KM วันละคำ : ๖๒๔. วิธีเก็บเกี่ยว Tacit Knowledge

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณื พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

วันที่ ๑๒ ก.พ. ๕๗ คุณหมอสมศักดิ์ชวนทีมเขียนหนังสือ Tacit Knowledge ที่ร่วมกันเขียนร่างแรกเสร็จ มาร่วมประชุม เพื่อ สุนทรียสนทนากัน หาทางใช้ Tacit Knowledge ของแต่ละคนทำความเข้าใจ Tacit Knowledge เพื่อเขียนออกมาเป็นหนังสือ

การอ่านต้นร่างหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมตระหนักว่า จริงๆ แล้วคนเราใช้ Tacit Knowledge มาก    ใช้อยู่ทุกขณะจิต    โดยไม่รู้ตัว    ทั้งใช้ผิดๆ และใช้อย่างถูกต้อง    ทั้งใช้แบบก่ออกุศลกรรม และก่อกุศลกรรม

แต่ที่ผมคิดว่ามีพลังลี้ลับ ที่เรายังไม่ค่อยได้จับมาใช้ คือ Collective Tacit Knowledge    และ Dynamic Tacit Knowledge    โดยที่ TK สองบริบทนี้เกี่ยวข้องหรือซ้อนทับกัน

TK ของปัจเจก มีพลังสู้ของทีมงานไม่ได้เลย     เพราะของทีมงาน เกิดการหมุนเกลียวความรู้ เพื่อยกระดับความรู้ ได้ง่าย    ซึ่งก็คือ ใช้พลังของความเป็นพลวัต (Dynamism) ของการทำงานร่วมกัน

ถามว่า ใช้ “เคียว” อะไร เกี่ยวข้าว TK    และเอาบรรจุลงภาชนะอะไร

“เคียว” คือ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  จิตใจแบ่งปัน  ความเอื้ออาทรไว้วางใจต่อกัน  รับฟังกัน  ชื่นชมยินดีในความสำเร็จของกันและกัน  รวมทั้งการมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน

ภาชนะใส่ TK คืองาน การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ  ผลงานที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการทำงานที่ได้รับการยกระดับขึ้น  และตัวผู้ปฏิบัติงานทุกคน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 19:32 น.