เออีซีกับตัวชี้วัดความสาเร็จ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)) (โพสต์ทูเดย์)

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - เศรษฐกิจ
พิมพ์

หลังจากผู้นาอาเซียน 10 ประเทศ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นภายในปี 2558 โดยประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ตัวชี้วัดความสาเร็จของเออีซีนั้น การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมุ่งไปที่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกันนั้น เออีซีจาเป็นที่จะต้องมีตัวชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุนเงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี รวมถึงตัวชี้วัดในเรื่องของการขนส่งไอซีที และด้านพลังงานอีกด้วย

ทีมวิจัยของทีดีอาร์ไอได้สารวจและเก็บข้อมูลจากบริษัทเอกชน 30 แห่ง เพื่อสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการสร้างตลาดและฐานผลิตร่วมกันในอาเซียน โดยตัวชี้วัดที่บริษัทเอกชนเห็นว่ามีสาคัญและควรทาให้สาเร็จภายในปี 2558 คือ การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและการจัดการภาษีนาเข้าให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและระบบจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น การประสานงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างองค์กรในการออกสิทธิบัตรต่างๆ และทาให้กฎแหล่งกาเนิดสินค้ายืดหยุ่นและง่ายต่อการทาธุรกิจมากขึ้น

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังระบุตัวชี้วัดสาคัญอื่นๆที่มีผลสาคัญต่อความสาเร็จของเออีซี อาทิ ตัวชี้วัดในภาคบริการ โดยพบว่าธุรกิจภาคบริการในแถบประเทศอาเซียนยังถูกควบคุมโดยกฎหมายภายในประเทศเป็นจานวนมาก ซึ่งประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการเปิดเสรีภาคบริการได้ สาหรับประเทศไทยรัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจในการเปิดเสรีภาคบริการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเงินทุน รวมทั้งรัฐต้องพิจารณากฎหมายและข้อจากัดภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีภาคบริการอีกด้วย

สาหรับตัวชี้วัดในข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนและการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในการสนับสนุนนักวิชาชีพ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีและส่งเสริมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนให้เป็นวาระแห่งชาติ

ตัวชี้วัดในมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการประสานงาน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนามาตรฐานเหล่านี้ไปปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งอาเซียนควรเร่งลดความไม่เท่าเทียมกันของมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้ของแต่ละประเทศสมาชิก

ตัวชี้วัดในการอานวยความสะดวกในการลงทุนจากงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่าบีโอไอยังมีข้อจากัดในการส่งเสริมวัฒนธรรมการลงทุนจากมุมมองของภาคเอกชน การพัฒนาส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจเชิงลึกและการพัฒนางานวิจัยภายในองค์กร ดังนั้นบีโอไอควรศึกษาช่องว่างของภาคธุรกิจภายในประเทศ และมุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนที่เพิ่มมูลค่ารวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการพัฒนาภายในประเทศ

อีกประการสาคัญ คือ ตัวชี้วัดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่องค์ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ควรได้รับการเผยแพร่และเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างเข้มงวด โปร่งใสเพื่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามมากขึ้น