PLC คือการรวมกลุ่มจัดการความรู้ของครู

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

ผมไปประชุมเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้ PBLและ PLCในหลายที่  แล้วพบว่าที่ทำกันอยู่ ไม่มีพลัง

 

จึงกลับมาคิดไตร่ตรองว่า วิธีริเริ่ม PLC ให้เกิดพลัง  ให้เห็นคุณค่าของ PLC คืออะไร

 

คิดว่าตัวช่วยอย่างหนึ่งคือทำความเข้าใจ PLC คืออะไร

 

PLC ของครู คือการรวมตัวกันจัดการความรู้ของครู  คือเป็น KM ครูนั่นเอง  เป็นกลไกช่วยสนับสนุนให้ครูสร้างความรู้ขึ้นใช้ทำหน้าที่ครู  และนำความรู้ไปใช้ทำหน้าที่ครู  เพื่อให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ชนิด “รู้จริง” (mastery)

 

ในทาง KM การรวมตัวกันจัดการความรู้ของคนที่ทำงานเดียวกันหรือคล้ายๆ กัน  เรียกว่า CoP (Community of Practice)  เรียกในชื่อไทยว่า ชุมชนแนวปฏิบัติ ชุมชนแนวปฏิบัติของครู ก็คือ PLC ครูนั่นเอง  การจัดการ PLC ครูจึงใช้หลักการและวิธีการของ CoP ได้   อ่านบันทึกเรื่อง CoP ของผมเมื่อ ๗ ปีที่แล้วได้ ที่นี่

 

PLC ครู มีเป้าหมายร่วมกันที่ผลต่อศิษย์ ให้เกิด Learning Outcome ดีขึ้น  และผลต่อตัวครูเอง ให้เก่งขึ้น มีความสุขขึ้น ก้าวหน้าขึ้น

 

“หัวปลา” (เป้าหมาย) ของ PLC ครู และยุทธศาสตร์การบรรลุหัวปลา ต้องถูกต้อง  เวลานี้ Learning Outcome คือ 21st Century Skills  ซึ่งเป็นทักษะชุดหนึ่ง  การเรียนของศิษย์จึงต้องเรียนโดยการปฏิบัติ  โดยครูทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) หรือ โค้ช (ครูฝึก)PLC ครูจึงต้องมีเป้าหมายเรียนรู้วิธีทำหน้าที่ครูฝึก แก่ศิษย์ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

 

หลักการ KM คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ  PLC จึงเน้นเรียนรู้ โดยการ ลปรร. ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ  คือจากการทำหน้าที่ครูฝึก ในกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติของศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เรียนโดยการทำโครงงาน (PBL – Project-Based Learning)

 

การเรียนรู้จากการทำโครงงาน จะไม่เกิดการเรียนแบบ “รู้จริง” หากครูฝึกไม่ชวนทีม PBL ทบทวนไตร่ตรองตีความโดยใช้ความรู้ทฤษฎีเข้าไปตีความว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไร  ระหว่างทำ PBL พบอุปสรรค อุปสรรคเกิดจากอะไร  และเมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดอย่างไรจึงปรับแบบนั้น  ฯลฯ  กระบวนการนี้เรียกว่า AAR (After Action Review) ในภาษา KM  หรือเรียกว่าการสะท้อนความคิด (reflection) ในภาษาทั่วไป

 

การทำหน้าที่ครูฝึก ต้องมีทักษะในการให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback)  ซึ่งจะได้นำมาลงบันทึกในชุด การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร

 

ในตอนที่แล้ว ได้เล่าเรื่อง PLC สองแบบ  และในบันทึกชุด บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ ได้ตีความหนังสือเล่มหนึ่ง อธิบายวิธีดำเนินการ PLC โดยพิสดาร

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ม.ค. ๕๖

เนื่องจากบทความข้างบนได้มีคำอธิบายเพิ่มเติมซึ่งต้องใช้กดเพื่อเข้าไปสู่ link ตัวอื่น แต่ที่คัดลอกมานี้ไม่สามารถคัดลอกตัว link เข้ามาได้ สำหรับท่านที่ต้องการอ่านต้นฉบับของอาจารย์วิจารณ์ โปรดกดเข้าไปใน link ข้างล่าง แต่ถ้า link ไม่ได้ ก็ให้ copy link และนำไปเปิดใน browser ของท่าน

http://www.thaiihdc.org/web/administrator/index.php?option=com_content&task=add