Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ประชาธิปไตยสายตรง (๒) ประชาธิปไตยชุมชน

พิมพ์ PDF

#ประชาธิปไตยสายตรง (๒)

#ประชาธิปไตยชุมชน

เป็นเรื่องดีที่ภาคการเมืองเสนอเรื่อง “ประชาธิปไตยที่หมู่บ้าน” เพื่อเป็นรากฐานประชาธิปไตยทีมั่นคง ป้องกันวงจรอุบาทว์ของการทำ “รัฐประหาร” (ของทหาร และการ “การผูกขาดอำนาจ” ของรัฐบาลพลเรือน – ผู้เขียนเติมเอง) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อบ่ายวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561

เป็นเรื่องดีถ้าเป็น “วาทกรรม” (discourse) ที่จุดประกายการถกเถียง เป็นวิภาษวิธีที่นำไปสู่ข้อสรุปใหม่และเกิดปัญญา แต่ถ้าพูดเพียงให้ดูดี ไม่มีความตั้งใจให้เกิดขึ้นจริง ก็อาจเป็นเพียงวาทศิลป์ (rhetoric) การตีฝีปากที่บิดเบือนเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้า เพราะท่านมหาตมะ คานธี บิดาแห่งชาติของอินเดีย เคยพูดไว้นานแล้วว่า “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ท่านให้ความหมายที่เป็นองค์รวม ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย นักการเมืองอินเดียบอกว่าเห็นด้วยกับท่าน แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ทำอะไรจริงจัง ทำอะไรที่ได้คะแนนเท่านั้น ท่านจึงเล่าเรื่องจากมหาภารตะ ตอนที่อรชุนจะออกรบแล้วลังเล พระนารายณ์ในร่างพระกฤษณะสารถีรถม้าของอรชุน กล่าวกับอรชุนเป็นเวลายาวนาน เนื้อหานั้นก็คือ ภวควคีตา หนึ่งในคัมภีร์อันสูงสุดของฮินดู อรชุนจึงได้ออกรบ มหาตมะคานธีสอนนักการเมืองอินเดียว่า อย่าได้คิดเพียงว่าทำอะไรแล้วจะชนะหรือไม่ ได้ประโยชน์ได้กำไรหรือไม่ จึงค่อยลงมือทำ แต่ให้ทำเพราะเป็นหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 ก็ทรงสอนเรื่องคล้ายกันใน “พระมหาชนก” เมื่อเรือสำเภาที่จะไปสุวรรณภูมิแตก คน 700 คนได้แต่อ้อนวอนเทวดา ตายหมด ขณะที่พระมหาชนกเตรียมตัวแล้วลงมือว่ายในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ นางมณีเมขลาเทวดามาเห็นจึงถามว่า ไม่เห็นฝั่งทำไมยังว่ายอยู่ได้ บทเรียนสำคัญของพระมหาชนก คือ “ความเพียรอันบริสุทธิ์ทำให้เกิดสิ่งอัศจรรย์” เทวดาได้อุ้มพระมหาชนกขึ้นฝั่งในที่สุด

ความปรารถนาดีของฝ่ายการเมืองที่อยากเห็น “ประชาธิปไตย” จากฐานราก คือ จากหมู่บ้าน ชุมชน ไม่ว่าชนบทหรือเมือง เป็นหลักคิดที่ทุกคนเห็นด้วยกันทั้งนั้น อยู่ที่วิธีการจะทำอย่างไรให้เกิดได้จริง ที่ผ่านมา นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รัฐบาล คนมีอำนาจ มักคิดแทนชาวบ้าน แบบปรารถนาดีประสงค์ร้าย เพราะไม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่าชาวบ้านมีปัญหาอะไร มีศักยภาพอะไร ต้องการอะไร มักจะอ้างว่าได้ไปคลุกคลีเข้าถึงประชาชน แต่ผลที่ออกมาทำไมไม่มีอะไรที่ไปช่วยให้ “ชาวบ้าน” หรือ “ชุมชน” เข้มแข็งจริง กลับถูกครอบงำ และทำตามที่คนมีอำนาจบอกให้ทำ สั่งให้ทำ เพราะมีทั้งพระเดชและพระคุณ ดูแต่การเสวนาที่มหิดลวันก่อนก็ไม่มี “ชาวบ้าน” จาก “หมู่บ้าน” มาร่วมนั่งให้ความคิดเห็นแม้แต่คนเดียว เต็มไปด้วยคนจาก “หมู่บ้านจัดสรร” ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อ้างว่าพูด “แทนชาวบ้าน”

