ชีวิตที่พอเพียง : 2244. เรียนรู้เรื่องสมบัติพัสถานแห่งศตวรรษที่ ๒๑

วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ค่ำวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมไปร่วมฟังเรื่องราวของ Inspiring Scotland โดยคุณ Andrew Muirhead ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง Inspiring Scotlandการพบปะพูดคุยกันนี้จัดโดย มูลนิธิเพื่อคนไทยคุยกันในวงผู้ได้รับเชิญ ไม่ถึง ๒๐ คน ประชุมกันแบบ working dinnerซึ่งตามปกติผมเลี่ยงเพราะตอนค่ำผมแบตหมดเนื่องจากตื่นขึ้นทำงานตั้งแต่เช้ามืดทำอย่างนี้มากว่า ๒๐ ปี จนเป็นนิสัย

นี่คือเทวดาดลใจให้ผมได้เปิดกระโหลกตนเองเพราะฟังแล้ว ความเข้าใจเรื่องเงิน และ “สมบัติ” ของผมเปลี่ยนไป

เงินและสมบัติ (assets) เป็นมากกว่าที่คิดมากกว่าทั้งสิ่งที่เป็น “สมบัติ”วิธีนำเอาสมบัติไปใช้และเป้าหมายของการใช้สมบัติ

ความริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องนี้มีได้ไม่จำกัดโดยต้องการความกล้าแหวกแนวความสามารถ ในการจัดการความสามารถในการสื่อสารคุณค่าหรือความหมายของการประกอบการแบบใหม่และความสามารถในการทำงานแบบเครือข่าย (networking)

เป็นการนำเอาการเป็นผู้ประกอบการกับการทำเพื่อประโยชน์ของสังคมเข้ามา “แต่งงาน” กันอาจมองว่า เป็นการนำเอาสิ่งที่เป็นขั้วตรงกันข้ามมาทำงานด้วยกันมีเป้าหมายทั้ง “กำไร” ที่เป็นเงินและกำไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เป็นการนำเอาวิธีวิทยา (methodology) ของ venture capital หรือกลไกทางการเงินมาใช้ในการทำ ธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยต้องคิดเอาเอง ว่าประโยชน์ต่อสังคมในเรื่องนั้น เป็นอย่างไรบ้างจะทำความชัดเจน และสื่อสารคุณค่านั้นต่อสังคมอย่างไร และจะวัดผลกระทบต่อสังคมตามเป้าหมายอย่างไร ผมเข้าใจว่าคุณแอนดรูเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิธีวิทยา ในการสร้างสรรค์วิธีการทางการเงิน เพื่อประโยชน์ด้านที่ ไม่ใช่เงินของสังคมเพราะเวลานี้เขามาทำหน้าที่ ผู้บริหารของ AVPN มีสำนักงานอยู่ที่สิงคโปร์

ผมตีความว่า เวลานี้โลกมีเงินเหลือใช้มากและระบบการเงินโลกในปัจจุบันเงินมันไหลเร็วมีกลไกให้มันไหลไปทำกำไรที่เป็นเงินตรงไหนกำไรสูงสุดมันไปที่นั่นโดยไม่รับรู้ว่ากิจการที่มันไปหล่อเลี้ยง ก่อความเสียหายต่อสังคมอย่างไร เพราะเงินมันไม่มีความรู้สึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าต่อสังคม

กิจการของ Inspiring Scotland, AVPN และอื่นๆ อีกหลายกิจการ เป็นสิ่งที่เรียกว่า Venture Philantropy หรือ Social Ventureหรือ Social Enterprise หรือในความเข้าใจของผม หมายถึงการประกอบการ หรือการทำ ธุรกิจ ที่มีเป้าหมายกำไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยกิจการเหล่านี้จึงเท่ากับเป็นขบวนการ (movement) เพื่อเยียวยาโลกจากพิษร้ายของลัทธิทุนนิยมสุดโต่ง ที่ครองโลกอยู่ในเวลานี้

ผมไปเรียนรู้วิธีทำงานเพื่อเปลี่ยนสังคม จากทุนนิยมสุดโต่งเป็นทุนนิยมและการประกอบการ เพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างพอดีหรือสมดุล

คุณแอนดรูว์ เล่าว่าตอนที่ตนริเริ่ม Inspiring Scotland (IS) นั้น เป้าหมายทางสังคมในการทำงาน คือเยาวชนอายุ ๑๔ - ๑๙ ปี ใน สก็อตแลนด์ ที่มีสถิติการเสียคนร้อยละ ๑๕และอยู่ในสภาพกำลังเดินไปสู่ การเสียคน ร้อยละ ๒๐เยาวชนส่วนร้อยละ ๒๐ นี่แหละคือเป้าหมาย

ผมเข้าใจว่าคนที่เอาเงินมามอบให้ IS ลงทุนนั้นต้องการผลตอบแทนเป็นเงินในระดับที่ไม่ด้อยกว่าการ ฝากธนาคารแต่ที่เลือกเอาเงินมาลงที่นี่เพราะศรัทธาในเป้าหมายเพื่อสังคมเงินนั้น IS เอาไปสนับสนุนโครงการ ธุรกิจที่เยาวชนกลุ่มเป้าหมายเสนอเข้ามาขอ “กู้” เงินตรงนี้ผมฟังไม่เข้าใจว่าผู้กู้จะต้องจ่ายเงินคืนอย่างไร เข้าใจ ว่ามีความซับซ้อนมากและเข้าใจว่ากฎหมายยกเว้นภาษีที่รัฐบาลอังกฤษออกมาสนับสนุน จะมีส่วนเกื้อกูลด้วย

แต่เงินเป็นเพียงส่วนย่อยพลังส่วนใหญ่เป็นพลังทางปัญญา ที่ “อาสาสมัคร” เข้ามาให้คำแนะนำ ปรึกษาทางธุรกิจ แก่เยาวชนที่สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกอบการจึงเห็นได้ว่า IS เป็น venture capital ที่ “capital” ส่วนใหญ่เป็น intellectual capital หรือ business know-how capital ไม่ใช่เงินเงินเป็นเพียงส่วนย่อย

สมบัติพัสถานที่แท้จริง มีมากกว่าเงินและวัตถุสิ่งของ

วิจารณ์ พานิช

๙ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 09:02 น.