สันติภาพกับความมั่งคั่ง

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์
ความรุนแรงเป็นตัวถ่วงความเจริญ หากสามารถหมุนกลับวงจรแห่งความชั่วร้าย ความขัดแย้งความรุนแรง - ภาระทางเศรษฐกิจ ไปเป็นวงจรแห่งความดี สันติภาพ - ความมั่งคั่ง สังคมจะน่าอยู่ขึ้นมาก

สันติภาพกับความมั่งคั่ง

บทความเรื่อง Peace and prosperity go hand in hand ใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๔ ต.ค. ๕๖ ให้ความรู้ผมมาก   และทำให้ผมสงสัยว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับความประเสริฐ และจุดอ่อนภายในตัวพร้อมๆ กัน   จุดอ่อนสำคัญคือสัญชาตญาณความรุนแรง   ที่กัดกร่อนความมั่งคั่ง หรือความอยู่ดีกินดีของมนุษยชาติ

ผู้เขียนบทวามนี้คือ Steve Killelea, Executive Chairman ของ Institute for Economics and Peace   ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาความรุนแรงก่อภาระด้านเศรษฐกิจแก่โลกถึงร้อยละ ๑๑ ของ จีดีพี ของโลก   หากลดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านต่อสู้กับความขัดแย้ง และความรุนแรงลงได้สักครึ่งหนึ่ง   จะมีเงินเอาไปใช้ก่อประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ได้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ

หมายความว่า เวลานี้ความรุนแรงเป็นตัวถ่วงความเจริญ   หากสามารถหมุนกลับวงจรแห่งความชั่วร้าย ความขัดแย้งความรุนแรง - ภาระทางเศรษฐกิจ   ไปเป็นวงจรแห่งความดี สันติภาพ - ความมั่งคั่ง    โลกจะน่าอยู่ขึ้นมาก

การบริหารประเทศที่ดี คือการหมุนวงจรแห่งความดี

วิธีการคือ การลงทุนด้านการศึกษา ดังตัวอย่างที่ดีคือประเทศสแกนดิเนเวีย

ประเทศไทยอยู่ในวงจรความขัดแย้ง หรือวงจรสันติภาพ?    ตรวจได้ง่ายๆ ด้วย Global Peace Index เราอยู่ที่อันดับ ๑๓๐ จาก ๑๖๒ ประเทศครับ

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich