การเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจะไม่ขจัดความยากจน

วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์
ธนาคารโลกตั้งเป้าลดความยากจนแบบรุนแรงให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ ๓ ซึ่งจะไม่บรรลุ หากใช้มาตรการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เพราะกลไก trickle down ให้ผลจำกัด จะได้ผลรัฐต้องมีมาตรการ trickle up ร่วมด้วย คือสร้างกลไกช่วยให้คนจนแข็งแรงขึ้น ลุกขึ้นมาช่วยตัวเองได้ เช่นเพิ่มโอกาสเข้าถึงคุณภาพการศึกษาที่มีคุณภาพ เพิ่มโอกาสมีภาวะโภชนาการที่ดี สร้างโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี

การเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจะไม่ขจัดความยากจน

บทความ Growth alone will not end poverty เขียนโดยศาสตราจารย์ Kaushik Basu แห่งมหาวิทยาลัย คอร์เนล ที่มาทำงานชั่วคราวที่ธนาคารโลก ในฐานะ Chief Economist และ Senior Vice President ของธนาคารโลก    บอกเราพร้อมหลักฐานจากการวิจัยว่า    ในช่วงเวลา ๒๐ ปี จาก 2010 ถึง 2030 หากประเทศต่างๆ มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับปัจจุบัน    สัดส่วนของคนยากจนจะลดลงจาก ร้อยละ ๑๗.๗ ในปี 2010 เหลือร้อยละ ๗.๗ ในปี 2030    แต่ถ้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเท่ากับช่วงทศวรรษที่ 2000    สัดส่วนของคนยากจนจะเหลือร้อยละ ๕.๕

ผลการวิจัยบอกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการขจัดความยากจนแบบรุนแรงให้หมดไป

เขานิยามความยากจนแบบรุนแรงว่าหมายถึงมีความสามารถบริโภคต่ำกว่าวันละ ๑.๒๕ ดอลล่าร์สหรัฐหรือ ๓๙ บาท โดยปรับตามค่าครองชีพของท้องถิ่นแล้ว

เขาบอกว่า ธนาคารโลกตั้งเป้าลดความยากจนแบบรุนแรงให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ ๓    ซึ่งจะไม่บรรลุ หากใช้มาตรการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว    เพราะกลไก trickle down ให้ผลจำกัด    จะได้ผลรัฐต้องมีมาตรการ trickle up ร่วมด้วย   คือสร้างกลไกช่วยให้คนจนแข็งแรงขึ้น ลุกขึ้นมาช่วยตัวเองได้    เช่นเพิ่มโอกาสเข้าถึงคุณภาพการศึกษาที่มีคุณภาพ    เพิ่มโอกาสมีภาวะโภชนาการที่ดี    สร้างโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ต.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:07 น.