครูต้องระมัดระวังตรวจสอบสาระของวิชา ว่ามีการละเว้นสาระบางส่วนไปหรือไม่  การละเว้นนั้น มีผลเท่ากับไม่ให้ความสำคัญแก่คนบางกลุ่ม  ทำให้ นศ. บางคนรู้สึกเหมือนถูกผลักออกไปนอกวง (marginalized) และมีผลปิดกั้นการสร้างอัตตลักษณ์ของ นศ. คน/กลุ่ม นั้น หรือไม่


สร้างบรรยากาศที่ดีของรายวิชาในวันแรก

ครูพึงใช้วันแรกสร้างความประทับใจ และวางแนวทางของบรรยากาศในชั้นเรียน  แสดงดุลยภาพระหว่างสมรรถนะและอำนาจ กับความเป็นคนที่เข้าถึงง่าย  หาวิธีทำให้ นศ. รู้จักกัน และรู้สึกสบายใจกับครูและรายวิชา  รวมทั้งสามารถเรียนเนื้อหารายวิชาได้อย่างมีความหมาย


จัดให้มีการสะท้อนกลับ เรื่องบรรยากาศการเรียน

ครูต้องหาวิธีได้รับการสะท้อนกลับ (feedback) บรรยากาศในชั้นเรียน ว่าทุกคนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ ให้คุณค่า และรับฟัง อย่างเท่าเทียมกัน  โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีต่อไปนี้ (๑) ถามจาก ตัวแทน นศ. ที่มาพบครูเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ  โดยครูถามประเด็นจำเพาะที่เป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับชั้นเรียนนั้น  (๒) จัดให้ นศ. กรอกแบบสอบถามเรื่องประเด็นอ่อนไหว ในช่วงต้นเทอม  (๓) บันทึกวิดีทัศน์ของชั้นเรียน นำมาพิจารณา  (๔) หาคนมานั่งสังเกตการณ์ชั้นเรียนและให้ความเห็นป้อนกลับ  คนผู้นั้นอาจเป็นเพื่อนครู  นศ. ช่วยสอน  หรือที่ปรึกษาจากศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน

ประเด็นรายละเอียดที่น่าจะตรวจสอบเช่น ครูถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับ นศ. กลุ่มไหนมากเป็นพิเศษ  นศ. กลุ่มไหนไม่ได้รับปฏิสัมพันธ์จากครูเลย  ปฏิสัมพันธ์แบบที่พึงเอาใจใส่คือ ถามคำถาม  ขัดจังหวะ  ถามคำถามที่ง่าย  แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษ  เป็นต้น


ระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลม

ครูต้องระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลมต่อความรู้สึกของ นศ. บางคนหรือบางกลุ่ม  และเมื่อเหตุการณ์ในชั้นเรียนเริ่มส่อไปในทางที่จะเกิดบรรยากาศการเรียนที่ไม่พึงประสงค์  ครูต้องรีบตัดไฟแต่หัวลม  ครูต้องศึกษาและปรึกษาเรื่องนี้เอาไว้เตรียมตัวป้องกันบรรยากาศที่ทำลายการเรียนรู้เรื่องที่สำคัญ จำเป็น แต่เป็นเรื่องอ่อนไหว


ตรวจหาความตึงเครียดให้พบแต่เนิ่นๆ

เมื่อครูจ้องสังเกตระมัดระวังอยู่แล้ว  ครูก็จะเห็นการเริ่มก่อหวอดของบรรยากาศที่ไม่ดี  เช่น มีการบอกให้เพื่อนหยุดพูด  มี นศ. บางคนเลี่ยงออกไปจากห้องหรือจากกลุ่ม  เกิดมีการโต้เถียงกันโดยตรง  ครูต้องรีบหาวิธีระงับเหตุก่อนจะลุกลามใหญ่โต  วิธีการมีได้หลากหลาย เช่นกล่าวคำขอโทษด้วยตนเอง หรือแทน นศ. บางคน “ครูขอโทษ ที่ครูจัดบทเรียนนี้  และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีของ นศ. จำนวนหนึ่ง”  และชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องการตีความหมายแตกต่างกัน

หลังเวลาเรียน ครูควรเชิญ นศ. ที่มีความรู้สึกไม่ดี หรือ นศ. ที่เป็นตัวจุดชนวน มาคุย  ทำความเข้าใจประเด็นความล่อแหลม และวิธีพูดที่ไม่ระคายความรู้สึกของคนที่ความอดทนในเรื่องนั้นต่ำ

เหตุการณ์ยุ่งยาก  เป็นสถานการณ์จริงสำหรับการเรียนรู้


เปลี่ยนความตึงเครียด และไม่เห็นพ้อง เป็นโอกาสเรียนรู้

นศ. ควรได้เรียนรู้ว่า การโต้เถียง  ความขัดแย้ง  ความไม่ลงรอยกัน  และการตีความต่างกัน เป็นโอกาสขยายมุมมอง ทำความเข้าใจเรื่องนั้นในมิติที่ลึกขึ้น  ทำความเข้าใจมุมมองตรงกันข้าม  ฯลฯ  คือเป็นโอกาสเรียนรู้ให้รู้จริงนั่นเอง  จึงไม่ควรมองสภาพข้างต้นเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์  และไม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด

แต่ด้วยความอ่อนเยาว์ของ นศ.  ที่พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ยังไปไม่บรรลุวุฒิภาวะสูงสุด  จึงมีโอกาสที่ นศ. บางคนจะควบคุมตัวเองไม่อยู่และลุแก่โทสะ ทำให้ “บ่อนแตก”  ทำลายบรรยากาศการเรียนรู้

ครูต้องฝึกกำกับควบคุมบรรยากาศที่ล่อแหลมเหล่านี้  ให้อยู่ในสภาพที่ “พอทน” สำหรับ นศ.  ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน  ให้เป็นบรรยากาศของ “ความตึงเครียดที่สร้างสรรค์” (constructive tension)   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญมาก


ส่งเสริมให้มีการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)

ความตึงเครียดส่วนใหญ่เกิดจาก นศ. ไม่ได้ฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ  ไม่ได้ฟังสิ่งที่เพื่อนพูดอย่างแท้จริง  พอมีบางคำที่ตนรู้สึกแสลงหู หรือแทงใจดำ อารมณ์วู่วามก็พลุ่งออกมา  ดังนั้นทักษะการฟังที่เรียกว่า active listening จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

นศ. จึงควรได้มีโอกาสฝึกทักษะการฟัง  วิธีหนึ่งคือ paraphrasing หรือการทวนคำพูดของเพื่อน ในสำนวนใหม่ของตนเอง  ครูเองอาจแสดงตัวอย่าง โดยทวนคำพูดของ นศ.  และถามผู้พูดว่า ตรงกับความหมายที่ นศ. ตั้งใจหรือไม่


สรุป

ระดับพัฒนาการของ นศ. มีผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้รู้จริง  และการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ต้องเอาใจใส่ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. ไปพร้อมๆ กันด้วย  นั่นคือ ระดับพัฒนาการของ นศ. เป็นทั้ง means และ end ของกระบวนการเรียนรู้

บรรยากาศของการเรียนรู้ ต้องไม่ใช่เอาใจใส่เฉพาะบรรยากาศทางปัญญา หรือการเรียนรู้วิชาเท่านั้น   แต่ต้องเอาใจใส่บรรยากาศทางสังคม และทางอารมณ์ด้วย  บรรยากาศทั้ง ๓ ด้านนี้ มีผลต่อการเติบโตหรือพัฒนาการรอบด้าน

บรรยากาศ และระดับพัฒนาการของ นศ. มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างซับซ้อน  ท้าทายครูเพื่อศิษย์ ในการจัดการสิ่งเหล่านั้น เพื่อเอื้ออำนวย ให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง”

ผมขอเพิ่มเติมว่า บรรยากาศการเรียนรู้ของ นศ. มหาวิทยาลัย ต้องคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกายของ นศ. ด้วย  สภาพแวดล้อมควรเอื้อให้ นศ. ได้สร้างสุขนิสัย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ติดตัวไปตลอดชีวิต  การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยให้สมองแจ่มใส ลดความเครียด ช่วยการเรียนรู้

 

วิจารณ์ พานิช

๓ม.ค. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/530986

 


หน้า 501 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559129

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า