โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคใต้)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557

ณ ห้องประชุมนางยวน โรงแรมดิโอวาเลย์ จ.สุราษฎร์ธานี

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

จุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษา

1. สภาพปัจจุบันในทุกมุมมอง ทุกมิติ ปัญหาปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

2. มาตรฐานทางเทคนิค การส่งเครื่องอุปกรณ์ การบริหารจัดการ มีข้อแนะนำอย่างไรบ้างที่เป็นประโยชน์ในอนาคต

3. ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไรจากสื่อของเรา ความต้องการจริง ๆ จากสื่อมวลชนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร

4. การกำกับดูแลที่ผ่านมามีปัญหาตรงไหน อยากปรับปรุงตรงไหน

ประเด็นที่ได้จากที่ประชุมที่ผ่านมา

ประเด็นที่ 1 คือการปฏิบัติตามกฎหมาย ตรวจสอบตามระเบียบ

ประเด็นที่ 2 คือการดูแลกันเองจากการรวมกลุ่มกัน มีองค์กรชัดเจนหรือไม่ ทั้งดูแลตนเองโดยตรง

ประเด็นที่ 3 คือการดูแลโดยภาคประชาชนหรือที่เรียกว่า Social Sanction ทำอย่างไรให้มีภาคประชาชนเข้มแข็ง รัฐบาลโปร่งใส

ประเด็นที่ 4 คือการร่วมกันอภิปราย

ประเด็นที่ 5 คือการพัฒนาทุนมนุษย์ ผู้ประกอบการ

ประเด็นการประชุม

1. สภาพปัญหาปัจจุบัน

2. สภาพปัญหาทางเทคนิค

3. ภาคประชาชน

4. การกำกับดูแล

5. หัวข้อหรือแนวคิดทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ต่าง ๆ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การกำกับดูแลขาดการทำอย่างต่อเนื่องไป หลังจากปี 2543 คณะกรรมการที่ปรึกษาดูแลไม่มี หลังจากนั้นจึงได้มีการปล่อยให้วิทยุชุมชนตั้งได้เรื่อย ๆ เกิดการตั้งขึ้นมามากมาย จนกระทั่งปี 2553 ได้มีกสทช.ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย

ปี 2551 มีการออก พ.ร.บ.กำกับทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎหมาย มีการกำหนดสถานีวิทยุ 3 ประเภท คือ วิทยุสาธารณะ วิทยุท้องถิ่น วิทยุชุมชน

วิทยุชุมชน กฎหมายห้ามโฆษณา ดังนั้นต้องให้ความรู้กับท้องถิ่น ต้องมีการสนับสนุนเงินเพื่อให้อยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องให้รู้ว่ากฎหมายคืออะไร โดยเจตนารมณ์ที่ทำมาเขียนโดยเจตนาเดิม แต่สภาพที่ปัจจุบันเกิดการแตกหน่อ จะบังคับให้ตามกฎหมายได้อย่างไร

วิทยุเป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อคนฟังมากที่สุด สามารถทำให้ชักจูงความคิดของคนได้ ต้องไม่ลืมว่าการสื่อสารใด ๆ ต่อไปได้รับอิทธิพลทั้งหมด ทุกท่านมีส่วนสำคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารกับความรู้ให้กับชุมชน

ให้คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเอง เพราะถ้าคิดถึงตนเองมากเกินจะทำให้เกิดความล้มเหลวของกฎหมาย ของสังคม ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกอย่างมีได้มีเสีย

กสทช.ดูวิทยุมี 28 คน นอร์เวย์มี 30 คน รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ การบังคับการไม่ยาก

ประเทศไทยมีสถานีวิทยุ 7,000 กว่าแล้วมีการขยายตัวต่อเนื่องตอนนี้ประมาณหมื่นกว่าสถานี แต่ประเทศนอร์เวย์ไม่ทำอย่างนี้ เพราะเขาเคารพสิทธิ์ของกันและกัน

ประเด็นคือหาทางออก หาทางร่วมทำอย่างไรให้อยู่ในกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต้องช่วยกัน ลืมประโยชน์ส่วนรวม ลืมสิทธิคนอื่น เราต้องช่วยแก้จากสิ่งที่แย่ในอดีต ทำประโยชน์ ทำคุณค่า วิทยุกระจายเสียงให้ดี ให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติให้ได้

