มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๖. ความเป็นเลิศหลากแนว

วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ความเป็นเลิศหลากแนว

ในเวลาที่จำกัด และไปเพียง ๔ มหาวิทยาลัย     เราไปเห็นขบวนการ สู่ความแตกต่าง” (differentiation) ของแต่ละมหาวิทยาลัย อย่างชัดเจน

แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด จุดเด่น” ที่ตนเองบรรลุได้   แล้วฟันฝ่าเพื่อบรรลุ    และสื่อสารกับสังคม ว่าตนเด่นด้านใด

ผมมองว่า นี่คือหนทางแห่งความอยู่รอด และอยู่ดี ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ    ที่รัฐบาลกำหนดให้เดิน    และมีวิธีจัดการเชิงระบบ ให้เดินในแนวทางนี้    ไม่ใช่แนวทางโฆษณาจอมปลอม    ไม่ใช่แนวทางเพื่อปริญญา ที่ได้มาโดยง่าย

มหาวิทยาลัย Northamton ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี ระบุในเอกสารแนะนำมหาวิทยาลัย หัวข้อ Awards and Achievements  ว่าเขาเน้นที่การพัฒนาประสบการณ์ของนักศึกษา    ซึ่งส่งผลให้เขา ประสบความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจคือ

· อันดับ ๑ ในสหราชอาณาจักร ด้าน “value added”

· อันดับ ๑ ในสหราชอาณาจักร ด้านการมีงานทำของบัณฑิต

· ได้รับรางวัล UK Midlands Enterprising University of the Year 2012 และ 2013

· ก้าวหน้าเร็วในทุก UK university league table

· ได้รับรางวัล ‘Outstanding HEI Supporting Entrepreneurship’ ของ UnLtd/HEFCE

· เป็นมหาวิทยาลัยแรกในสหราชอาณาจักรที่ได้รับยกย่องให้เป็น ‘Changemaker Campus’ ของ AshokaU

· Cliff Prior, Chief Executive, UnLtd กล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2013 ว่า มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน เป็นมหาวิทยาลัยผู้นำในสหราชอาณาจักรในด้านผู้ประกอบการสังคม  เป็นผู้นำที่ทิ้งห่าง”  

มหาวิทยาลัย แอสตัน ซึ่งเพิ่งยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1966 ยังไม่ครบ ๕๐ ปี    ระบุในเอกสารแนะนำความเป็นเลิศด้านต่างๆ ดังนี้

· เน้นการศึกษาด้าน business และ profession

· คำขวัญ Employable graduates, Exploitable research”

· เขานำถ้อยคำ ใน นสพซันเดย์ ไทม์ส แอสตันผลิตบัณฑิตที่ตลาดเสาะหา    บดบังรัศมีมหาวิทยาลัยแบบอ็อกซฟอร์ด” มาเสนอ    บอกความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑืตของเขา

· นสพ. ซันเดย์ ไทม์ส ยากที่จะหามหาวิทยาลัยใดที่จะเทียบ แอสตัน ในความพยายามรับใช้ธุรกิจและอุตสาหกรรม

· การมี นศมาจากหลากหลายประเทศ (๑๒๐เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งในการพัฒนานักศึกษา    ช่วยให้ นศเข้าใจคนในต่างภาษาต่างวัฒนธรรม    และที่สำคัญ ได้เพื่อน สำหรับความร่วมมือในอนาคต

· เป็นมหาวิทยาลัย “Top 10” ในการผลิตเศรษฐี (เดลีย์ เทเลกราฟ ๒๐๑๒)

· มีผลงานวิจัยหลายชิ้น ไปสู่ธุรกิจ และสร้างรายได้ โดยเฉพาะด้านยา   สะท้อนความเข้มแข็งในวิชาการ ด้านชีวการแพทย์    ที่ นศ. จะได้รับประโยชน์

· ระบุความเป็นเลิศด้านกระบวนการเรียนรู้ ไว้ในเอกสาร Learning and Teaching Strategy 2012 – 2020 อย่างน่าสนใจมาก

มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ไม่ต้องโฆษณา ใครๆ ก็อยากเข้าเรียนอยู่แล้ว    แต่เขาก็ต้องปรับปรุง พัฒนาตัวเอง    เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว โดย

· พัฒนาการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับยุคสมัย    โดยตั้ง Oxford Learning Institute ขึ้นมาขับเคลื่อน

· ผมตีความจากการอ่าน Strategic Plan 2013 – 2018 ว่าเขาย้ำจุดยืน “independent scholarship & academic freedom”   เป็นการบอกอย่างแนบเนียนว่า นศ. ที่เข้า อ็อกซฟอร์ด ก็เพื่อคุณค่าต่อชีวิตในระดับนี้    ไม่ทราบว่าผมตีความถูกหรือไม่

UCL ก็เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีชื่อเสียง   แต่อยู่ในลอนดอน ซึ่งมีปัญหาหลายด้านในฐานะมหานคร เก่าแก่    ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่มีผลงานและชื่อเสียง    และตั้งอยู่ในลอนดอนเป็นโอกาสอย่างยิ่ง ในการสร้างความเป็นเลิศ   โดย UCL เน้นที่

· เป็น Global University   และดำรงความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนทุกสถานะทางสังคม ตามปณิธานของการก่อตั้งเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน และมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยในขั้น discovery หรือ basic research    ดังเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่นี่

· สร้างความเป็นผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการทางสังคม ตามในบันทึกตอนที่ ๕

· สร้างจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ   ดังใน เว็บไซต์

ความเป็นเลิศด้านวิชาการโดดๆ  กำลังถูกท้าทายโดย ความเป็นเลิศในการสร้างคุณค่าให้แก่นักศึกษา”  ทุกมหาวิทยาลัยต้องทำความชัดเจน    ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น   และสื่อสารเป้าหมายและผลสำเร็จ ต่อสังคม

ผมขอเสนอว่า ประเทศไทยต้องมีการจัดการเชิงระบบ    เพื่อขับเคลื่อนความเป็นเลิศหลากแนวของ สถาบันอุดมศึกษาของประเทศ    เพื่อใช้เป็นกลไกสร้างความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา ในวงการอุดมศึกษา     โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักศึกษาและอาจารย์    ในการทำงานสร้างสรรค์ให้แก่ประเทศ    วิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ผิด เพราะเน้นการควบคุม-สั่งการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:25 น.