ผู้แพ้ ผู้ชนะ

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน 2021 เวลา 11:24 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประชาสัมพันธ์ - ประชาสัมพันธ์
พิมพ์

"ผู้แพ้ กับ ผู้ชนะ"

หลุยส์ ปลาสเตอร์ เชื่อว่าโรคมาจากเชื้อโรค แต่อังตวน บิวแซมพ์ เชื่อว่าโรคมาจากร่างกายอ่อนแอ มาดูว่าใครสุขภาพดี อายุยืนกว่ากัน

ถ้าไปถามคนฝรั่งเศสว่า เขารู้จักชื่อใครบ้าง เกือบทุกคนจะบอกว่า รู้จัก หลุยส์ ปลาสเตอร์  Louis Pasteur นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอ ทฤษฎีเชื้อโรค Germ theory ซึ่งบอกว่า “โรคต่างๆ เกิดจากเชื้อโรค เชื้อโรคแต่ละชนิดทำให้เกิดโรคแต่ละอย่าง” ในเมื่อเป็นเช่นนี้ การรักษาโรค คือ การต่อสู้กับเชื้อโรค เช่น โดยการใช้ยา หรือยาปฏิชีวนะ

เพื่อฆ่า ฆ่า ฆ่า เชื้อโรคได้ ก็หายจากโรคภัยไข้เจ็บ

หลุยส์ ปลาสเตอร์ ผู้มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วฝรั่งเศส หรืออาจจะทั่วโลกก็ว่าได้ ในบั้นปลายของชีวิต เขาป่วยด้วยภาวะโลหิตในสมองแตก เป็นอัมพาตอยู่หลายปี ก่อนจากโลกด้วยวัย 72 ปี

เขาฝากผลงาน ให้กับโลก ในด้านการฆ่าเชื้อโรค และการใช้วัคซีน ป้องกันรักษาโรค

ในขณะเดียวกัน อีกชีวิตหนึ่ง เป็นนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ใช้ชีวิตอยู่ร่วมประเทศ เจอะเจอกับ

หลุยส์ ปลาสเตอร์  แต่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันมาโดยตลอด เขาคือ อังตวน บิวแชมพ์ Antoine Beuachamp 

อังตวน บิวแชมพ์  ไม่เชื่อในทฤษฎีเชื้อโรค เขาบอกว่า สิ่งที่เรียกว่า เชื้อโรคนั้นมีอยู่ทั่วไป ทุกหนทุกแห่งในโลก รวมทั้งในร่างกายคนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ด้วย โดยมันไม่ได้ทำให้เกิดโรคเลย   แต่เมื่อใดก็ตาม ร่างกายคนอ่อนแอ กินอาหารไม่ถูกต้อง อยู่ในที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการออกกำลังกาย  เมื่อนั้นแหละจึงเกิดโรค และทำให้ต้องแก้ไขโดยการให้อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตพักผ่อนให้ถูกต้อง ส่วนการให้ยานั้นเป็นไปเพื่อการแก้ไขข้อบกพร่อง จนทำให้ร่างกายกับเชื้อโรคอยู่ด้วยกันได้เท่านั้นเอง

แนวความคิดของ

อังตวน บิวแชมพ์  เกิดเป็นทฤษฎีการรักษาโรค เรียกว่า ดูแล “สถานที่ Terrain” คืออวัยวะทุกส่วนให้ดี ด้วยอาหารการกิน  การใช้ชีวิตให้ถูกต้อง แล้วร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันดีจนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

เชื่อไหม ในขณะที่ หลุยส์ ปลาสเตอร์ มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วนั้น ไม่มีใครรู้จัก อังตวน บิวแชมพ์  ผู้ต่ำต้อยเลย 

หลุยส์ ปลาสเตอร์ ขี้ประจบเอาใจชนชั้นสูงและมหาเศรษฐี เขากระโชกโฮกฮากกับคนที่ด้อยกว่าอย่างคนอารมณ์ร้ายกาจ

ในวาระสุดท้าย หลุยส์ ปลาสเตอร์ ป่วยหนัก  อังตวน บิวแชมพ์  ไปเยี่ยมอย่างมิตรผู้ขับเคี่ยวกันด้านผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่คนละข้างในวาระนั้น หลุยส์ ปลาสเตอร์พูดว่า “สถานที่ Terrian”นั้น สำคัญที่สุด เชื้อโรคทำอะไรไม่ได้จริงๆอีกไม่กี่วัน หลุยส์ ปลาสเตอร์ก็เสียชีวิต  อังตวน บิวแชมพ์ ดำเนินชีวิตอยู่ต่อมา จนเสียชีวิตในวัย 93 ปี ฝากผลงานให้กับโลกในด้านการสร้างภูมิต้านทานของร่างกายเท่านั้น จะทำให้ไม่เป็นโรค ไม่ทุกข์ทรมาน

ตอนนี้ เรากำลังมีมาร COVID-19 ผจญ ชาวบ้านอย่างเราหันมาสนใจแนวความคิดของ อังตวน บิวแชมพ์ กันดีไหม