ร่วมกันแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด อยากเห็นการพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ของประเทศเราให้ทันสมัย มีคลื่นมากขึ้น ให้มีการรบกวนน้อยลง

ระบบดิจิตอล นอร์เวย์ กับสวีเดนเริ่มทำ ปัญหาคือเรื่องเครื่องรับดิจิตอล เช่น วิทยุที่รถยนต์ และบ้าน มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง การเร่งเกิดสิ่งนี้ขึ้นมาแล้วดีหรือไม่ ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่ หรือตอบสนองภาคธุรกิจ ให้สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ให้มองโดยส่วนรวมให้มากที่สุด อย่าเพียงแค่มองมุมของเรา

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

สื่อวิทยุกระจายเสียงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการทำงานในวงกว้าง

ปี 2470 ทดลองออกอากาศครั้งแรก

ปี 2473 มีการออกอากาศสถานีวิทยุครั้งแรกที่วังพญาไท ถ่ายทอดพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายเปิดวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเพื่อ ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย

ทำไมมีการปฏิรูปในปี 2540 เพื่อความบันเทิงแก่พ่อค้า ประชาชน การเมือง การปลุกระดมต่าง ๆ

การทำงานด้านวิทยุกระจายเสียงก็คือเครือข่าย เราได้รับเกียรติจาก กสทช. ทุกระดับของทุกจังหวัดอยู่ด้วยกัน ในภาคใต้การทำงานของกสทช.กับวิทยุกระจายเสียงไปด้วยกัน การปลุกระดมให้วิทยุกระจายเสียงไปภาคต่าง ๆ กสทช.ใช้ความอะลุ่มอล่วยอย่างมาก

ปี 2475 – 2510 วิทยุอยู่ในมือข้าราชการทหารเป็นหลัก

2532 – 2540 มีการเอาคลื่นมาใช้ในเครื่องต่าง ๆ กว้างขวาง เงินไม่เข้ารัฐ เงินอยู่ในระบบอุปถัมภ์ ผู้ประกอบการ นายทุน ค่าเช่า

2540 การปฏิรูปสื่อ

หลังปี 2540 กฎหมายเป็นของชาติ มีสิทธิในการเข้าถึงและเท่าเทียม

พระราชบัญญัติกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

1. สื่อของรัฐ

2. สื่อของธุรกิจเอกชน ราชการไม่ปิดกั้นแต่ต้องประมูล มีกองทุนแบ่งให้กับชุมชน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ชุมชนแท้ ๆ แต่อยู่ที่การกระจายธุรกิจแท้ ๆ ปัญหาคือการหาโฆษณาหรือหารายได้เลี้ยงตนเอง ท่านต้องการอะไรเป็นเหตุเป็นผลและนำเสนอมา

ปัญหาคือ ไม่มีอุปกรณ์ความถี่ในการจัดสรรคลื่น กสทช.พยายามอยู่ตลอดเวลาก่อนการเปลี่ยนเป็นดิจิตอลในการกระจายเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ก็สามารถเกิดปัญหาได้อยู่ดี

กสทช. วางหลักเกณฑ์ส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อยต่างกัน

คุณอดิเรก วีระกิจ ผอ.สนง.กสทช. เขต 4 สงขลา

ภาคใต้ มี 5 เขต คือ

1. สงขลา เขต 4 รับผิดชอบสงขลา และภาคใต้ตอนล่าง

2. ภูเก็ต เขต 11 รับผิดชอบ ภูเก็ต พังงา กระบี่

3 นครศรีธรรมราช เขต 12 รับผิดชอบ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี

4. ระนอง เขต 13 รับผิดชอบ ระนอง

5 ชุมพร เขต 14 รับผิดชอบ ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์

กสทช. ทำหน้าที่ดูแลหลักชัด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ดูแลทางด้านเทคนิค และกฎหมาย การได้อะไรในวันนี้ คือการบอกต่อ

