สอนอย่างมือชั้นครู: ๑๖. กิจกรรมเรียนโดยการปฏิบัติ

วันศุกร์ที่ 07 พฤศจิกายน 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

บันทึกชุด “สอนอย่างมือชั้นครู” ๓๔ ตอน ชุดนี้ตีความจากหนังสือ Teaching at Its Best : A Research-Based Resource for College Instructorsเขียนโดย Linda B. tags/Nilson">Nilsonซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ ๓ผมขอเสนอให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาไทยทุกคน หาหนังสือเล่มนี้อ่านเองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เพราะหากติดตามอ่านจากบันทึกใน บล็อก ของผมซึ่งลงสัปดาห์ละตอน จะใช้เวลากว่าครึ่งปี และการอ่านบันทึกของผมจะแตกต่างจากการอ่านฉบับแปล หรืออ่านจากต้นฉบับโดยตรงเพราะบันทึกของผมเขียนแบบตีความไม่ได้ครอบคลุมสาระทั้งหมดในหนังสือ

ตอนที่ ๑๖ นี้ ตีความจาก Part Three : Choosing and Using the Right Tools for Teaching and Learning มี ๗ บทตอนที่ ๑๖ ตีความจากบทที่ 15. Experiential Learning Activities

สรุปได้ว่า การเรียนจากการปฏิบัตินั้น มีรูปแบบที่หลากหลายและใช้ความสร้างสรรค์ของอาจารย์ ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัดโดยที่อาจารย์และทีมงานของมหาวิทยาลัยต้องออกแบบ และดำเนินการอย่างรอบคอบและในตอนท้ายต้องมีกิจกรรม debriefing / reflection / AAR / ใคร่ครวญทบทวน การเรียนรู้ ด้วยเสมอ

 

กิจกรรมเรียนโดยการปฏิบัติเป็น “ยำใหญ่” ของการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้นักศึกษา ได้ค้นพบและสร้างความรู้จากประสบการณ์ตรงทั้งที่เป็นประสบการณ์จำลอง และประสบการณ์จริง

การเรียนรู้แบบนี้ ก่อความผูกพัน (engagement) ของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียน แตกต่างกันตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงรุนแรงสุดสุดก่อประสบการณ์ทางอารมณ์ ที่จะทำให้จารึกจดจำไปนานหรือตลอดชีวิตและเหมาะสมต่อ นักศึกษาที่มีสไตล์การเรียนรู้ แตกต่างหลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ในระดับสูงและเกิดความสนใจ หรือฉันทะต่อวิชาความรู้เหล่านั้น ทำให้จดจำความรู้ได้ยาวนานกว่าการเรียนแบบที่ นักศึกษาตื่นตัวน้อยกว่า

 

การนำเสนอของนักศึกษา

การเรียนโดยนำเสนอ นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้สาระวิชาแล้วยังได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ซึ่งนายจ้างแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องการมากรวมทั้งการสื่อสารในที่สาธารณะ

การนำเสนอด้วยวาจามีหลากหลายแบบ ดังตัวอย่าง

 

การโต้วาทีแนวแปลก

การโต้วาทีตามปกติที่มีฝ่ายเสนอฝ่ายค้านนำเสนอญัติเชิงบวก หรือเชิงลบ และคำคัดค้านโต้แย้ง ก็ใช้ในชั้นเรียนได้แต่การดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในชั้นเรียน จะมีพลังมากกว่า เช่น

ตัวอย่างของการเรียนแนวนี้ในบริบทไทย อ่านได้ที่นี่

 

ผู้เชี่ยวชาญ หรือทีมผู้เชี่ยวชาญ

แต่งตั้งนักศึกษา ๑, ๒, หรือ ๓ คนเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือทีมผู้เชี่ยวชาญ เรื่องใดเรื่องหนึ่งในวิชาที่เรียนให้ไปค้นความรู้เรื่องนั้นมาล่วงหน้า และส่ง annotated bibliography ของทีมต่ออาจารย์แล้วมานำเสนอใน ชั้นเรียนโดยอาจารย์ทำหน้าที่ซัก ให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและได้ความเชื่อมโยงกับประเด็นการเรียนรู้ ในวันนั้น

 

การอภิปรายกลุ่ม

นักศึกษา ๔ - ๕ คนผลัดกันนำเสนอข้อมูลและมุมมองของตนในเรื่องนั้นโดยสมมติให้แต่ละคน สวมบทบาทต่างกันเช่นเรื่องการจัดการลุ่มน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยานักศึกษาแต่ละคน สวมบทหนึ่งบท เช่น ชาวนาเกษตรกรนากุ้งข้าราชการกรมชลประทานนายก อบต.และข้าราชการกรมอุตุ นิยมวิทยาแต่ละคนต้องค้นข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วม นำมาประกอบการอภิปราย เพื่อบอกความทุกข์และ ความต้องการของตน

