ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๑๗. เคาะกระโหลกด้วยกะลา : AAR จากการเปิดรับ tacit และ explicit knowledge จากโรงเรียนนอกกะลา

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

 

จะว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบผมเขียนบันทึกที่๑จากการไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยยังไม่ได้อ่านหนังสือ๒เล่มที่ผมซื้อติดมือมาคือโรงเรียนนอกกะลากับคนบนต้นไม้ทั้งสองเล่มเขียนโดยผอ.วิเชียรไชยบัง

ที่ว่าโชคดีก็เพราะทำให้ผมเขียนจากการตีความกระท่อนกระแท่นของผมเองจากการไปเห็นและฟังจากครูบันทึกนั้นจึงถือว่าเป็น original idea หรือการตีความของผมล้วนๆ

ที่ว่าโชคร้ายก็คือที่ผมตีความนั้นมีอยู่แล้วทั้งหมดในหนังสือ๒เล่มนี้มีมากกว่าที่ผมตีความได้อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ "ทำอย่างไร" (how)   และ "ทำไมจึงทำอย่างนั้น" (why)

บันทึกนี้จึงได้จากการตีความและใคร่ครวญจากความรู้๒แหล่งจากการไปเยี่ยมชื่นชมกับการอ่านหนังสือและเข้าเว็บเข้าบล็อก (lamplaimatpattanaschool.blogspot.com) รวมทั้งดู YouTube (ค้นด้วยคำว่า LPMPและคำว่า โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา)

ผมตีความว่าที่โรงเรียนนี้นักเรียนและครูใช้ (ฝึก) KM อยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกตัวและสิ่งที่ลปรร.กันนั้นส่วนใหญ่เป็น tacit knowledge คือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ

ผมได้รู้จักPygmalion Effect หรือ Rosenthal Effect เป็นทฤษฎีที่บอกว่าพฤติกรรมของครูมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหากครูคิดว่าเด็กบางคนไม่เก่งท่าทีแบบไร้สำนึกของครูจะไปลดความเชื่อถือตัวตนของเด็กทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองไม่กล้าจินตนาการการที่ครูจำแนกเด็กเก่งไม่เก่งจึงก่อผลร้ายต่อการเรียนรู้พัฒนาการและอนาคตของเด็กส่วนใหญ่ตรงกันข้ามถ้าครูยกย่องชมเชยให้กำลังใจและแสดงความคาดหวังที่สูงต่อเด็กเด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ลองอ่าน Wikipedia หัวข้อPygmalion Effectดูนะครับว่าที่จริงแล้วท่าทีและความคาดหวังของนักเรียนต่อครูที่เป็นด้านบวกจะให้ผลทำนองเดียวกันคือทำให้เป็นครูที่ดีขึ้นทำให้ผมคิดต่อว่าที่จริงในชีวิตประจำวันของผู้คนหากเราสัมพันธ์กันด้วยจิตวิทยาเชิงบวกความคาดหวังต่อกันเชิงบวกจะเกิด synergy ระหว่างกันกระตุ้นซึ่งกันและกันให้ทำงานประสบความสำเร็จได้ดีขึ้นที่จริงนี่คือบรรยากาศที่เราสร้างสำหรับใช้เครื่องมือ KM ในการทำงานนัก HRD ดู YouTube เรื่อง Pygmalion Effect : Amanaging the Power of Expectations, 3rd Ed ได้ที่นี่และมีคนแนะใน YouTube ว่าหนังคลาสสิคเรื่อง My Fair Lady เป็นตัวอย่างของ Pygmalion Effect ที่ดี

นี่คือทฤษฎีหรือวิชาการว่าด้วยโลกแห่งมิตรไมตรีที่ผู้คนใช้จิตวิทยาเชิงบวกต่อกันกระตุ้นความมานะพยายามต่อกันและกันโลกจะก้าวหน้าและงดงามขึ้น

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตีความ IQ ใหม่เป็น Intellectual Qutient (สติปัญญา) ไม่ใช่ Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) เพราะ Intelligent Quotient เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเปลี่ยนแปลงยากแต่ Intellectual Quotient พัฒนาได้อย่างมากมายและหลากหลายวิธีเป็นสิ่งที่โรงเรียนควรเน้นหรือเอาใจใส่พัฒนาเด็ก

ผมชอบบทสรุปในหนังสือคนบนต้นไม้หน้า๘๘ "ความฉลาดทางวิชาการและความฉลาดทางสังคม (พฤติกรรม) ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ IQ (ในที่นี้หมายถึง Intelligent Quotient) ของเด็กแต่สัมพันธ์กับความคาดหวังของครูต่อเด็ก"   และข้อความในหน้า๑๔๑ "ความรู้เป็นเรื่องของอดีตแต่จินตนาการเป็นเรื่องอนาคตที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด"

จะเข้าใจวิธีคิดออกแบบการดำเนินการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดีต้องเข้าไปอ่านบันทึกของผอ.วิเชียรในLamplaimatpattanaschool.blogspot.comดู YouTubeและค้น Googleโดยค้นด้วยคำว่าlpmp,โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสารคดีแผ่นดินไท๓ตอนใน YouTube น่าเข้าไปดูเพื่อทำความเข้าใจมากดูได้ที่นี่ตอนที่๑๒๓จะเข้าใจได้ดีจริงๆต้องไปฝึกงานคือต้องเรียนรู้จากการลงมือทำแล้วตีความจากสัมผัสของตนเองและอ่านหนังสือและดูวิดีโอประกอบจึงจะเข้าใจได้ลึกจริงๆเพราะโรงเรียนนี้ได้สร้างวิธีการ 21st Century Learning แบบของตนเอง มายาวนาน ๘ ปี   ผ่านการเรียนรู้และปรับตัวมากมาย   และยังเรียนรู้และปรับตัวต่อเนื่อง

ผมตีความว่า นี่คือองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization)    และดำเนินการแบบ เคออร์ดิค อย่างแท้จริง    โดยที่ครูทุกคนเป็น “ครูเพื่อศิษย์

 

 

วิจารณ์ พานิช 
๕ ต.ค. ๕๔

คัดลอกจาก        http://www.gotoknow.org/posts/465409

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2013 เวลา 08:37 น.