การทำความเข้าใจกับ “ประชาธิปไตยชุมชน” ไม่ควรเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ “ทฤษฎี” หรือหลักปรัชญาด้วยวิธีการ “นิรนัย” (deductive) แต่ควรเรี่มต้นจาก “ชุมชน” ด้วยวิธีการ “อุปนัย” ( inductive) แนวคิดก็คงมีอย่างเดียวอันเป็นหลักสากล คือ ประชาธิปไตยหมายถึงประชาชนปกครองตนเอง จากนั้นควรไปค้นหาข้อมูลตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่า ชาวบ้านในอดีตปกครองตนเองอย่างไร ก็จะพบหลักว่าด้วย “อนาธิปัตย์” (anarchism) หรือการปฏิเสธอำนาจรัฐ การหนีอำนาจรัฐ มาจนถึงการลอดรัฐและข้ามรัฐ

ชาวคีรีวงที่มูลนิธิหมู่บ้านได้ไปร่วมกับชาวบ้านวิจัยตนเองเมื่อปี 2531 ค้นหารากเหง้าและวิวัฒนาการของชุมชนพบว่า พวกเขาเป็นไพร่หนีนายเข้าไปอยู่ในหุบเขาหลวง ไม่ไปรบที่ไทรบุรีตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ และเพิ่งออกมาสู่โลกภายนอกเมื่อปี 2505 เมื่อเกิดวาตภัยแหลมตะลุมพุก

คีรีวงเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และรอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติและการครอบงำของอำนาจทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองได้ดีกว่าชุมชนอื่นๆ มาจนถึงทุกวันนี้

 

เจมส์ ซี สก็อต ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ชื่อว่า ศิลปะการไม่ถูกปกครอง (The Art of Non-being Governed) พูดถึง “ชาวเขา” กว่า 100 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า ทางใต้ของจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียว่า เป็น “คนไร้รัฐ” (non-state people) ที่อาศํยอยู่ใน “เขตเงา” (shadow zone) ด้วยความสมัครใจเพื่อหนีการปกครองและครอบงำของรัฐ

นักการเมืองที่อยากส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับฐานราก ควรศึกษาจิตวิญญาณของการต่อสู้ของชุมชนในอดีต ศึกษาภูมิปัญญาและศักยภาพของชุมชนในการปกครองตนเอง แล้วดูตัวอย่างของคนอย่างคุณหมอสงวน นิตยรัมพงษ์และแพทย์ชนบททั้งหลายที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านที่เจ็บป่วย จนพัฒนานโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ให้รัฐบาลนำไปใช้ รวมทั้งผลการวิจัย การทำงานกับชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งองค์กรรัฐอย่างสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ ที่ส่งเสริมเครือข่ายประชาชนและธรรมนูญสุขภาพ ธรรมนูญจังหวัด ตำบล ทั่วประเทศ เหล่านี้ล้วนเป็นความพยายามของทุกฝ่ายในการส่งเสริมการดูแลตนเอง การปกครองตนเองของชุมชน ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำเช่นนั้น เพียงแต่รัฐและผู้มีอำนาจไม่ “บอนไซ” ทำให้ชุมชนเป็นไม้ในกระถาง แต่ต้องปฏิรูป คือ ทุบกระถางให้ไม้ลงดิน เติบโตพึ่งพาตนเอง “คืนอำนาจ” ให้ชุมชน แทนที่จะไปคิดแทนชาวบ้านว่า ประชาธิปไตยในชุมชนควรมีระบบโครงสร้างอย่างไร นักการเมืองควรแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ที่สร้างความเหลื่อมล้ำ จำกัดโอกาสคนจนและชุมชนให้เติบโต ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน การเรียนรู้ในแบบที่สร้างความเข้มแข็งได้จริง

กฎหมายที่ดีและการเรียนรู้ที่มีพลังสร้างความเข้มแข็งให้ฐานราก คือ เงื่อนไขไปสู่ประชาธิปไตย ทำเช่นนี้ก่อนเถิด แล้วชุมชนจะคิดระบบโครงสร้างประชาธิปไตยในชุมชนของพวกเขาเอง

เสรี พงศ์พิศ สยามรัฐ 21 พฤศจิกายน 2561


 

บทความของ พ.อ.ชาติวัฒน์ คงอุทัยสกุล แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับ วันนี้ผมขอนำความคิดเห็น จาก พ.อ.ชาติวัฒน์ คงอุทัยสกุล ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มไลน์ iHDC กรรมการบริหาร 2564 มาเผยแพร่ให้เพื่อนๆได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครับ โปรดติดตามอ่านได้เลยครับ