อาจให้ทั้งชั้นเป็นผู้อภิปราย โดย “เรียกประชุมลูกบ้านของ อบต.” เพื่อปรึกษาหารือปัญหาน้ำเสีย ในลำคลองของตำบลให้ลูกบ้านคนหนึ่งเริ่มอภิปรายแล้วเรียกลูกบ้านคนต่อไปให้อภิปรายต่อ

 

การแถลงข่าว

อาจารย์ หรือนักศึกษาคนหนึ่ง แสดงบทบาทสมมติเป็นผู้ค้นพบความรู้ใหม่หรือเป็นผู้นำเสนอทางออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีมุมมองที่โต้แย้งกันในสังคมให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งแสดงบทนักข่าวอีกกลุ่มหนึ่งแสดง บทชาวบ้านในพื้นที่อีกกลุ่มหนึ่งแสดงบทชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลฯลฯให้นักข่าวถามคำถามที่ล้วง ความจริงหรือเรียกหาหลักฐาน

 

การประชุมสัมมนา(symposium)

ให้นักศึกษาคนหนึ่งไปค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นำมาเสนอต่อชั้นเรียนเพื่อนๆ ในชั้นเรียนทำหน้าที่ ตั้งคำถาม หรือให้ความเห็นสนับสนุน หรือโต้แย้ง

อาจมอบหมายให้นักศึกษา ๒ คน ทำหน้าที่ผู้วิพากษ์โดยให้โอกาสอ่านเอกสารข้อเสนอล่วงหน้า ๒ วันหลังการนำเสนอและการวิพากษ์ผู้ฟังในชั้นถามและอภิปราย

 

การสวมบท

ให้นักศึกษาเล่นละคร ในเรื่องที่มีความขัดแย้งในท้องเรื่องมีบทละครคร่าวๆ ให้ตัวแสดงแต่ละคนและแต่ละคนมีบทที่เขียน รายละเอียดคำพูดชัดเจนให้ท่องส่วนหนึ่งแต่ละคนไม่รู้รายละเอียดของบทแสดง และคำพูดของตัวแสดงอื่นหลังการแสดง ให้มีการ debrifing / reflection / AAR เพื่อหาประเด็นเรียนรู้ จากการแสดงนั้น

ตัวอย่างของเรื่องขัดแย้ง ที่นำมาเล่นลครได้

มีกรณีศึกษามากมาย ที่นำมาเล่นละครได้

 

สถานการณ์จำลองและเกม

เป็นการเรียนที่ท้าทายเร้าใจที่สุดเพราะมีแพ้ชนะแต่ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะในเกมแต่นักศึกษาชนะเสมอในการได้เรียนรู้

 

เกมวิชาการ

Academic game สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียนได้ทุกสาขาผมไม่ยกตัวอย่างในหนังสือมาบอก เพราะคิดว่าเป็นบริบทอเมริกันอาจารย์ไทยน่าจะใช้ความคิดสร้างสรรค์คิดเกมวิชาการสำหรับนักศึกษาของตนเมื่อใช้เกมวิชาการช่วยการเรียนรู้ น่าจะทำวิจัยตรวจสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ไปด้วย หากต้องการตัวอย่าง ประกอบการคิด ก็สามารถค้นใน กูเกิ้ล ด้วยคำว่า Academic game ได้

 

สถานการณ์จำลอง(simultation)

สถานการณ์จำลองเป็นกิจกรรมเสมือนจริงให้อารมณ์ความรู้สึกเสมือนจริงจึงเกิดการเรียนรู้มาก และเรียนหลากหลายด้าน ในมิติที่ลึกคล้ายเรียนจากของจริง

เมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว ผมได้เรียนรู้ “ผู้ป่วยจำลอง” ที่โรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศฝึกเอาไว้ให้นักศึกษา แพทย์เรียนโดยที่นักศึกษาไม่ทราบว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ป่วยจำลองเขาจะมาโรงพยาบาล และอาจารย์มอบหมาย ให้นักศึกษาแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้วให้การวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยจำลองของโรคไส้ติ่งอักเสบ เฉียบพลันจะเล่า ประวัติและอาการป่วย และตอบคำถามของนักศึกษาแพทย์ได้ตรงกับอาการของโรครวมทั้ง แสดงท่าทางเจ็บปวดและเมื่อนักศึกษาตรวจหน้าท้อง และกดตรงจุดสำคัญก็จะแสดงอาการสดุ้งเพราะปวด ได้เหมือนผู้ป่วยจริง

สถานการณ์จำลองในวิชาอื่นทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดจำลองบริษัทจำลองชุมชนเมืองจำลองชุมชนชนบทจำลองหน่วยราชการจำลองเป็นต้น

อาจใช้คอมพิวเตอร์ จัดสถานการณ์จำลองเสมือน (virtual simulation) ให้นักศึกษาได้ซักซ้อม ปฏิบัติการบางอย่างเช่น CAI (Computer Assisted Instruction)ห้องปฏิบัติการเสมือน ที่มีได้เป็นร้อยๆ เรื่อง

อาจแสวงหาบทเรียนสถานการณ์จำลองได้จาก ๓ แหล่ง คือ(๑) ซื้อมักซื้อได้จากสำนักพิมพ์ในราคาสองสามร้อยเหรียญ(๒) หาของฟรี จากวารสาร หรือจากการประชุมวิชาการด้านการเรียนการสอนและ (๓) ผลิตขึ้นใช้เอง ตามคำแนะนำในหนังสือ Hertel, J & Millis BJ. Using simulations to promote learning in higher education, 2002.