เทคนิคคืออะไร สำนักงาน กสทช.โดยนโยบายหลัก คือการมีองค์ความรู้ มีแล้วทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ประสบปัญหาอย่างไร

ปัญหา

คุณอดิเรก วีระกิจ ผอ.สนง.กสทช. เขต 4 สงขลา

คุณฎาวิ กูลณรงค์ สถานีวิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHZ จ.ปัตตานี

เรื่องการกระจายอำนาจ กสทช.ส่วนกลาง ลงมาที่สำนักงานระดับเขต ในการดำเนินการ โดยเฉพาะบางเรื่องที่สำคัญ เช่น การยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต การขอใบอนุญาต การตรวจสอบคลื่น ที่พบปัญหาส่วนกลางเหมือนคอขวด ถนนทุกสายมุ่งสู่กสทช. กลไกน่าจะเข้ามาแบ่งเบาภาระตรงนี้ เขตน่าจะได้ใกล้ชิดพื้นที่เขต

วิทยุชุมชนที่ดูแลเรื่องคลื่น โดยเฉพาะคลื่นส่ง วิทยุพื้นที่ สาธารณะ ชุมชน บริการธุรกิจ เราไม่ใช่ทุนใหญ่ หรือมีงบประมาณสนับสนุนมาก หลัก ๆ เป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายและความใกล้ชิดกันมากกว่า

เนื้อหา กสทช.ดูแลเรื่องใบประกาศต่าง ๆ การทดสอบใบผู้ประกาศล่าสุดได้รับหนังสือแจ้งจากสมาคมว่าจะมีการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้และทดสอบ ดูแล้วหลักการดี แต่ว่าค่าใช้จ่ายเป็นพัน จัดอบรมที่ภาคใต้ตอนบน อบรมครั้งเดียวใช่ว่าจะได้ ฝากกสทช.ดูแลเรื่องนี้ว่า ถ้าเป็นไปได้ กสทช. น่ามีเงินสนับสนุนเป็นโครงการฯ จัดเป็นภูมิภาค อยากให้รวมที่ภาคใต้ตอนล่างด้วย และถ้าจัดอบรมน่าจะใช้เครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่เช่น ราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลา ราชภัฏปัตตานี เป็นต้น

การสนับสนุนดูแลเครื่องส่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่า กสทช.น่าจะตั้งเป็นกองทุนกองทุนหนึ่ง

SMEs แบงค์ที่ปล่อยสินเชื่อ ข้อกำหนดไม่ได้ครอบคลุมถึงวิทยุ อยากให้ดูเรื่องการสนับสนุนทางการเงินด้วย

การทดสอบผู้ประกาศ กรมประชาสัมพันธ์เป็นหนึ่งใน 35 หน่วยงานที่จัดอบรมผู้ประกาศ เรื่องค่าใช้จ่าย กสทช.กำหนดแต่ละรุ่นว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่เกินเท่าไหร่ กรมได้ MOU กสทช.ให้ทำ เป็นสิ่งที่กำหนดมา กรมเป็นเพียงเข้ามาร่วม และรวมหลายสิบ MOU ตรงนี้ การอบรมมีกฎหมายเรื่องกสทช. พ.ร.บ. การประกอบวิทยุโทรทัศน์ การกระจายเสียง สิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงคนในด้านนี้

การอบรมอยากให้การอบรมรับทราบในด้านนี้จะมีผลต่อการกำกับดูแลมาก เสนอแนวคิดว่าทำอย่างไรให้คนทำงานมีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ชี้นำสังคม และสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ให้สามารถควบคุมตนเองได้

การทำงานสื่อถ้าทำไปแล้วจะทำอย่างไรให้คนที่ทำงานด้านนี้ไม่ใช่ว่าใครเข้ามาได้ ต้องมีใบตรงนี้ถึงทำงานได้ หน่วยงานที่เข้ามาควบคุมตรวจสอบสามารถป้องกันได้

อาจารย์บัวผิน โตทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ความต้องการจากสื่อยังมีความขับข้องใจว่าคลื่นมาเลย์เป็นอย่างไร ทับซ้อนอย่างไร ผู้ประกอบการไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ ถ้ามีปัญหาตรงนี้จะทำอย่างไร กสทช.จัดอบรมเยอะแยะแต่อยากให้มองว่าเราได้เข้าถึงชุมชนแล้วหรือยัง

