วิจัยเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรเพื่อปฎิรูปการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

โครงสร้างการเรียนรู้แห่งศตวรรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ คงต้องมีการวิจัยและปรึกษาหารือกัน ผมทราบแต่หลักการ ว่าการสอนแบบบรรยายจะต้องน้อยลงมาก ผมเดาว่าควรเหลือสัก 10-20% ของปัจจุบัน ทดแทนด้วยการเรียนผ่าน ไอซีที ด้วยตนเอง ใช้เวลาที่อาจารย์-นักศึกษาพบกัน (contact hour) ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าสูง คือเรียนแบบ active learning ตามด้วย reflection ให้เกิด mastery learning และเกิดการฝึกทักษะเชิงซ้อนหลากหลายด้านในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะทักษะด้านการเรียนรู้ รวมทั้งใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของ นศ. แต่ละคนไปในตัว

 

 

โครงสร้างหลักสูตร และรูปแบบการเรียนรู้ ในอุดมศึกษาไทย ยังเป็นรูปแบบของศตวรรษที่ ๒๐  ยังไม่ได้รับการปรับให้เข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑

เรายังยึดติดอยู่กับโครงสร้างการเรียน แบบ 3 (x-y-z)  เลข 3 หมายถึง 3 หน่วยกิต  x หมายถึงจำนวนชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์  y หมายถึงชั่วโมงปฏิบัติต่อสัปดาห์  และ z หมายถึงชั่วโมงศึกษาเอง (independent study) ต่อสัปดาห์   โครงสร้างนี้ เป็นโครงสร้างแห่งศตวรรษที่ ๒๐  เน้น passive learning  หรือเป็นโครงสร้างการสอน ไม่ใช่โครงสร้างการเรียน  ยังเน้นที่สาระ (content) วิชา

โครงสร้างการเรียนรู้แห่งศตวรรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ  คงต้องมีการวิจัยและปรึกษาหารือกัน   ผมทราบแต่หลักการ ว่าการสอนแบบบรรยายจะต้องน้อยลงมาก  ผมเดาว่าควรเหลือสัก 10-20% ของปัจจุบัน  ทดแทนด้วยการเรียนผ่าน ไอซีที ด้วยตนเอง  ใช้เวลาที่อาจารย์-นักศึกษาพบกัน (contact hour) ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าสูง คือเรียนแบบ active learning ตามด้วย reflection  ให้เกิด mastery learning  และเกิดการฝึกทักษะเชิงซ้อนหลากหลายด้านในเวลาเดียวกัน  โดยเฉพาะทักษะด้านการเรียนรู้  รวมทั้งใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของ นศ. แต่ละคนไปในตัว

นั่นคือ ห้องเรียนส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด?) จะเป็น “ห้องเรียนกลับทาง”

การเรียนส่วนใหญ่ จะเรียนจากสถานการณ์ ทั้งสถานการณ์จริงและสถานการณ์สมมติ  เพื่อให้เป็นการเรียนจากการปฏิบัติ  และส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นทีม เพื่อให้เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม

การทดสอบ หรือประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ เน้นประเมินทักษะทั้งด้านทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะการียนรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร คือต้องประเมินให้ครบทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั่นเอง  โดยประเมินว่ามีการพัฒนาครบทั้งด้าน head, heart และ spirit  คือให้มั่นใจว่าเกิดการเรียนรู้บูรณาการ  หรือมองอีกมุมหนึ่ง เกิดการพัฒนาครบทั้ง ๕ ด้าน คือ intellectual, social, emotional, physical และ spiritual

การประเมินทั้งหมดนั้น ส่วนใหญ่ประเมินโดยตัว นศ. เอง  อีกส่วนหนึ่งประเมินโดยทีมอาจารย์ผู้ทำหน้าที่ “คุณอำนวย”  โดยคณะ/มหาวิทยาลัย มีกลไกตรวจสอบความแม่นยำของการประเมิน  เพื่อกำกับคุณภาพ  และมีกลไกตรวจสอบระดับชาติกำกับความแม่นยำในการประเมินของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกทีหนึ่ง

โปรดสังเกตว่า ผมไม่เชื่อว่ากลไกสอบรวมเป็น national test ต่อผู้เรียนเป็นรายคน เป็นสิ่งที่ดี  ผมเชื่อว่ากลไกระดับชาติควรทำหน้าที่ประเมินสถาบันจะดีกว่า  ส่วนการประเมินผลสัมฤทธิ์เป็นรายคนมอบความไว้วางใจให้แก่สถาบัน  และจริงๆ แล้ว นศ. ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการประเมิน

ความคิดของผมเป็นอุดมคติเกินไป ใช้ไม่ได้ในสภาพสังคมที่ไม่น่าไว้วางใจใครเลยหรือเปล่า ผมไม่ทราบ  แต่ผมคิดว่า เราต้องช่วยกันสร้างสังคมไทย ให้เป็นสังคมของคนที่น่าเชื่อถือ  มีความซื่อสัตย์สุจริตไว้วางใจได้  เราต้องช่วยกันทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ให้ได้  และการศึกษาคือเครื่องมือที่สำคัญที่สุด

การวิจัย เป็นกลไกสำคัญ ต่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญยิ่งนี้

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ มี.ค. ๕๖

ห้องพักรับรอง อาคารประสานใจ ๑  ห้อง B 201  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/535965