ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนและเอเชียศึกษา

วันเสาร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ได้รับเชิญจากศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา สถาบันบันฑิตพัมนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนและเอเชียศึกษา (ASEAN Expert Forum) เรื่อง " ทิศทางความร่วมมือทางการศึกษาของอาเซียน" ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น ณ.ห้องประชุมสิริวัมนภัคดี อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ผมไปถึงสถานที่ประชุม ก่อนเวลา เจ้าหน้าที่เชิญให้ไปพักในห้องรับรอง ซึ่งอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร ห้องรับรองสวยมาก นอกเหนือจากนั้นยังสามารถเดินออกไปชมวิวด้านนอกห้องรับรอง มองเห็นวิวทิวทัศน์ของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสวยงานมาก ได้พบ รศ.เมตตา วิวัฒนานุกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่งรับลมเย็นอยู่ด้านนอกเพียงท่านเดียว ได้เข้าไปแนะนำตัว และสนทนากันสักพัก ผมทนไม่ไหวเนื่องจากลมพักมาแรงอากาศหนาวมาก ทั้งๆที่ใส่เสื้อนอก จึงชวน รศ.เมตตา เข้ามาคุยกันในห้องรับรอง สักพักจึงมีผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆทยอยเข้ามาร่วมสนทนาเป็นวงใหญ่ขึ้น  จนถึงเวลาประชุมจึงพากันเข้าห้องประชุม ผมและ  Mr'Lee Chong Hock Deputy Chief of Mission and Minister-Counsellor,The Embassy of Singapore เข้าห้องประชุมเป็นคู่สุดท้ายเนื่องจากยังสนทนาติดพันในเรื่องของการคาดการณ์ในการสร้างคนในอนาคตข้องหน้า

มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 32 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 ท่านได้แก่
1.Mr.Lee Chong Hock Deputy Chief of Mission and Minister-Counsellor,The Embassy of Singapore
2.Mr.Edgar B.Badajos Minister and Consul General,Philippine Embassy
3.Ms.Nordiana Zin Zawawi Second Secretary,Embassy of Malasia
4.Mr.Pittipong Techo, Information Assistant II,Embassy of Malasia
5.ผศ.ดร. การาดี เลียวไพโรจน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร C.asean
6.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
7.ว่าที่ ร้อยตรี เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.นายพจน์ หาญพล ผู้อำนวยการกองสังคมและวัฒนธรรม กรมอาเซียน
9.นายมานากรณ์ เมฆประยูรทอง นักการทูตศึกษาชำนาญการพิเศษ กองสังคมและวัณนธรรม กรมอาเซียน
10.นางสาวประภา ทันตศุภารักษ์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ สภาการศึกษา
11.นางสาวพัชรี กล่อมเมือง ศูนย์ศึกษาอาเซียน คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
12.นาวาอากาศเอก ภูมิใจ เลขสุนทรากร ผู้อำนวยการกองภูมิภาคศึกษา ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
13.นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา
14.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประธานอนุกรรมการด้านทุนมนุษย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
15.รศ.เมตตา วิวัฒนานุกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ กรรมการสภาที่ปรึกษาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรนโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต
17.ผศ.รุจิระ โรจนประภายนต์
18.ดร.ณัฐพร ไทยจงเจริญ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
19.ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผู้เข้าร่วม จำนวน 13 ท่าน
1.นางสาวปารณีย์ เทศขยัน เจ้าหน้าที่ฝ่าย AEC และกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
2.นายเหมพัสสิริ หว่างพัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
3.ดร.ไพศาล การถาง ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
4.ผศ.ดร.อนุพงษ์ อินฟ้าแสง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี
5.คุณอารีรัตน์ จันทรโพธิืศรี อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
6.รศ.ดร.ธนวดี บุญลือ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสยาม
7.ผศ.สมชาย บุญญบาล มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
8.รศ.ดร.อารี พันธ์มณี หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
9.คุณอรวรรณ ลีลาเกียรติวณิช ผู้ประสานศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
10.ผศ.อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
11.นางสาวอัยนา เจะมะ นักวิเทศสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎธัญบุรี
12.ดร.คม คัมภิรานนท์ ผู้อำนวยการกิงวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิตย์
13.คุณสุนีย์ สถาพร ผู้อำนวยการด้านเอกชนสัมันธ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เปิดประชุมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมธิการปฎิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ  และ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา

Moderated by Assistant Professor Savitri Gadavanij,Ph.D., Associate Dean for Academic Affairs,Graduate School of Language and Communication,NIDA

Topic of Discussion

Part 1.

 

 

Part 2

 

 

การดำเนินการประชุมใช้ภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นผมที่ขอแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาไทย เนื่องจากผมเห็นว่าประเด็นที่ประชุมนี้สำคัญต่อภาคการศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เวลาที่จะแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนน้อยมาก จึงจำเป็นต้องใช้ทักษะการลำดับความสำคัญและนำเสนออย่างชัดเจนในเวลาที่จำกัด สิ่งที่ผมนำเสนอเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงและทำความเข้าใจยาก จึงตัดสินใจใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษา่ที่ผมคุ้ยเคยและใช้อยู่เป็นประจำทุกวัน ประกอบกับผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากก็เป็นคนไทย มีต่างชาติเข้าร่วมประชุมไม่กี่คน การนำเสนอเป็นภาษาไทยจะสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้มากกว่า ทั้งคุณภาพและปริมาณผู้รับฟัง โดยให้ผู้ดำเนินรายการสรุปเป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติฟัง ถึงแม้นการสรุปจะไม่ครบเต็มตามที่ผมนำเสนอ ก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่ผมสามารถสื่อสารให้กับคนไทยที่เข้าร่วมประชุมเข้าใจประเด็นการนำเสนอของผมได้มากกว่า
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
7 กุมภาพันธ์ 2558



แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 22:35 น.