สิ่งที่เราเขียนกับสิ่งที่ทำคนละเรื่อง ความต้องการของสื่อ เขต ภูมิภาค น่าจะมีเครือข่ายทำงานร่วมกัน น่าจะร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีคณะกรรมการหรือเครือข่ายท้องถิ่นช่วย กสทช.ทำงาน บทบาทอยู่ตรงไหน

การกำกับดูแล แน่นอนว่าเราต้องกำกับดูแลอยู่แล้ว เราได้ศึกษาเรียนรู้กฎหมายระเบียบที่เราไปเกี่ยวข้องหรือไม่ ผอ.ที่ดูแลสถานีต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน ในแง่การปฏิบัติตามกฎหมายก็ขรุขระ

การดูแลกันเองที่เป็นกลุ่ม เริ่มเห็นว่า สุราษฎร์ธานี เริ่มรวมตัวมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นเรื่องการขับเคลื่อน การดูแลโดยประชาชน การควบคุมโดยประชาชนดูแลกำกับอะไร ขอบเขตใด

ความต้องการให้เกิดการพัฒนาบุคลากร เราได้ทำจริงจังหรือไม่ เน้นเรื่องเทคนิค กฎหมาย แต่ไม่ลง Content

เรามีอะไรที่ทำให้ทุกคนเปิดสถานีมีความเข้าใจร่วมกัน แล้วเมื่อไรได้เงินมาช่วย

ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ภายใต้ยังไม่มีความชัดเจน มีอะไรที่ตกลงร่วมกัน ออกอากาศได้ไม่มีปัญหา ให้เข้าพื้นที่มากขึ้น คุยมากขึ้นด้วย

อาจารย์ราเชนฐ์ หีมสุหรี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏยะลา

เนื้อหารายการ มีรายการเป็นภาษามาลายูเยอะ เพราะเป็นมุสลิม มีรายการที่ได้สัมผัส การทำรายการของมาเลย์ และการเมืองมาเลย์ด้วย

กฎระเบียบ โครงสร้าง เนื้อหา ต้องทำอีกเยอะ หลายจังหวัดใช้ภาษาถิ่น กสทช.มีนโยบายนี้อย่างไร

ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล คณบดี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช

การกำกับดูแลในเรื่องเครื่องส่ง และเนื้อหา อยากให้เฝ้าระวังโฆษณาที่เอาเปรียบผู้บริโภค การใช้โฆษณาเป็นเท็จ ให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว สร้างคนดีกว่าให้เป็นคนที่ระมัดระวัง ต้องมีการอบรมให้ความรู้แก่บุคคลต้นแบบ แบบไหนผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างต้องมีเกณฑ์ว่าข้อความแบบไหนเอาเปรียบ ต้องมีการร่วมมือกันให้การกำกับเนื้อหามีประสิทธิภาพ สร้างประชาชนตื่นตัว ให้การกำกับดูแลภาคประชาชนมีประโยชน์สูงสุด

อาจารย์แวอาซีซะห์ ดาจะปี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏยะลา

อาจทำให้มีข้อต่อเชื่อมระหว่างผู้กำกับและปฏิบัติ ปัจจุบันไม่มีใครมาเชื่อมตรงกลางให้ทำงานร่วมกัน ขาดการทำความเข้าใจ กสทช.อาจมองว่าคนที่ทำงานด้านนี้ควรรู้หรือต้องรู้ ทางด้านเนื้อหาเราต้องชัดเจนว่าจะผลิตอะไรบ้าง ทางเทคนิคขาดตัวกลางตรงนี้ในการเชื่อมต่อ ถ้าไปเองใช้เวลาค่อนข้างเยอะ

การสอบ 3 ครั้ง มีขั้นต้น กลาง สูง ค่าใช้จ่าย หลักหมื่นขึ้นไป วิทยุชุมชนค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะสำหรับผู้จัดรายการฯ

เนื้อหาต่าง ๆ สิ่งที่ต้องการคือการทดสอบใบผู้ประกาศ อยากทำให้ชัดว่าต้องการอะไร อาจให้มีการจัดอบรม ไม่ใช่การทดสอบใบผู้ประกาศ

