Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน วันที่ 20 มีนาคม 2567

พิมพ์ PDF

 

บทเรียนจากปี 2540

พิมพ์ PDF

(April 5) "บทเรียนจากปี 40" ช่วงนี้ เมื่อเห็นความคึกคักในส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ตลาดอสังหาฯ การใช้จ่ายของประชาชน ทำให้อดนึกย้อนกลับไปถึงช่วงก่อนเกิดวิกฤติปี 40 ไม่ได้ เพราะสิ่งที่เคยเป็นตัวเรา ที่ได้ห่างหายไปเกือบ 16 ปี กำลังหวนกลับคืนมาอีกรอบ
คนไทยกำลังมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ 

๐ นักลงทุน ลงทุนกันอย่างสนุกสนาน คึกคัก ประเภทหยุดไม่อยู่ ห้ามไม่ฟัง (แม้ตลาดหุ้นจะมี correction แล้ว 2 ครั้งก็ตาม) ยังกล้าลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่ไม่ได้แม้แต่จะรู้ว่า บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร แพงแล้วแค่ไหน เพียงเพราะเชื่อกันว่า ช่วงนี้ “หุ้นตัวนี้กำลังมา” “เจ้ากำลังเข้า” “ลงแล้วได้เงินแน่” ประเภทจิ้มตัวไหนก็ขึ้น กระทั่งคนที่ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน ก็ดาหน้ากันเข้ามาขอเปิดบัญชี ขอลิ้มรสความรวยอย่างสบายๆ กับเขาสักครั้ง 

๐ ภาคอสังหาริมทรัพย์ แย่งเปิดโครงการกันไม่เว้นแต่ละวัน จบโครงการหนึ่งก็ไปเริ่มอีกสองโครงการ ทุกอย่างเป็นเงินไปหมด แข่งกันสร้าง แย่งกันซื้อที่ดิน เพราะคิดว่า เดี๋ยวราคาที่ดินก็พุ่งขึ้นไปอีก จนราคาที่ดินในบางจังหวัด เพิ่มมากกว่า 80-90% ในปีที่ผ่านมา ส่วนคอนโด ก็แย่งกันซื้อมาเก็บ บางครอบครัวก็มีกันแล้วหลายห้อง เพราะคิดว่า เดี๋ยวจะไปขายต่อ และราคาคอนโดจะขึ้นไปได้อีก และก็คุ้นๆ เช่นกัน ที่เมื่อมีคนพูดขึ้นว่า “กำลังมีฟองสบู่หรือเปล่า” ก็ปฏิเสธกันเป็นพัลวัน หาเหตุผลมาแย้งว่า ทุกอย่างกำลังไปได้ดี มีความต้องการซื้อจริงๆ 

๐ ผู้บริโภค กล้าจับจ่ายใช้สอย จะไม่ให้กล้าจับจ่ายใช้สอยได้อย่างไร ก็ได้เงินมากันง่ายๆ เช่นนี้ จิ้มหุ้นไปตัวสองตัว ได้เงินเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้าน พอได้เงินมา ก็นำไปบริโภคสิ่งต่างๆ กระเป๋าใบใหม่ เสื้อผ้าใหม่ รถคันใหม่ แบรนด์เนมต่างๆ ทานอาหารหรูๆ ใช้จ่ายเหมือนเงินไม่มีหมด 

๐ บริษัท มั่นใจขึ้นเรื่อยๆ กล้าที่จะลงทุนกันมากขึ้น คิดการใหญ่กันมากขึ้น แม้ช่วงนี้ยังลงทุนอยู่ในกรอบที่ตนสันทัด แต่ในช่วงต่อไป เมื่อทุกอย่างเฟื่องฟูกว่านี้ ก็คงอดไม่ได้ ที่จะขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่โอกาสเปิดขึ้น 

๐ กระทั่งธนาคารเอง แย่งกันปล่อยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล รถยนต์ บ้าน สินเชื่อธุรกิจ ใหญ่ กลาง เล็ก เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจขาขึ้น 