10:27 CHARTIWAT ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า หากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบบ้านเมืองนี้ เป็นกิจกรรมที่อยู่บนหลักการและพื้นฐานของผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และอยู่ในหลักธรรมาภิบาล สถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันคงไม่วุ่นวายและคนส่วนใหญ่ต้องเดือดร้อนอย่างทุกวันนี้โดยเฉพาะคนรุ่นหลัง ที่เห็นความเหลื่อมล้ำอย่างสุดโต่ง แม้แต่ทายาทซีพี ยังสื่อสารออกมาถึงสังคมไทยที่ จะเกิดคฤหาสน์รอบรอบด้วยสลัมภ์ ครับ

10:29 CHARTIWAT ยุคทำลายล้างนี้น่ากลัวกว่าที่คนไทยปัจจุบันจะจินตนาการได้นะครับ เพราะคนส่วนใหญ่เอาอดีตมาปรุงแต่งกับปัจจุบัน จึงคาดเดาอนาคต ซึ่งผิด เพราะอดีตไม่มีอยู่จริงจบไปแล้ว วันนี้เราต้องมองปัจจุบันและคาดเดาอนาคตจากสถานการณ์ปัจจุบันของโลกมากกว่าเอาอดีตมายึดมั่นถือมั่น

10:38 CHARTIWAT มูลนิธินี้ตั้งมาด้วยความตั้งใจและศรัทธาต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นผมจึงขออนุญาตเรียนแสดงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า หากคนไทยยังไม่เข้าใจว่า ”ความมั่นคงส่วนตัวจะเกิดและมีได้ ต้องมาจากความมั่นคงของส่วนรวม” ขอย้ำๆๆๆๆหนักมาก โดยเฉพาะความเป็นชาติ ซึ่งในปัจจุบันอ่อนแอมากๆ เพราะอะไรหลายท่านคงทราบ และบางท่านอาจบอกว่าต้องให้พังก่อนค่อยจะมากอบกู้กัน ซึ่งผมคิดว่า หากปล่อยเป็นเช่นนั้นเราจะต้องใช้เวลากอบกู้มากว่า 200 ปี ครับ เพราะโลกปัจจุบันมันน่ากลัวกว่าที่คิดมากๆการเสียเอกราชคือการเป็นทาสที่สมบูรณ์แบบ กำลังคืบคลานเข้ามาสู่แผ่นดินนี้ในเร็ววันครับ หากคนไทยส่วนใหญ่ยัง wait and see ครับ

สรุปเราควรปลูกฝังเรื่องความมั่นคงส่วนรวมและจิตสำนึกสาธารณะของคนไทยกันอย่างไรดีครับ

วัคซินสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ไม่เท่าการคิดบวกเพราะการคิดบวกเป็นการสร้างภูมิต้านทานโดยทางธรรมชาติคิดว่าหายคิดว่าไม่ป่วยก็ทำให้หายและไม่ป่วยได้โดยไม่ต้องใช้ทำอย่างอื่นเลยนี่คือการวิจัยที่ทดลองมาแล้วจากฮาร์วาร์ด

14:37 CHARTIWAT การปกครอง ที่ดี  ต้อง บริหารสมดุล ระหว่าง การให้ความหวัง กับ สร้างความกลัว  ใน ประเทศ กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ใช้การสร้างความกลัว เป็นหลักในการปกครอง        ประเทศไทย เดิน มาไกล พอสมควร แต่ ก็ยังมี หลายด้าน ต้อง เร่ง พัฒนา บรรยากาศ การดำเนินชีวิต ของพลเมือง ที่ขัดแย้งกัน  กลัวหวาดระแวงกันและกัน กลัวการพัฒนา กลัวการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าความกลัว ความสับสน จึงเป็น บรรยากาศ ในสังคม

ประเทศ พัฒนาแล้ว จะดูได้จาก คุกไม่มีนักโทษ (ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน)

ทุกโรงเรียน ดีเหมือนกัน (การเข้าความรู้และโอกาส) ทุกโรงพยาบาล ดีเหมือนกัน(การเข้าถึงสุขภาพที่ดี)

ธุรกิจยารักษาโรคเป็นธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก แล้ววันนี้เป็นเวลาที่เค้าต้องตักตวงให้มากที่สุดโดยไม่สนใจคุณธรรมใดๆทั้งสิ้นครับ

คือเรื่องยารักษาโรคนี้ ผมอินมากกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่วันนี้ต้องเลือกว่าจะตายด้วยโรคหัวใจหรือไตวาย ครับ พอเห็นแนวทางวัคซีนเลยรู้สึกว่ามนุษย์ปัจจุบันถูกวางยาให้เป็นทาสของการต้องเสพติดยาเคมี ครับ