สอบไม่ผ่านคนไม่เข้ารับการอบรมไม่มีสิทธิ์ ต้องผ่านกระบวนการให้ครบ เสมือนการเอื้อหรือไม่ เพราะหลักการความเข้าใจ ขอบคุณผอ.เขต 4 ที่ให้ความรู้ รายละเอียด เป็นข้อหนึ่งที่ขาดความรู้เพื่อดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เราอาจมองว่าเขารู้แล้วเลยทำธุรกิจนี้ ถ้าคิดแบบนี้จะเป็นข้อบกพร่องมาก

คุณฎาวิ กูลณรงค์ สถานีวิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHZ จ.ปัตตานี

การทดสอบผู้ประกาศ สนับสนุนและให้ความสำคัญมาก

วิทยุกระจายเสียงถ้าใช้เม็ดเงินเป็นตัวตั้งจะเกิดปัญหาอย่างแรง ถ้าเม็ดเงินเป็นหลักจะสอดคล้องทุนนิยมเต็มที่ได้

นายกุศล เจิมจรัส สถานีวิทยุชุมชนแชมป์เปี้ยนเรดิโอ F.M.90.00 MHz จ.นราธิวาส

ได้นำข้อบกพร่องนราธิวาสมาคุย

การวัดสัญญาณวิทยุ เจ้าของสถานีสามารถวัดได้ในเบื้องต้น ลดภาระร้องเรียน

ที่ปัตตานีมีการจัดประชุมใหญ่ พูดเรื่องการต่อสัญญา และโอกาส พบว่าหลายสถานีไม่มีใบผู้ประกาศแต่อยากได้

ข้อห้ามหลัก ๆ

1. กสทช.ไม่จำเป็นที่ส่งหลักฐานไป แล้วทางนั้นจะตอบรับมา

2. ปัตตานี จะส่งเครื่องไปกทม. กสทช.จะตรวจคลื่นที่หาดใหญ่ เอาหาดใหญ่เป็นศูนย์

3.วัฒนธรรมภาคใต้ วัฒนธรรมมีการกระทบมาก ๆ ถ้ากระทบจิตใจเขามากจะไม่ทำ รู้จริงหรือรู้ไม่จริงห้ามพูดต้องให้คนที่สมควรพูด ๆ ต้องให้ผู้นำศาสนาพูด

คุณธวัช ทวีชนม์ ผู้อำนวยการ F.M.103.25 MHz.ศูนยการเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

เครื่องส่ง ไม่มีสถานีไหนถูกต้อง การตั้งศูนย์ที่นครฯ สุราษฎร์ สงขลาต้องกระจายมา สถานีกลัวมาก ๆ จะใช้เครื่องไหนเครื่องนั้น

คุณณัฐชมพร หัสดินทร์ เจ้าหน้าที่ธุรกการสถานีวิทยุชุมชนคนถ้ำสิงห์ F.M.90.00 MHz จ.ชุมพร

อยากให้มีการจัดอบรมนักจัดรายการเพราะหลายคนต้องการเป็นนักจัดรายการที่ดี ต้องการให้กสทช.ชุมพรจัดอบรมนักจัดรายการโดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณ นักจัดรายการต้องมีประโยชน์โดยเฉพาะ อยากให้จัด 3 เดือนหนึ่งครั้ง

คุณวรพจน์ ศิวิโรจน์ ผู้อำนวยการกองวเชาการาและแผนงาน สถานีวิทยุเทศบาลนครหาดใหญ่ F.M.96.00 MHz จ.สงขลา

สถานีเป็นสาธารณะ ไม่มีโฆษณาจัดรายการง่าย วัตถุประสงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ภาคประชาชน เช่นอุทกภัย

เรื่องทรัพยากรมนุษย์ใช้วิธีการ Learning by doing ให้รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง อยากให้เกิดการร่วมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายจังหวัด

ความต้องการจัดจ้างเป็นไปยากลำบากไม่สามารถซื้อตามระเบียบราชการ ไม่มีใบอนุญาต ใช้วิธีการเช่าจากวิทยุชุมชนที่มีสำรอง คิดว่าหลังจากได้ใบอนุญาตชั่วคราวจะนำมาซื้อได้ จะมีท้องถิ่นที่มีความสามารถเดินตาม เริ่มแรกใช้วิธีการยึดหัวหาด ใช้วิธีการปฏิบัติ ซิกแซก เช่าของเอกชนเข้ามา

เรื่องการออกใบอนุญาตให้เร็วขึ้นและแบ่งสรรคลื่นความถี่ให้เร็วขึ้น เรียบร้อยขึ้น ปัจจุบันมีคลื่นความถี่แทรกเข้ามา ต้องรักษากติกา ฝาก กสทช.เร่งรัดการแบ่งสรรคลื่นและออกใบอนุญาตให้ได้ หน่วยราชการท้องถิ่นจะได้ขออนุญาตได้

คุณดุสิต ลาวพันธ์ สถานีวิทยุ True love radio 100.75 MHz จ. by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; font-weight: bold !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">กระบี่

อยากให้งดเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยุชุมชน ปัจจุบัน 3 ประเภทชัดเจนคือ ชุมชน สาธารณะ ธุรกิจ

สาธารณะ กับ ธุรกิจอาจไม่มีปัญหา แต่ชุมชนแม้ว่าถูกแต่ค่าใช้จ่ายมีเยอะมาก อนุญาตแล้วเอาเครื่องไปตรวจก็เป็นค่าใช้จ่าย

ถ้าทำได้ ค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่ออายุน่าจะเหลือ 100 บาท

การตรวจเครื่อง กสทช.น่าจะมีหน่วยงานพิเศษตรวจได้ฟรี

มุมมองต่อวิทยุชุมชนมีประโยชน์มาก ถ้าตั้งวิทยุชุมชนขึ้นมาจะทำได้หรือไม่ ให้อนุญาตเครื่องส่ง 500 วัตต์

หน่วยงานในพื้นที่ ราชการ ขยับมาใช้วิทยุคุณภาพต่ำ ๆ วิทยุอื่นที่เป็นธุรกิจมาใช้ฟรีอยู่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมาเห็นใจและสนับสนุนวิทยุชุมชนได้หรือไม่แทนที่จะไปตามจับ

วิทยุชุมชนมีแต่รายจ่าย ไม่มีรายได้ แต่เงินทุนสนับสนุนไม่มีแต่อยากทำเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง

คุณศุภกร ลิ้มตระกูล นายสถานี วิทยุชุมชน F.M.105.75 MHz ปลายพระยา จ. by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; font-weight: bold !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">กระบี่

เป็นกพร.ดีเด่นคนแรกจังหวัดกระบี่ มีรายการจากกรมประชาสัมพันธ์ส่งให้ชุมชน การสนับสนุนสามารถได้จากคนสนับสนุน ขอฝากว่าเทศบาล อบต. อย่าสร้างสถานีเพิ่มขึ้นอีก ทำไมไม่ใช้สถานีเดิม เพื่อลดความถี่ไม่ให้ความถี่เพิ่มขึ้น ของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า

คุณไพทูรย์ ทองห่อ สถานีวิทยุ F.M.102 MHz โครงการลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช

เริ่มต้นแต่ก่อนให้ 30 % มีรายได้เข้าสถานีบางส่วน แต่หลังจากนั้นไม่มีหน่วยงานที่สนับสนุนของสถานี ถ้าเปิดโอกาสให้ 20 – 30 %

ผู้ใหญ่บ้าน

ถ้าหมู่บ้านอยากได้วิทยุชุมชนจะทำอย่างไร จะต้องประชุมประชาคมที่ถูกต้อง แล้วยื่นกสทช. คลื่นที่ส่ง ปัจจุบันเสา 50 เมตร กำลังส่ง 500 วัตต์ ถ้าวิทยุชุมชนทำเป็นธุรกิจ คลื่นไปรบกวนวิทยุการบิน อยากได้วิทยุชุมชนที่ทำเพื่อชุมชนจริง ๆ ไม่ใช่เพื่อธุรกิจ

