การปฏิรูปองค์กร

วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2014 เวลา 00:00 น. Axel Winter บทความ - การศึกษา
พิมพ์

สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) กำลังเข้ามาเป็นยุทธศาสตร์ทางธุรกิจและเทคโนโลยี และเป็นแนวในการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจของหลายองค์กร ซึ่งหน้าที่หลักก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กร สถาปนิก ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาจะต้องเข้าใจกระบวนการทำงานขององค์กรเสียก่อน แล้วจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ผลตามที่คาดหวัง ซึ่งควรจะตระหนักไว้เสมอว่า เป้าหมายหลักจะต้องอยู่ที่ผลงาน ไม่ใช่เพียงการสร้างตัวแบบสวยๆ ตามหลักวิชาการ เมื่อเป็นเช่นนั้น หน่วยงานที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ก็ควรจะต้องมีการจัดการในแนวทางเดียวกันกับเป้าหมายขององค์กร ทั้งในแง่ของความมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการเพิ่มรายได้ ความคล่องแคล่วว่องไว การมุ่งเน้นที่คุณภาพ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นกรอบให้กับการจัดการ       เรื่องอื่นๆ

มิติในการขับเคลื่อน

มิติของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตามบริบทในธุรกิจนั้นๆ ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์โดยตัวมันเอง และยังรวมไปถึงการจัดลำดับความสำคัญ และการกำหนดคุณสมบัติของกลยุทธ์หลักๆ ที่จะต้องจัดโครงสร้างองค์กรเข้ารองรับ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะกำหนดกลยุทธ์เป็นการขยายตัวทางภูมิศาสตร์ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจอุปโภคบริโภค คุณสมบัติที่ต้องมีคือ ความเร็วในการติดตั้งสินค้า ส่วนงานเทคโนโลยี ก็จะต้องพิจารณาเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลง และไม่จำกัดตัวอยู่กับการจัดส่งสินค้าไปตามลำดับ แต่จะต้องหาทางที่เร็วขึ้น ต้องจัดหาสินค้าที่คุณภาพดีขึ้นมากกว่าการจำกัดอยู่แต่การขายสินค้าโภคภัณฑ์ จากผู้ค้ารายเดิมๆ และถึงจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ก็ไม่เป็นเรื่องที่ต้องห่วง แต่ควรจะให้ความสำคัญต่อการจัดส่งอย่างมีคุณภาพ ซึ่งการจะได้สิ่งนี้มาก็ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และใช้ประสบการณ์ที่อาจจะได้มาอย่างยากลำบาก ต้องมีการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ และผลักดันให้เกิดผลิตภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์โยงใยอยู่กับการดำเนินงาน

เทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อกระบวนการต่างๆ ต่อการกำหนดชุดของตัวชี้วัด และความต้องการขององค์กร รวมไปถึงการเคลื่อนไปสู่องค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลาง เจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เน้นเรื่องกระบวนการมักจะละเลยเป้าหมายขององค์กร และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องทำไปตามขั้นตอนก่อนอย่างอื่น แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน พนักงานก็จะได้รับการสนับสนุนที่ดีกว่า (ซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้รวดเร็วกว่า)

การจะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ก็อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปถึงวัฒนธรรมองค์กร พอๆ กับที่ต้องพัฒนาทักษะของพนักงาน และจะต้องมีการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็ง ผมเป็นแฟนตัวยงของการพัฒนาบุคคลากร การทำให้พวกเขาเก่งขึ้น แข็งแรงขึ้น เร็วขึ้น จะทำให้เขาสร้างสรรค์องค์กรที่ประหยัดกว่า ดีกว่า และคล่องแคล่วกว่าได้

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2014 เวลา 14:39 น.