ทุกอย่างเหล่านี้ เราได้ผ่านมาเมื่อ 16-17 ปีที่แล้วทั้งนั้น โดยในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ หลายคนก็เคยรู้สึกกันอย่างนี้มาแล้วทีหนึ่ง ที่คิดว่า “เราทำได้” “ทุกอย่างเป็นไปได้” “อีกไม่นานเราก็จะเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย” แข่งขันกันโต แข่งขันกันวิ่งไปข้างหน้า แข่งขันกันทำธุรกิจ อย่างไม่เกรงกลัวอะไร 

ในประเด็นนี้ ถ้ากันพูดตามจริง การที่เรามีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราเสียความมั่นใจกันไปมากในปี 40 ทำให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเดินต่อไปได้อย่างช้าๆ ในช่วงที่ผ่านมา จนคู่แข่งของเรา อย่างมาเลเซีย จีน แซงหน้าเราไปได้ แต่ถ้าเราจะกล้ากันมากขึ้น เราต้องหา “สมดุลที่เหมาะสม” ไม่เชื่อมั่นกันจนมากเกินไป กล้าเกินไป จนเกิดความเสียหายอีกครั้ง 

สำหรับอีกหลายคน สัญญาณความคึกคักเหล่านี้เป็นระฆังเตือนภัยว่า “กระบวนการสะสมความเปราะบางของเศรษฐกิจกำลังเริ่มขึ้นอีกรอบ” และถ้าเราไม่ระวังให้ดี ก็อาจจะจบลงเช่นกับครั้งที่แล้ว ที่ต้องมานั่งล้างเช็ดแผลของเรา เสียเวลาไปกว่า 10-15 ปีกว่าที่จะกลับมาจุดเดิมได้
บทเรียนจากปี 40 คืออะไร

นักเศรษฐศาสตร์ชอบพูดว่า “วิกฤติทุกครั้งจะไม่เหมือนกัน” และประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงตนเอง ในกรอบนโยบายต่างๆ ไปมาก เกินกว่าที่จะกลับย้อนไปเกิดวิกฤติเหมือนปี 40 อีกครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิกฤติทุกครั้งในประเทศต่างๆ เริ่มเหมือนๆ กัน จากความประมาท ความเชื่อมั่นเกินไปว่า เราทำได้ เราดูแลสถานการณ์ดีแล้ว ปล่อยปละให้ปัญหาและความเปราะบางต่างๆ สะสมตัวขึ้นมาได้ และมั่นใจจนลืมไปว่า ทุกประเทศสามารถเกิดวิกฤติได้ ไม่ว่าจะพัฒนาไปแล้วแค่ไหนก็ตาม กระทั่งสหรัฐ ยุโรปที่ว่าพัฒนาไปไกลเกินกว่าคนอื่นๆ ก็ยังตกอยู่ในภาวะวิกฤติได้เช่นกัน 

ปี 40 ให้บทเรียนหลายอย่างกับเรา ที่เราจะใช้เป็นคาถาคุ้มครองตนเองในช่วงต่อไป

บทเรียนที่ 1 - ต้องไม่ทำอะไรเกินตัว ต้องไม่คึกกับช่วงดีๆ ของเศรษฐกิจเกินไป ครั้งที่แล้วเราคึกคะนองจนเกินไป เพราะยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่ เพิ่งได้จัดงานเลี้ยงกับเขาเป็นครั้งแรก ก็เลยสนุกไปหน่อย แต่ครั้งนี้ เราโตขึ้นมาแล้ว เป็นหนุ่มกลางคน เคยมีบทเรียนราคาแพงจากปี 40 มาแล้ว เราก็ต้องรู้จักพยายามยับยั้งชั่งใจ ไม่ทำอะไรเกินตัวไป ซึ่งส่วนนี้ ก็ต้องหวังพึ่งทุกคน ที่จะพยายามรั้งตัวเองไว้ เลือกลงทุน เลือกบริโภค เลือกขยายกิจการแบ่งยั้งๆ เพราะถ้าเราไม่ดูแลตนเอง ก็ยากที่คนอื่นจะมาช่วยเราได้