ขั้นตอนเอื้อผลประโยชน์ให้ซึ่งกันและกันหรือไม่ ถ้าทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ทุกสิ่งตรงนี้อยู่ในสิ่งที่ดี ๆ ได้หมด ถ้าทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมเรื่องแบบนี้ไม่เกิด

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

มาตรฐานทำไมต้องเอาเครื่องไปตรวจ เครื่องที่ซื้อเป็นเครื่องดีราคาถูก ไม่ใช่ดีราคาแพง มาตรฐานก็ไม่มี ตรวจอย่างไรก็ไม่ผ่าน เพราะเป็นการประกอบเครื่องที่จูนเครื่องไม่ได้ ทำให้เป็นปัญหา เป็นการแก้ปัญหาวัวหายล้อมคอก ไม่มีใบรับรอง เราไม่ฉลาดทันคนมาขายเครื่อง และการควบคุมสถานี มีการสร้างความเข้าใจผิดให้พวกเราทุกคน ทำให้เกิดปัญหาที่แก้ไขปัญหามาหาต้นเหตุที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องยื่นทุกอย่างที่ถูกต้องหมด เหมือนคนขายเครื่องเขาอยากขายเครื่องเรา ก็หลอกเรา ควรทำให้ถูกต้องและเข้าระบบ อาจขอรับการสนับสนุน

กฎหมายกองทุน เพื่อวิทยุชุมชน ได้เงินแน่ แต่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ที่ถูกต้องคนขอใบอนุญาตต้องแสดงความจำนงก่อนไปซื้อเครื่อง แต่เมื่อวิทยุชุมชนเยอะมาก จึงให้คนที่มีเครื่องอยู่แล้วถึงมาแจ้งความจำนงขอตั้งสถานี

จากเดิมมี 4,000 สถานี เพิ่มเป็น 7,000 สถานี และเป็น 10,000 สถานี ยังไม่มีเครื่องไหนที่จะจูนให้ถูกกฎหมายได้

ที่เป็นปัญหามาก ให้ใช้อยู่ในขอบเขต ชุมชนไม่ต้องกลัว อยากให้ทุกคนสร้างมโนสำนึกว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิด ถ้าเราช่วยกันต้องให้ลูกศิษย์ใช้มโนสำนึกที่ถูกต้อง

กิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนถ้าทำอย่างนี้จะแก้ปัญหาไม่ได้ การรังแกถูกกดขี่ พยายามจัดระบบให้ วิจัยครั้งนี้อยากทำให้เข้าระบบได้มากที่สุด

สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ การจัดสรรคลื่นความถี่ ชุมชนมีเท่าไหร่ คลื่นอะไร กฎ กติกา ไม่ได้กำหนดในเร็ววัน

คุณฎาวิ กูลณรงค์ ชาญยุทธ์ วิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHzจ.ปัตตานี

เครื่องส่งเป็นไปได้หรือไม่ว่านำเข้าเครื่องส่งที่ไม่สามารถจูนได้ ไปเปลี่ยน ออกเป็นประกาศได้หรือไม่ว่าเอาเครื่องเก่าไปเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ อาจให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กสทช.ทำ เมื่ออุปสงค์เยอะ อุปทานตาม เครื่องจะถูกลง ติดข้อตรงไหน แก้กฎหมาย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

เอาเครื่องเก่ามาแลกเครื่องมาตรฐาน จะลองทำเป็นข้อเสนอ สำหรับเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศสามารถผลิตในประเทศไทย แต่ขอให้ไปขอตรวจรับมาตรฐานก่อน

คุณดุสิต ลาวพันธ์ สถานีวิทยุ True love radio 100.75 MHz จ. by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; font-weight: bold !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">กระบี่

อยากทำให้ทุกอย่างถูกกฎหมายและทำให้ดีด้วย คนที่อยู่ที่นี่ที่เป็นวิทยุชุมชน ตั้งใจจะพัฒนาให้ดีที่สุด อยากให้มองใหม่ว่าเป็นสื่อที่ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ

คุณสมคิด นาคะพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ กสทช. เขต 12 นครศรีธรรมราช

กสทช.ให้ความสำคัญวิทยุชุมชน มีการอบรมให้ความรู้ต่อเนื่องแล้วจะมีการให้ความรู้ผู้ประกาศ จากจ.ปัตตานี ที่บอกเรื่องการต่ออนุญาต

การวิเคราะห์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูลต่าง ๆ ให้คำแนะนำตรวจสอบเบื้องต้น การขอใบอนุญาตให้คำแนะนำข้อมูลได้ แต่การต่ออายุใบอนุญาตเป็นของกสทช.

