สอนอย่างมือชั้นครู : ๑. เข้าใจศิษย์ และเข้าใจวิธีเรียนของศิษย์ (๑)

วันเสาร์ที่ 19 กรกฏาคม 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

บันทึกชุด “สอนอย่างมือชั้นครู” ๓๔ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Teaching at Its Best : A Research-Based Resource for College Instructors เขียนโดย Linda B. Nilson ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ ๓ ผมขอเสนอให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาไทยทุกคน หาหนังสือเล่มนี้ไปอ่านเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพราะหากติดตามอ่านจากบันทึกใน บล็อก ของผม ซึ่งลงสัปดาห์ละตอน จะใช้เวลากว่าครึ่งปี และการอ่าน บันทึกของผมจะแตกต่างจากการอ่านฉบับแปล หรืออ่านจากต้นฉบับโดยตรง เพราะบันทึกของผมเขียน แบบตีความ ไม่ได้ครอบคลุมสาระทั้งหมดในหนังสือ

ตอนที่ ๑ นี้ ตีความจาก Part One : Laying the Groundwork for Student Learning ซึ่งอาจารย์ มหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวก่อนเปิดเทอม มี ๕ บท ตอนที่ ๑ ตีความจากส่วนต้นของบทที่ 1. Understanding Your Students and How They Learn -- ทำความรู้จักศิษย์ และวิธีเรียนรู้ของศิษย์


ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาของท่าน

สถาบันอุดมศึกษาที่ดี ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาให้อาจารย์ตรวจสอบทำความรู้จัก หนังสือแนะนำข้อมูลทั่วไป (ในบริบทสหรัฐอเมริกา) ได้แก่ : อายุ สภาพการสมรสและครอบครัว พื้นฐานทางเศรษฐฐานะ เชื้อชาติและชาติพันธุ์ สภาพการมีงานทำ (เต็มเวลาหรือบางเวลา) อยู่หอพักในมหาวิทยาลัยหรือไป-กลับ เป็นคนอเมริกันหรือต่างชาติ บ้านอยู่รัฐไหน เข้าเรียนด้วยการรับพิเศษหรือไม่/แบบใด

ในกรณีที่ นศ. ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด เป็น นศ. อายุน้อย และพักหอพักในมหาวิทยาลัย อาจารย์สามารถวางแผนมอบหมายงานกลุ่มนอกห้องเรียนให้ทำได้มากหน่อย

ข้อมูลการทำกิจกรรมระหว่างเรียนชั้น ม. ปลาย ที่แสดงภาวะผู้นำของนักศึกษา ก็เป็นข้อมูลสำคัญต่อการวางแผนจัดการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์

ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้ามหาวิทยาลัยมีความสำคัญยิ่ง ทั้งข้อมูลจากโรงเรียน และจากการทดสอบระดับชาติ รวมทั้งข้อมูลพิเศษอื่นๆ เช่นการเข้า Advanced Placement Program การได้รับเลือกเข้าแข่งขันทางวิชาการต่างๆ ฯลฯ

อีกข้อมูลที่สำคัญยิ่ง คือเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษา หรืออาชีพ หรืองานที่เป็นเป้าหมายในชีวิต ของนักศึกษา ซึ่งอาจได้จากแบบสอบถาม นศ. เอง และได้จากข้อมูลบัณฑิตที่เพิ่งจบ ๒ - ๓ รุ่นหลัง


คนเราเรียนรู้อย่างไร

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ได้แก่

ทั้ง ๘ ข้อข้างบน มีหลักฐานจากงานวิจัยทั้งสิ้น หนังสือให้เอกสารอ้างอิงไว้ด้วย

จากหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ดังกล่าว นำไปสู่หลักปฏิบัติทั่วไปของครู/อาจารย์ ที่ถือว่าต้องใช้ ในกิจกรรมที่จะเสนอต่อไปตลอดทั้งเล่มของหนังสือนี้