การดำเนินการสถานการณ์จำลองใช้เวลามากอย่างสั้นที่สุดก็ ๑ ชั่วโมงและอาจารย์ต้องให้คะแนน เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจทำเกณฑ์ให้คะแนนต้องไม่เน้นที่วาทะศิลป์ แต่เน้นที่คุณภาพของกลยุทธของการ ดำเนินการของนักศึกษา

การเรียนโดยการปฏิบัติทุกแบบต้องตามด้วยการทำ debriefing / reflection / AAR / ใคร่ครวญไตร่ตรอง เพื่อเรียนรู้ทฤษฎีจากการปฏิบัติอาจารย์จึงต้องฝึกทักษะ “คุณอำนวย” ของกิจกรรม AAR

 

เรียนโดยให้บริการ

เรียนโดยให้บริการ (Service Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาจัดทีมไปทำงานให้บริการ ชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของตนโดยอาจารย์เป็นผู้ออกแบบไว้ในใจแล้วตะล่อมให้ทีมนักศึกษา แต่ละทีม ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของตนให้ทั้งเกิดการเรียนรู้ที่ดี (ทั้งด้านวิชาการ และการบ่มเพาะ จิตอาสาตรงตามเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้)และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อชุมชน

การเรียนโดยให้บริการนี้ ก่อผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้งแก่นักศึกษาในหลากหลายด้าน และต่ออาจารย์ด้วยรวมทั้งจะมีส่วนสร้างความใกล้ชิด (engagement) ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนด้วยหากจัดได้ดี จะก่อ การเรียนรู้เชิงอารมณ์ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมที่มีพลเมืองที่ไม่นิ่งดูดาย (concerned citizen)

การจัดการเรียนโดยให้บริการที่ดีต้องการเวลาเตรียมตัวของอาจารย์ และระบบการจัดการสนับสนุนโดยต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญต่อไปนี้(๑) เป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการและความต้องการ ที่แท้จริงของชุมชนต้องตรงกันระวังกิจกรรมที่ทำแบบเหลาะแหละพอเป็นพิธี(๒) ระมัดระวังประเด็น เชิงจริยธรรมกิจกรรมนั้นเป็นการฝืนใจนักศึกษาบางคนหรือเปล่าเพราะความเชื่อของเขาไม่ตรงกับคุณค่า ในโครงการ(๓) อาจารย์และทีมงานต้องไปเตรียมพื้นที่และติดต่อทำความเข้าใจกับแหล่งงาน หรือชุมชน เป็นอย่างดีรวมทั้งตกลงกันเรื่องผู้ทำหน้าที่ โค้ช ในชุมชนด้วยคือต้องเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบัน กับชุมชนและอาจต้องร่วมกันออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ในการทำกิจกรรมอย่าเพียงบอกว่าให้ไป ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วปล่อยให้นักศึกษาไปหาที่ฝึกเอาเอง(๔) มีการจัดระบบอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา เช่น การเดินทางระบบความปลอดภัยการประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ

อย่าลืมทำ reflection ซึ่งอาจมีส่วน auto-reflection โดยการทำบันทึกประจำวัน หรือประจำครั้ง ที่นักศึกษาออกไปทำกิจกรรมสะท้อนความรู้สึกและการเรียนรู้ของตนจะยิ่งดี หากเขียนลง บล็อก ในระบบของรายวิชา เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมวิชาได้อ่านและร่วมสุนทรียสนทนาผ่านระบบไอซีที จะเกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดการเรียนรู้ที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกยิ่งขึ้น

หนังสือแนะนำแหล่งความรู้ Michigan Journal of Community Service-Learning และ Journal of Public Service and Outreach และผมยังพบ Journal of Higher Education Outreach and Engagement อีกด้วยน่าจะมีแหล่งค้นคว้าเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยให้บริการชุมชนอีกมากมาย

ผมมีข้อเตือนใจว่า ในบริบทไทย การจัดการเรียนรู้แบบนี้เสี่ยงต่อการดำเนินการเล่นๆเหลาะแหละสักแต่ว่าให้ได้ทำไม่ได้เรียนรู้จริงตามเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้และมีผลร้าย คือสร้างนิสัยเหลาะแหละ ให้แก่นักศึกษา

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ส.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 พฤศจิกายน 2014 เวลา 16:06 น.