การกำกับดูแลเนื้อหา กสทช.ไม่มีอำนาจไป Sensor เป็นเพียงส่งเสริมให้รวมกลุ่มดูแลกำกับกันเอง แต่ในระหว่างไม่มีการดูแลกำกับอย่างเข้มข้น มีการตั้งอนุกรรมการเนื้อหา กำกับรายการ มีหน้าที่พิจารณาเนื้อหารายการว่าเป็นอย่างไร มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลตามหลักเกณฑ์ ถ้าผิดจะดำเนินการตามระเบียบให้ออกไป

การจัดอบรมผู้ประกาศ กสทช.ได้ทำบันทึกร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ 35 หน่วยงาน เช่นกรมประชาสัมพันธ์ แต่ค่าอบรมค่อนข้างสูง มีค่าธรรมเนียมบางส่วนที่จ่ายให้กับกสทช. การตรวจสอบว่าหน่วยงานไหนอนุญาตให้ตรวจสอบในเวปไซต์ กสทช.

การตรวจเครื่อง ขณะนี้สำนักงานกสทช.มีบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวก ในวันนี้มีแลปตรวจเครื่องเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างขอใบอนุญาต กสทช. เชื่อว่าอีกไม่นานมีแลปอยู่ในภาคใต้

การหารายได้ ณ วันนี้ กสทช.กลายเป็นจำเลยผู้ประกอบการบริการวิทยุชุมชน มาจากกฎหมายที่เขียนกำหนดไว้ว่าวิทยุชุมชน โฆษณาไม่ได้ กสทช.เพียงปฏิบัตตามกฎหมายที่กำหนดไว้ กติกาไม่ได้กำหนด แต่ปฏิบัติให้ตามข้อบัญญัติ

กสทช.ได้พยายามดูแลรายเล็ก รายใหญ่อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน วิทยุไม่มีสถานะทางกฎหมาย ท่านใดที่มีข้อมูลหรือข้อสงสัย ทุกท่านมีข้อมูลอยู่แล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ให้ทุกเขตดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ไม่เคยคิดว่าผู้ประกอบการเป็นหนู กสทช. ไม่ใช่แมว แต่เราอยู่ในสนามเดียวกันคือเป็นผู้เล่น และกรรมการ เพื่อให้ทุกส่วนเป็นตามกติกา ที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไข เชื่อว่าให้ผู้ประกอบการทุกรายมีที่ยืน

อาจารย์บัวผิน โตทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

การสอบผู้ประกาศ เป็นงานของกสทช.แล้วไป MOU กับหน่วยงานรัฐ 35 แห่งทั่วประเทศ ต้นเรื่องคือกสทช.เป็นผู้ประกาศ ต้องมีหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นตามกฎเกณฑ์

คุณสมคิด นาคะพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ กสทช. เขต 12 นครศรีธรรมราช

การจัดอบรมไม่ได้กสทช.เป็นคนจัดอบรม กสทช.เพียงแค่ออกกฎเกณฑ์ และควบคุม ถ้าหน่วยงาน

คุณพิชญา เมืองเนาว์ ผอ.สปป. 5 กรมประชาสัมพันธ์

เดิมเป็นหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ แต่ต่อมา กสทช. กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ 35 หน่วยงานไปทำรายได้ หน้าที่รับผิดชอบบัตรต้องเป็นของกสทช. ที่ดูแล

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ปัญหาการปฏิบัติการ ไม่ว่าจะกสทช. หรือ 35 หน่วยงานสิ่งที่กระทบคือผู้ประกอบการ

ทุกคนเป็นเครือข่ายทั้งหมด ทางโครงการจะเก็บชื่อและโทรศัพท์ไว้เป็นเครือข่ายเพื่อทำงานร่วมกัน

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 18:12 น.