17:17 CHARTIWAT สิ่งที่น่ากลัวของไทย คือ ประชากรรุ่นใหม่อาจจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศมากขึ้น ไปอยู่ในประเทศที่คุณภาพชีวิตสูงและต้องการแรงงาน ประชากรเกิดใหม่ลดลงเรื่อยๆ

เรากำลังอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่จะโตช้าเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว จะเกิดสภาวะสมองไหลขั้นรุนแรง คนเก่งย้ายไปอยู่ที่อื่น ต่อให้มีมหาราชอีกกี่คนก็ทดแทนทุนมนุษย์ที่หายไปไม่ได้

17:26 CHARTIWAT วันนี้คนไทยต้องปรับตัวปรับมายด์เซ็ทอย่างมากที่เราขาดศูนย์รวมใจที่เคยมี ขาดพ่อที่คอยดูแล คอยชี้แนะและคอยแก้ไขปัญหามาตลอดเวลา 70 ปี รวมทั้งเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ยุคทำลายล้างที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถจินตนาการออกได้ มันเป็นความเสี่ยงสูงสุดต่อการล่มสลายของบ้านเมืองนี้ หากเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทยในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ครับ

17:28 Bunluasak อนาคตประเทศไทยน่าห่วงมากครับ บริการประเทศแบบข้าราชการนิยม ไปไม่ถึงไหนหรอกครับมีแต่จะถอยหลัง ไม่แปลกใจว่าถ้าใครไปต่างประเทศได้ก็คงไปครับ ผมอยู่อีกไม่นานนักพออยู่ได้ครับ

17:38 CHARTIWAT จริงๆผมมีทางออกครับแต่มิอาจพิมพ์ในกลุ่มนี้ได้

เหตุการณ์ปัจจุบันนี้ผมเคยตระหนักไว้ตั้งแต่ปี 59 แล้วครับ และมาเร็วกว่าที่คิดไว้มากๆ

 

 

สิ่งที่ พ.อ.ชาติวัฒน์  คงอุทัยสกุล เขียนมา ผมคิดว่าตรงกับความเป็นจริงครับ เราจะคิดแบบผ่านๆไปไม่ได้ เป็นหน้าที่ของพวกเราต้องช่วยกันแก้ไขครับ ดีใจที่คุณปอมาร่วมเป็นรองประธานมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ผมและ พ.อ.ชาติวัฒน์ คงอุทัยสกุล เห็นภาพเดียวกันครับ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนา ซึ่งมีผมและเพื่อนๆอีก 22 ท่าน เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เพื่อให้เป็นหนึ่งในองค์กร ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาให้กับคนไทยและสังคมไทยได้ตระหนักและร่วมมือกันเพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนให้กับลูกหลานในอนาคต  ผมยังไม่รู้เลยว่าจะอยู่ได้ทันเห็นความสำเร็จที่ตั้งใจไว้หรือไม่ พ.อ.ชาติวัฒน์ คงอุทัยสกุล อายุน้อยกว่าผมยี่สิบปี เชื่อว่าท่านจะได้เห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้เราอยากให้เป็น

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

16 เมษายน 2564

 


 

คิดนอกกรอบ 3

พิมพ์ PDF

 

ความสัมพันธ์ ไทย-จีน

พิมพ์ PDF

สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521

ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้

       หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม   ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น

ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก

ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม

        นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน 

       กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร  นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน

        นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น  คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช  เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก

         สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย  จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย  สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย

        หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน)

        หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด....

        หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน  ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก”   (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง)

          การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ  แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก  และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป

          เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521  เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย

ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้

          เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่

เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์"

           เดือนพฤศจิกายน 2521   เติ้งเสี่ยวผิง  เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที  หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522  กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย  รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ  ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม

                กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน  จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย และ เวียตนาม ถอนทัพกลับในทันที โดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน 

           ย้อนไปนานกว่านั้น  เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า  จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด

        ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า  ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น

ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า  ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะได้เลย  และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้

    ........ ตลอดระยะเวลาหนึ่งพันปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ  ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น

 

Cr.ทันตแพทย์ สม สุจีรา


 

สสส.เสวนาทัศนะ ครั้งที่ 12 : lbmTb.o=u;b9c]tijk'dkp

พิมพ์ PDF

 


หน้า 8 จาก 558
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8598638

facebook

Twitter


บทความเก่า