ชีวิตที่พอเพียง : 2970b โรงงานผลิตปัญญา : 3. ฝ่าคลื่นลม..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/631454

วันจันทร์ที่ 24 กรกฏาคม 2017 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

บันทึกชุด โรงงานผลิตปัญญา ตีความจากหนังสือ Wisdom’s Workshop :  The Rise of the Modern University    สำหรับตอนที่สามนี้ ตีความจากบทที่ 2  Oxbridge

ผู้เขียน คือนักประวัติศาสตร์ใหญ่ James Axtell บอกว่า ในช่วงเวลาแปดเก้าร้อยปี  มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ต และเคมบริดจ์ ได้สร้างคุณูปการยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศสหราชอาณาจักร    ซึ่งผมคิดว่า จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยก็ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน ให้แก่ประเทศไทย

ที่น่าชื่นชมคือ ในสังคมตะวันตกเขาทำงานวิชาการจากเรื่องจริงออกเผยแพร่อย่างตรงไปตรงมา    ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต    ทั้งจากประสบการณ์ด้านบวก และประสบการณ์ด้านลบ    แม้กษัตริย์ก็ไม่เว้น    

มหาวิทยาลัยในยุโรป เกิดจากประชาชนร่วมกันตั้ง    โดยมีเหตุผลว่า สังคมจะเจริญก้าวหน้าต้องมีคนที่มี ความรู้ มีภูมิปัญญา และมั่นคงในคุณงามความดี ทำหน้าที่ดูแลขับเคลื่อน    และมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิต คนเหล่านั้นให้แก่สังคม    ทั้งคนที่เป็นพระ เป็นขุนนาง และเป็นนักปราชญ์     ดังนั้นวงการที่มีทรัพยากร และมีอำนาจก็จะช่วยกันสนับสนุนค้ำจุนมหาวิทยาลัย  

ผมมีข้อสังเกตว่า ตั้งแต่เริ่มมีมหาวิทยาลัย ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า มหาวิทยาลัยต้องมีเสรีภาพทางวิชาการ    ไม่ตกอยู่ภายใต้บงการทั้งของศาสนจักร และของอาณาจักร    แต่ในความเป็นจริง มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดและ เคมบริดจ์ต่างก็ต้องเผชิญและผ่อนปรนกับสารพัดอำนาจ    เพื่อดำรงความมั่นคงทางวิชาการเอาไว้    ผมตีความว่ามหาวิทยาลัยทั้งสอง ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 – 18 ต้องฝ่าคลื่นลมจากสภาพแวดล้อม ภายนอกต่อไปนี้

ผมคิดเอาเองว่า  วิชาการมีลักษณะข้ามพรมแดนชาติและศาสนา    จึงเกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทศิลปะ วิทยาการของต่างสำนักได้ง่าย    เป็นกลไกให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ

ในยุคปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทย กำลังฝ่าคลื่นลมอะไรบ้าง? 

วิจารณ์ พานิช

๓ ก.ค. ๖๐ 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand

คัดลอกจาก:https://www.gotoknow.org/posts/631454