digital Economy and Human Capital : โอกาสและความเสี่ยง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

- จะทำ Workshop สั้นๆ ในช่วงท้าย โดยเราต้องจับมือกับมหาวิทยาลัยของโลก และผมมั่นใจว่า สามารถทำอะไรได้อีกมาก

หวังว่าแนวคิดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน

Workshop

- ยกตัวอย่างโครงการทางด้าน health ที่ใช้ digital technology และทุนมนุษย์จะช่วยหรือเป็นอุปสรรคอย่างไร

- ยกตัวอย่างโครงการ ด้าน Health ที่เกี่ยวกับ ASEAN 2 โครงการและปัจจัยทางทุนมนุษย์จะช่วยและเป็นอุปสรรคอย่างไร

กลุ่ม 1 ทุนมนุษย์ เกิดขึ้นในประเทศไทย ในการใช้ Skype ระหว่างกัน ลดการเสียเวลา เราได้คุณภาพของพยาบาลและแพทย์ เห็นหน้าซึ่งกันและกันด้วย สามารถเห็นทั้งสองด้าน

อุปสรรค : สัญญาณไม่ดี ทำให้มีปัญหาได้ สัญญาณต้องได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลในโรงพยาบาล

การอพยพ อาจจะนำมาซึ่งโรคติดต่อได้ เกิดจากการอพยพ มีการจัดการ และทำเป็นระบบและข้อมูลให้ชัดเจน เก็บรวบรวมและเป็นตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุข

มีเป็นระบบป้องกันชายแดนอยู่แล้ว ต้องได้ทำข้อมูลและมีการออนไลน์หากัน สามารถรักษาพยาบาลได้ทุกที่

กลุ่ม 1

อ.จีระ : ต้องพัฒนาให้สัญญาณดี เป็น 3G , 4G ให้ดีขึ้น ทำแล้วก็ต้องให้สำเร็จ ปัญหาอาเซียนชายแดนเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ มีตัวละครหลายตัวที่ต้องช่วยกัน

กลุ่ม 2

เราต้องใช้ในประเทศ คนไทยมีศักยภาพในด้านนี้ ค่อนข้างสูง ขาดการสนับสนุนจากต่างประเทศ

การปลูก คนไทยมีรู้ในเรื่อง Medical มีการวิจัยมากหรือยัง สำรวจ Competency มากหรือยัง การรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของเรา การศึกษาค้นคว้ามากพอหรือยัง

ต้องลิงก์กับ Data base การตั้งงบประมาณถูกกำหนดโดยบริษัทของเรื่องนี้ ใช้เงินมหาศาล ต่างชาติรู้จุดอ่อนของเรา

เราต้องกระตุ้น และสร้างแชร์ให้ได้

กระตุ้นให้คิดนอกกรอบเยอะๆ ต้องบันทึกข้อมูลทุกคำพูดไว้

กลุ่ม 2

อาเซียน สร้างเครือข่ายเรื่องอำนาจต่อรอง เช่น เยอรมัน แต่ญี่ปุ่น จีน ก็สามารถทำได้ การสร้างชิปต้องลิงก์กันหมดในทั่วภูมิภาค การรวมกลุ่มเพื่อแชร์ข้อมูลกัน

อ.จีระ หมอบางคนไปลิงก์กับบริษัท เช่น ยา มีการเก็บข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ และการซ่อมบำรุง เราต้องสามารถแชร์ข้อมูลกันได้

คนไทยอยู่ไปนานๆ เราจะติดสันดานเสมียน ไม่อ่านหนังสือ ต้องหาความรู้เพื่อขึ้นเรื่อย ๆ หาข้อมูลเพิ่ม เอาไอเดียอันนี้ไปคิดต่อ

กลุ่ม 3

Beyond เน้นเรื่อง health สถานพยาบาลไม่สามารถโรคได้มากกว่านี้แล้ว แต่คนป่วยเยอะและไม่ป้องกัน เราต้องสร้างจริยธรรมด้านนี้ให้มากขึ้น สร้างจิตสาธารณะให้มากขึ้น เราต้องไปทำความเข้าใจ ลงไปด้วยจิตให้ความรู้ความเข้าใจ ลงไปจัดโครงการต่างๆได้

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องมีศักดิ์ศรี หาช่องว่างความเสมอภาคและความเท่าเทียม ดูตามความสามารถ สามารถประชาชนเกิดความเท่าเทียมกัน

อ.จีระ : ต้องมีแนวร่วมและทำงานร่วมกัน กระตุ้นให้คุณเป็นเลิศ โปรโมทให้คนออกกำลังกาย เล็กๆน้อยๆ ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ

อยากให้ทำวิจัย เรื่องการใช้บริการมากเกินไป คิดว่ามันถูก

โครงการแรก Health Promotion อาเซียน มีการเดินทางไปมา การเกิดอุบัติเหติ ขึ้นมา มีโรงพยาบาลของตัวเอง ไม่เดินทางไปที่ไหน จึงต้องมี Data base ไม่ว่าอยู่ที่ก็สามารถเห็นข้อมูลได้หมด ควรมีการแชร์ข้อมูลกันไว้ให้มากยิ่งขึ้น และปลูกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้มาก โครงการดังกล่าวก็สามารถทำได้

อ.จีระ : EU ทำไปนาน สามารถรู้หมดหรือยัง น่าจะศึกษาเรื่องนี้ อยากให้มองไปถึงความร่วมมือของอาเซียน แต่เริ่มแรกจากชายแดนก่อนก็ได้

กลุ่ม 4

เน้นเรื่อง Data base มีชอฟแวร์ที่จะไปแทนงานประจำ โรงพยาบาลใหญ่ๆสามารถมาลิงก์กันได้ ศิริราช สร้างโรงพยาบาลอีก 1 โรงพยาบาลสามารถมาลิงก์กับที่เดิมได้ ประเทศไทย เด่นท่องเที่ยว เกษตร แต่ไปมองขายชิ้นส่วน อุตสาหกรรม เป็นต้น ไม่เก่งแต่ลอกมา น่าจะหันมามองเรื่อง Health มากขึ้น

ประเด็นเรื่อง His การสร้างและแชร์ data base ทุนมนุษย์สามารถมีส่วนมาใช้ในการด้านทุนมนุษย์ ปัญญา มีการ Hub ข้อมูลต่อกัน มีการทำงานไปสู่อาเซียน ความรู้ความสามารถแพทย์ของไทยมีชื่อเสียงมาก ทำให้ต่างประเทศมาใช้บริการมากมาย เราจึงทำตรงให้เข้ามีความชำนาญและลิงก์และแชร์กับไปทั่วโลก