การเมืองเรื่องสถิติเศรษฐกิจ

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2017 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

"นี่คือเรื่องการเมืองว่าด้วยการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล เราควรเอาใจใส่การเมืองภาพใหญ่ของสังคม ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องเล็กๆ จุกจิก และเรื่องระยะสั้น อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน"

การเมืองเรื่องสถิติเศรษฐกิจ

บทความใน นสพ. Financial Times ฉบับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หน้า ๙ เรื่อง A measure that cuts statistics off from reality เขียนโดยศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ Diane Coyle แห่งมหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ น่าอ่านมาก    อ่านง่าย และอ่านแล้วเปิดกระโหลกผม    ว่าดัชนีบอกความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้ในปัจจุบัน (คือ จีดีพี) มันหลอกลวง หรือชักนำไปในทางที่ทำให้สังคมเสื่อมโทรมอย่างไร

จีดีพี ไม่ได้สะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งหมด    สะท้อนเฉพาะเศรษฐกิจตลาด หรือภาคที่เป็นทางการเท่านั้น    เขาเรียกว่า marketed economic activity    ละเลยเศรษฐกิจนอกภาคตลาด ที่เขาเรียกว่า total economic welfare  

ครอบครัวที่ภรรยาอยู่บ้านดูแลเลี้ยงดูลูก ให้เติบโตเป็นคนแข็งแรง สมองดี จิตใจดี เป็นพลเมืองดีของสังคม ไม่มีส่วนยกระดับ จีดีพี    แต่มีส่วนยกระดับ total economic welfare    เพราะตามทฤษฎี capability ของ Amartya Sen   ระดับการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นการยกระดับเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง    และอยู่ในหมวด total economic welfare   

บทความบอกว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า สถิติว่าด้วยเศรษฐกิจ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลง    ให้นับพัฒนาการส่วนที่ไม่เป็นเงินอย่างครอบคลุมมากขึ้น    ได้แก่ สินทรัพย์ทางธรรมชาติ (natural capital),  สินทรัพย์ที่นับไม่ได้ (intangible assets),  โครงสร้างพื้นฐาน  สินทรัพย์ทางสังคม (social capital),  และทรัพยากรมนุษย์  

เขาทำนายว่า จีดีพี จะหมดความหมายภายใน ๑๐ - ๒๐ ปี

ผมมองว่า นี่คือเรื่องการเมืองว่าด้วยการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล    เราควรเอาใจใส่การเมืองภาพใหญ่ของสังคม    ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องเล็กๆ จุกจิก  และเรื่องระยะสั้น  อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๖๐

สนามบินเชียงใหม่


 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน บันทึกการเมืองไทย

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2017 เวลา 22:32 น.