บทเรียนที่ 2 - ทางการต้องจัดการกับปัญหาแต่เนิ่นๆ อย่ารอจนพิสูจน์ได้ว่า “เป็นฟองสบู่แล้ว” แล้วจึงมาออกมาตรการ ในเรื่องนี้ ทางการจะเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเอกชนรวมไปถึงนักลงทุน ก็พลาดได้เช่นกัน (ต้องไม่คิดว่าเอกชน ถูกเสมอ) เพราะเอกชนยากที่จะห้ามใจตนเองได้ จะห้ามได้อย่างไร ก็กำลังแข่งกันอย่างเมามันอยู่ การจะหยุดแต่เพียงคนเดียวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ก็ต้องหวังพึ่งทางการว่า จะเป็นกรรมการกลางคอยเป่านกหวีด กำหนดกฎเกณฑ์ สั่งให้ทุกคนชะลอสิ่งต่างๆ ลงมาพร้อมๆ กัน ถ้ากรรมการตั้งอยู่บนความยุติธรรม ทุกคนก็ยอมรับกันได้

ในส่วนนี้ อุปสรรคสำคัญจะมาจากเสียงค้านจากภาคเอกชน ที่มักบอกว่า “ได้ดูข้อมูลแล้ว ยังไม่พบฟองสบู่แม้แต่นิด แล้วจะออกมาตรการทำไม” แต่ถ้าเราจะรอจนพิสูจน์กันได้ชัดๆ ว่า มีฟองสบู่เรียบร้อยในระบบเศรษฐกิจแล้ว ทุกอย่างก็จะสายเกินแก้ รอแต่วันล่มสลาย บทเรียนจากวิกฤติของทุกประเทศในช่วงที่ผ่านมาก็คือ “ถ้าจะทำมาตรการ ก็ต้องทำแต่ช่วงต้น ทำแต่เนิ่นๆ” โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเห็นพฤติกรรมที่ผิดสังเกต เช่น ปกติราคาที่ดินเพิ่ม 10-15% แต่อยู่ๆ ก็เพิ่มเป็น 80-90% ปกติมีคอนโด 10 โครงการต่อปี อยู่ๆ มีเป็น 50-60 โครงการแย่งกันเปิด แย่งกันขาย เมื่อเห็นเช่นนี้ ทางการก็ต้องเร่งคิดว่า จะทำอย่างไรให้เอกชนไม่คึกคะนองเกินไป ทำให้โตได้ ขยายได้ แต่โตอย่างพอประมาณ ยั่งยืน ไม่จบด้วยโศกนาฏกรรม 

บทเรียนที่ 3 - ต้องรู้จักเก็บออมเอาไว้บางส่วน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง เพราะในโอกาสมีวิกฤติซ่อนอยู่เสมอ ยิ่งโอกาสดีเท่าไร วิกฤติที่ซ่อนอยู่ก็ร้ายแรงขึ้นเท่านั้น ยิ่งครั้งนี้ หลายๆ ประเทศในเอเชียกำลังเป็นที่สนใจของคนทั้งโลก กำลังได้รับเงินไหลเข้ามาพร้อมๆ กัน ถ้าเป็นเช่นนี้ คงจะมีสักประเทศ 2 ประเทศ ที่บริหารจัดการเงินไหลเข้าได้ไม่ดี ท้ายสุดต้องล้มลง วิกฤติในระบบเศรษฐกิจโลกรอบต่อไป ก็อาจเกิดขึ้นแถวๆ บ้านเราก็ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ถ้าเราไม่มีเงินเก็บออม ไม่มีสภาพคล่อง ทุกคนมีแต่หนี้ ทั้งหนี้ภาครัฐ และหนี้ภาคเอกชน วิกฤติก็คงมาถึงเรา ล้มลงในที่สุด แต่ถ้าเรารู้จักเก็บออมแต่ตอนนี้ แม้มีวิกฤติ เราก็จะพยุงตนให้ผ่านไปได้ 

นอกจากนี้ ท่ามกลางวิกฤติ ในความมืดมิด มักจะมีโอกาสที่ดีที่สุด เปิดขึ้นเสมอ ถ้าเรารู้จักถนอมตัวเองเอาไว้ได้ ไม่โหมทำลงไปหมดในช่วงที่เฟื่องฟู จนต้องมายุ่งกับการแก้ปัญหาที่เราผูกเอาไว้ วุ่นวายกับการเอาชีวิตรอด ด้วยเงินที่เราเก็บออมไว้ได้บางส่วน เราอาจจะสามารถฉกฉวยโอกาสที่เปิดในช่วงที่เกิดวิกฤติ เดินก้าวหน้าต่อไปขณะที่ทุกคนถอยหลัง เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย

พระท่านกล่าวไว้อย่างไพเราะว่า “ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า” ก็ต้องขอให้เราทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยิ่งระฆังเตือนภัยเริ่มดังขึ้นเช่นนี้ ก็ขอให้หมั่นทบทวนบทเรียนจากปี 40 ทั้ง 3 ข้ออยู่อย่างสม่ำเสมอ “ไม่ทำอะไรเกินตัว” “รู้จักจัดการปัญหาแต่เริ่มเห็น” “เร่งเก็บออม สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งหากเราทำได้ตามนี้ ก็จะน่าสามารถรักษาตัวให้ผ่านวิกฤติที่กำลังรออยู่ได้ และน่าจะสามารถเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสกับประเทศไทยอย่างแท้จริง ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล 
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "อนาคตเศรษฐกิจไทย" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ 
หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “Blog ดร. กอบ” ที่ www.kobsak.com ครับ


ขอบคุณครับ ดร.กอบศักดิ์ ที่ออกมาเตือน ผมเป็นห่วงจริงๆครับ คนไทยชอบเสี่ยงตามกระแส และคิดในระยะสั้นๆ ไม่ค่อยคิดถึงความยั่งยืน ผมคิดว่าคนไทยเป็นคนที่ชอบเล่นการพนันที่สุด ตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย แถมไม่เสียภาษีด้วย ลงท้ายใครรวย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


1Like ·  · 

 

บทความของ อาจารย์ รุจิระ บุนนาค เกี่ยวกับความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

พิมพ์ PDF

Tuesday August 16, 2011 09:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--พีอาร์ โฟกัส เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย


ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน


นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ล. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

 


 

บริหารเวลาอย่างไร

พิมพ์ PDF

บริหารเวลาอย่างไร

 

 

คุณเชื่อหรือไม่ค่ะว่า คนเก่งจะต้องเป็นคนที่ทำงานหลายอย่างได้ หรือเป็นคนที่มีทักษะหลากหลาย รอบด้าน ที่เรียกว่า Multi Skills อลิสเชื่อค่ะว่าการเป็นคนเก่งนั้นจะต้องไม่ยึดติดกับการทำงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คนเก่งต้องสามารถรับผิดชอบงานได้หลากหลายประเภท รวมถึงการเป็นผู้รู้จักสร้างสมดุลของชีวิตให้กับตนเองได้อีกด้วย

                อลิสขอเม้าท์เรื่องของเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ยอมรับว่าเขาเป็นคนเก่งทีเดียว เนื่องจากเพื่อนคนนี้นอกจากจะทำงานประจำแล้ว เขายังเป็นนักแต่ง / แปลหนังสือ เขียนเรื่องสั้น เป็นนักพูด รวมถึงการแบ่งเวลาสำหรับการศึกษาต่ออีกด้วย และเท่าที่ทราบข้อมูลจากเพื่อนคนนี้ว่า เขาเพิ่งได้โปรโมตให้เป็นผู้จัดการ เหตุเพราะผลงานของเขาเป็นที่โดนใจของหัวหน้างาน แน่นอนว่า ผู้ที่จะทำงานได้หลากหลายอย่างเช่นเพื่อนคนนี้ได้ ทักษะหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือ การบริหารเวลา

                พบว่าผู้ที่รู้จักบริหารเวลาให้ดีจะเป็นผู้ที่สามารถบริหารจัดการกับภาระงานที่แตกต่างกันได้ รวมถึงเป็นผู้ที่มีสมดุลของชีวิต สามารถจัดสรรเวลาให้กับครอบครัว เพื่อน และตัวเอง ทั้งนี้การบริหารเวลาให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นมีเทคนิคหรือหลักปฏิบัติง่ายมากค่ะ ดังต่อไปนี้

กำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน

                คุณต้องวิเคราะห์ว่างานแต่ละอย่างที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นจะต้องใช้เวลานานเท่าไร เพื่อจะได้กำหนดระยะเวลาในการทำงานว่าควรจะเริ่มต้นทำและต้องทำให้เสร็จโดยใช้ระยะเวลาเท่าใด เช่น จัดพิมพ์รานงานยอดขายประจำเดือนสรุปให้ผู้บริหาร จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่ 09:30-10:30 น . ทั้งนี้การกำหนดช่วงเวลาทำงานของตัวคุณเองนั้นขอให้วิเคราะห์ถึงความสามารถและศักยภาพของตนเองก่อน ไม่ควรกำหนดให้ช้าจนเกินไป เพราะนั่นหมายความว่าจะทำให้คุณมีเวลาที่จะบริหารจัดการกับงานอื่น ๆ ช้าตามไปด้วย

จงคิดเสมอว่า ต้องทำงานอย่างหนึ่งให้เสร็จ ก่อน

                ขณะที่เรากำลังทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ต้องมุ่งมั่น แน่วแน่ และคิดเสมอว่าต้องทำให้เสร็จ ต้องทำให้เสร็จ ใจอย่าเพิ่งฟุ้งซ่านหรือคิดถึงงานอื่น ๆ ที่ใจอยากจะทำ พูดง่ายๆ คือต้อง มีสมาธิในการทำงาน นั้น ๆ พบว่ามีหลายคนที่กำลังทำงานอย่างหนึ่งอยู่ แต่ใจคิดไปถึงเรื่องต่าง ๆ นา ๆ คนเหล่านี้จะไม่สามารถบริหารจัดการงานได้ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้การมีสมาธิในการทำงานจะทำให้คุณรู้ตัวอยู่เสมอว่าคุณกำลังทำงานนั้น ๆ อยู่ เมื่อจิตสงบจะทำให้สมองคุณปลอดโปร่ง แจ่มใส อันเป็นที่มาของปัญญา รู้ว่างานแต่ละอย่างคุณควรจัดการด้วยวิธีการอย่างไรเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด

เร่งรีบทำงานให้ดีและเร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้

                คุณไม่จำเป็นจะต้องทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดขึ้น ในช่วงเวลาทำงานพยายามคิดเสมอว่าถ้างาน เสร็จเร็วได้ยิ่งดี การทำงานให้เสร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนดนั้น ผลงานต้องออกมาดีด้วย ซึ่งคุณเองควรจะต้องไตร่ตรองและตรวจสอบผลงานชิ้นนั้น ๆ ก่อนนำส่งมอบให้หัวหน้างานหรือให้ลูกค้า เพราะการทำงานได้เร็วจะทำให้คุณมีโอกาสพูดคุยกับหัวหน้างานเพื่อการปรับแก้ไขหรือการรับฟังไอเดียเพิ่มเติมจากหัวหน้างานหรือลูกค้าของตนต้องอย่าลืมว่า งานบางอย่างหัวหน้างานอาจต้องการปรับและเพิ่มไอเดียของตน มิใช่ทำเพียงครั้งเดียวจบ คุณจะได้มีเวลาแก้ไขและปรับเปลี่ยนได้ทัน

มอบหมายงานให้เป็น อย่าทำงานทุกอย่างด้วยตนเอง

                คนเก่งที่สามารถทำงานได้หลากหลายนั้นไม่จำเป็นจะต้องทำงานทุกอย่างเองทั้งหมด งานบางอย่างสามารถกระจายหรือไว้ใจให้ผู้อื่นเป็นผู้ปฏิบัติแทนคุณ เพียงแต่คุณเป็นผู้วางแผน เป็นนักคิดก็พอแล้ว นั่นหมายความว่าคุณต้องเป็นผู้สอนงานให้เป็น สอนให้ผู้อื่นทำงานแทนคุณ เมื่อคุณมีแขนซ้ายแขนขวาที่เก่ง คุณเองก็จะมีเวลาในการทำงานอื่น ๆ ได้หลากหลายในเชิงของกลยุทธ์ การคิดวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงระบบงานของตนเองและของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น

                อลิสเชื่อว่าหากคุณปฏิบัติตนตามเทคนิคที่กล่าวถึงนี้ คุณจะเป็นผู้หนึ่งที่เป็นคนเก่ง ที่สามารถบริหารและจัดการเวลาให้กับการทำงาน ลูกน้อง ครอบครัว คนที่คุณรัก และตัวคุณเองได้เป็นอย่างดี

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:45 น.
 


หน้า 5 จาก 556
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8556703

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า