สอนอย่างมือชั้นครู : ๑๒. เลือกวิธีสอนให้เหมาะต่อผลลัพธ์การเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 09 ตุลาคม 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

บันทึกชุด “สอนอย่างมือชั้นครู” ๓๔ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Teaching at Its Best : A Research-Based Resource for College Instructors เขียนโดย Linda B. Nilson ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ ๓ ผมขอเสนอให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาไทยทุกคน หาหนังสือเล่มนี้อ่านเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพราะหากติดตามอ่านจากบันทึกใน บล็อก ของผม ซึ่งลงสัปดาห์ละตอน จะใช้เวลากว่าครึ่งปี และการอ่านบันทึกของผมจะแตกต่างจากการอ่านฉบับแปล หรืออ่านจากต้นฉบับโดยตรง เพราะบันทึกของผมเขียนแบบตีความ ไม่ได้ครอบคลุมสาระทั้งหมดในหนังสือ

ตอนที่ ๑๒ นี้ ตีความจาก Part Three : Choosing and Using the Right Tools for Teaching and Learning มี ๗ บท ตอนที่ ๑๒ ตีความจากบทที่ 11. Matching Teaching Methods with Learning Outcomes

สรุปได้ว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องไม่ใช่อยู่แค่ระดับรู้และเข้าใจ ต้องเรียนโดยการฝึกฝนให้ไปถึงระดับ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน พัฒนาการด้านการเรียนรู้ และสุดท้ายมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีสอนและวิธีเรียนรู้ หลากหลายวิธี ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะขั้นสูงเหล่านั้น

วิธีสอนสำคัญกว่าเนื้อหาที่สอน นี่คือคำกล่าวของปราชญ์ด้านการเรียนรู้ เพราะผลการวิจัยบอกว่า นักศึกษาจะลืมสาระส่วนใหญ่ในการบรรยายหลังจากนั้น ๑๕ นาที แต่กระบวนการเรียนรู้ที่เป็น active learning จะทำให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงตลอดไป

ตัวตั้งคือผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) ตัวตามคือวิธีสอนและวิธีวัด


ผลลัพธ์การเรียนรู้

ผลลัพธ์การเรียนรู้มี ๘ ระดับ เรียงจากตื้นไปลึก หรือจากง่ายไปยาก หรือจากซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก โดยที่ ๖ ระดับแรกมาจาก Bloom (1956) และ Anderson and Krathwohl (2000), ระดับที่ ๗ มาจาก Perry (1968,) และระดับที่ ๘ มาจาก Nelson (2000) ดังนี้

อาจารย์จะต้องตั้งเป้าว่า ต้องการให้เกิดผลลัพธ์ใดบ้างในตัวศิษย์ แล้วเลือกวิธีสอน/วิธีจัดการเรียนรู้ และวิธีประเมินผลลัพธ์ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้นั้น


เครื่องมือบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้

เครื่องมือบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด มี ๓ ประการ คือ (๑) รูปแบบ (format) ของรายวิชา (๒) วิธีสอน (teaching methods) และ (๓) เทคนิคการสอน (teaching moves)

รูปแบบของรายวิชา อาจเป็นการบรรยาย (lecture) อย่างเดียว หรือสัมมนา (seminar) อย่างเดียว หรือกิจกรรมฝึกทักษะ (skill activity) อย่างเดียว หรือผสมกัน ทั้งนี้ ย่อมขึ้นกับเป้าหมายของผลลัพธ์ การเรียนรู้ ว่าต้องการบรรลุผลในมิติของการเรียนรู้ที่ลึกและเชื่อมโยงแค่ไหน


วิธีสอน

หนังสือเล่มนี้ระบุวิธีสอน ๑๘ วิธี ดังต่อไปนี้

วิธีสอนแต่ละแบบ ทำให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับต่างๆ ดังแสดงในตารางข้างล่าง

ผลลัพธ์/ วิธี ความรู้ ความเข้าใจ ประยุกต์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน พัฒนาการด้าน การเรียนรู้ เปลี่ยน กระบวนทัศน์
บรรยาย X
บรรยาย+ ปฏิสัมพันธ์ X X a a a a a
ทบทวน X X
อภิปราย ตามกรอบ X a a a a a a
ฝึกเขียน/พูด X X X X X
เทคนิคประเมิน ห้องเรียน X X X X
เรียนเป็นกลุ่ม X a a a a a
ประเมินป้อนกลับ ซึ่งกันและกัน X X X
ห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ X X
สอนทันใด X X X
รายกรณี X X X X X
ตอบโจทย์ Xb X X X X X X X
แก้ปัญหา Xb X X X X X
ทำโครงงาน Xb X X X X X
สวมบทและ แบบจำลอง X X X X X
รับใช้+สะท้อนคิด X X X X X
ภาคสนาม/คลินิก X X X X X X X


หมายเหตุ X = เกิดผลลัพธ์นั้น, a = ขึ้นอยู่กับกิจกรรม คำถาม และโจทย์ของงานกลุ่ม, b = ความรู้ที่ได้อาจจำเพาะอยู่กับโจทย์ หรือปัญหานั้นๆ เท่านั้น


เทคนิคการสอน (Teaching Moves)

เทคนิคการสอน เป็นกลยุทธที่อาจารย์ใช้จัดให้นักศึกษาฝึกคิดในระหว่างการปฏิบัติ เพื่อบรรลุผลลัพธ์ การเรียนรู้ที่กำหนด โดยที่บทฝึกหัดจะต้องสอดคล้องกับการวัดผลการเรียนรู้

เทคนิคการสอน เป็นขั้นตอนเล็กๆ ที่เหมาะสมจำนวนมากมาย ประกอบกันเข้าเป็นกระบวนการ ที่ลื่นไหล นำนักศึกษาเข้าสู่การปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง และเป็นทั้งเทคนิคการสอน และเป็นคำแนะ นำป้อนกลับ (feedback) เพื่อการปรับปรุงการเรียนรู้ของนักศึกษาไปในตัว

ตัวอย่างเทคนิคการสอนของอาจารย์ และการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ ๖ ระดับตาม Bloom แสดงในรายการต่อไปนี้


ความรู้

อาจารย์ ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้


ความเข้าใจ

อาจารย์ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้


ประยุกต์

อาจารย์ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้


วิเคราะห์

อาจารย์ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้


สังเคราะห์

อาจารย์ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้


การประเมิน

อาจารย์ทำสิ่งต่อไปนี้

นักศึกษาทำสิ่งต่อไปนี้

เทคนิคการสอนและการเรียนรู้นี้ ผู้เขียนคัดลอกมาอีกชั้นหนึ่ง และบอกว่าเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อ สะท้อนหลักการเท่านั้น ในทางปฏิบัติมีเกร็ดวิธีการที่จะสร้างสรรค์ขึ้นใช้เองได้มากมาย


วิธีวัดผลการเรียนรู้

จะเห็นว่า การวัดผลการเรียนรู้ที่แท้จริง จะฝังอยู่ในกระบวนการตามหัวข้อ “เทคนิคการสอน” (Teaching Moves) นั่นเอง

และมีข้อเตือนใจที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การวัดคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยวัดที่อะไร หากวัดโดยทำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ก็จะตกหลุมวัด student satisfaction ซึ่งไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับ student learning

คุณภาพของการจัดการเรียนรู้ที่แท้จริงคือ student learning ไม่ใช่ student satisfaction

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 09 ตุลาคม 2014 เวลา 00:35 น.