การจัดโครงสร้างความรู้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

สิ่งที่เรียกว่า “ความรู้” เกิดจากการจัดโครงสร้างของ ข้อมูล (data) และสารสนเทศ (information) ภายในสมอง (และร่างกายส่วนอื่น) ของมนุษย์ ผ่านการสังเกตรับรู้ (observation) ตามด้วยการไตร่ตรอง สะท้อนคิด (reflection) และการทำให้เป็นนามธรรม (abstraction) โครงสร้างดังกล่าว จะจัดขึ้นเป็นรูปแบบ (pattern) จากความหลากหลายสับสนของข้อมูลและสารสนเทศ

การศึกษา หรือการเรียนรู้ คือกระบวนการเพื่อให้เกิดโครงสร้างดังกล่าวในสมอง ซึ่งในทางรูปธรรม คือการสร้างเครือข่ายใยสมองนั่นเอง (แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นทั่วตัว ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสมองเท่านั้น)

การจัดโครงสร้างดังกล่าว ทำให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย ในรูปของ หลักการ (concept), การขยายเป็นหลักการทั่วไป (agreed-on generalization), การอนุมาน (inference), ทฤษฎี (theory), สมมติฐาน (hypothesis), กฎเกณฑ์ (principle), และความน่าจะเป็นไปได้ (probability) อาจกล่าวได้ว่า การจัดโครงสร้างก็เพื่อสร้างความหมายนั่นเอง

การเรียนรู้ที่ไม่ดี ไม่ได้ผลจริงจัง คือการจำเป็นส่วนเสี้ยว ขาดการปะติดปะต่อเชื่อมโยงส่วนต่างๆ เป็นโครงสร้างดังกล่าว ทำให้ นศ. ท่องจำความรู้โดยไม่ได้สร้างความหมายขึ้นในตน ไม่เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง”

การเรียนรู้ที่แท้จริง เป็นการ “สร้าง” (construct) “ความจริง” ตามความเข้าใจของผู้เรียนขึ้นภายในตน ไม่ใช่การท่องจำหรือรับเอา “ความจริงสำเร็จรูป” เป็นก้อนๆ มาจากครู หนังสือ หรือแหล่งความรู้

หาก นศ. ใช้วิธีค้นพบความรู้ แล้วจดจำเอามาเป็นของตน จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

การเรียนรู้ที่ท้จริง เริ่มจากการจับแก่น และภาพใหญ่ แล้วเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศที่รับรู้ (observation) เป็นรูปแบบ (pattern) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ (relationship) ระหว่างส่วนย่อย โยงสู่รูปแบบและภาพใหญ่ มีหลักฐานบอกว่าสมองของมนุษย์รับรู้และเรียนรู้ โดยการรับรู้รูปแบบ (pattern recognition) รวมทั้งมีหลักฐานว่าสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และอาจจะรวมทั้งปลา ต่างก็เรียนรู้แบบเดียวกัน นั่นคือเรียนรู้ผ่านโครงสร้างหรือรูปแบบความสัมพันธ์

นศ. ต้องได้รับการฝึก ให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ จากเรียนแบบ “มือใหม่” (novice) ไปเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” การเรียนรู้ โดยฝึกสร้างโครงสร้างแบบแผนตามลำดับขั้น (hierarchical organization of pattern) ของความรู้ในแต่ละสาขาวิชา ย้ำคำว่า “ตามลำดับขั้น” (hierarchical) เพื่อให้สามารถแยกแยะระหว่างความรู้แกน ของหลักการ กับความรู้ส่วนขยายที่มีลักษณะขึ้นกับบริบท (context-specific) ที่แตกต่างกัน เมื่อเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” จะสามารถคิดเคลื่อนขึ้นลงลำดับขั้นดังกล่าวได้อย่างคล่องแคล่ว

วิธีฝึกสร้างโครงสร้างดังกล่าวขึ้นใน นศ. ทำโดย

วิจารณ์ พานิช

๑๐ มี.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 19 กรกฏาคม 2014 เวลา 23:02 น.