เด็กที่เรียนกวดวิชามาก การเรียนรู้ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้ต่ำ

วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ในการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เมื่อเช้าวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖  ช่วงที่ว่าด้วยเรื่อง ผลการประเมิน PISA ในประเทศไทย ดร. ปรีชาญ เดชศรี แห่ง สสวท. บอกว่า ผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบ PISA ของนักเรียนไทย ได้ผลออกมาชัดเจน แต่ท่านไม่กล้าพูดให้สาธารณชนรับรู้อย่างกว้างขวาง ว่าในกลุ่มเด็กที่กวดวิชามาก ผลการสอบ PISA ได้คะแนนต่ำ


ผมแปลกใจ ว่าทำไมท่านไม่ออกมาบอกสังคมให้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง  เพราะนี่คือความจริงจากผลการวิจัย  และความรู้นี้จะช่วยยืนยันต่อพ่อแม่ และนักเรียนที่ไม่ต้องการไปกวดวิชา  ว่าการกวดวิชาไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่แท้จริง


ผมตีความว่า เพราะการกวดวิชาเป็น teach for test  ไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง  แต่ PISA วัดการเรียนรู้ที่แท้จริง  คือข้อสอบ PISA เป็นข้อสอบที่โจทย์เน้นการเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน   คนที่ทำโจทย์ได้คือคนที่เรียนรู้ลึกในระดับนำความรู้ไปแก้ปัญหาได้


ผลการวิเคราะห์รายละเอียดของผลการสอบ PISA ของเด็กไทย  ตามที่ ดร. ปรีชาญ บอก  เป็นหลักฐานหนึ่งที่บอกเราว่า การเรียนกวดวิชาไม่ใช่การเรียนรู้ที่ดี ตามแนวทางของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543989

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 09:51 น.