ธุรกิจท่องเที่ยว

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - ท่องเที่ยว
พิมพ์

1.โครงสร้าง
ต้องการให้มีมาตรฐานในการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังเป็นรองธุรกิจขนาดใหญ่ พัฒนามาตรฐานทางด้าน ICT เพื่อเกื้อหนุนศักยภาพ เช่นการนา Software มาใช้กับธุรกิจท่องเที่ยวในหลายๆ ส่วน อีกทั้งควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการกากับดูแลเรื่องการตรวจสอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อขจัดธุรกิจแอบแฝง และธุรกิจผิดประเภทนอกจากนี้ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน

2.ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
เอกชนและรัฐควรมีมาตรการร่วมกันในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ อาทิการพบปะนักธุรกิจ การตรวจสอบธุรกิจผิดกฎหมายร่วมกัน รัฐจัดตั้งศูนย์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากเอกชน นอกจากนี้เอกชนจาเป็นต้องรวมกลุ่มเป็น Cluster และต้องมีสถานะที่เข้มแข็งพอที่จะร่วมงานกับรัฐและออกมาตรการที่มีน้าหนักได้

3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
ต้องการให้มีการจัดตั้งกองทุนสาหรับธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Mutual Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารโดยเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยวจัดตั้งจากภาษีของภาคท่องเที่ยวทั้งหมดที่จ่ายให้รัฐ นอกจากนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวต้องการให้มีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการพัฒนามาตรฐาน รัฐควรมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ SMEs ที่มีต้นทุนจากัด รัฐควรสร้างระบบ “Coaching” โดยการสนับสนุนตั้งแต่จัดตั้งธุรกิจ ตลอดจนความช่วยเหลือด้านเทคนิค และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และรัฐควรมีระบบในการรวมแหล่งงานวิจัยและมาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย

4. อุปสรรค
ภาคธุรกิจบริการประสบอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย คุณภาพของคน การขาดแคลนสายอาชีพ บุคลากรขาดความภาคภูมิใจในสายอาชีพโรงแรม การสื่อสารกับรัฐบาลมีปัญหา เช่นการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือไม่ตรงจุด

5. โอกาส
ธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Mobile Home และ Thailand’s Medical Tourism Cluster ที่ตั้งของประเทศ บุคลากรมีจิตใจบริการ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมโดดเด่นและมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย

6. การจัดลาดับความสาคัญและเร่งด่วน
การบังคับใช้กฎหมาย การยกระดับมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาคน การทางานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:29 น.