โครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก.

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 00:00 น. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ บทความ - สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
พิมพ์

เนื่องด้วยสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะของหน่วยงานกลางของรัฐบาลในการประสานความร่วมมือกับยูเนสโก ได้มอบหมายให้ผมและคณะดำเนินโครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก (Assessment of Cooperation between Thai Public Sectors and UNESCO) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของยูเนสโกที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐของไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก วิเคราะห์ความคาดหวังและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐของไทยในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับยูเนสโก และกำหนดแนวทางและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับยูเนสโกในสาขาต่าง ๆ ได้แก่การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ และประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างแท้จริง

เมื่อวานนี้ (28 เมษายน 2554) ผมมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ ที่ทางภาษาวิจัยเรียกว่า "Expert Opinion Survey" ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาคนสุดท้าย เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษา (กปช.) และตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกษมาเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ทำงานร่วมกับ UNESCO อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังได้รับเชิญให้ร่วมทำงานสำคัญ ๆ ของยูเนสโกอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผมรู้สึกว่าบรรยากาศของการสัมภาษณ์ดีมาก ท่านให้ความเป็นกันเอง ผมและทีมงานได้ความรู้เชิงคุณภาพและลึก ท่านยังให้คำแนะนำที่ดีต่อการพัฒนางานของประเทศไทยกับ UNESCO และการเตรียมบุคลากรของประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับ UNESCO เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

ต้องชมว่าการทำงานครั้งนี้ทีมงานของผมเตรียมตัวดี และก็มีส่วนร่วมในการถามคำถามที่ดี

วิธีการทำงานวิจัยของผมในครั้งนี้..

  1. โจทย์ หรือ Hypothesis คือ

2. Methodologies ที่ใช้ คือ

1) เก็บข้อมูลจากเอกสาร (ซึ่งกำลังทำอยู่ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว)

2) Expert Opinion Survey

3) Focus Group

4) Questionaires จำนวน 500 ชุด (ซึ่งกำลังส่งไปยัง Stakeholders ของ UNESCO โดยจะเน้นหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก)

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเขียนมีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ ในเรื่องนี้ ดร.คุณหญิงกษมา ท่านแนะนำว่าผมควรจะพูดบ่อย ๆ นำเสนอให้คนไทยได้รับทราบ วันอาทิตย์นี้จะมีการเริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องงานวิจัยของ UNESCO โดยผมได้เรียนเชิญท่านประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ มาให้มุมมองของท่านผ่านทางรายการวิทยุ Human Talk คลื่น 96.5 ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2554 นี้ด้วย เวลา 6 โมงถึง 7 โมงเช้าครับ ท่านใดที่สนใจก็สามารถติดตามได้ครับ

สำหรับการทำงานของ UNESCO เพื่อประโยชน์ของสุงคมไทย ดร.คุณหญิงกษมา ท่านให้มุมมองและข้อเสนอแนะที่ดีหลายเรื่อง เช่น

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยในอดีตและปัจจุบันควรจะมีความสามารถเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำในต่างประเทศได้

- ฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ต้องสร้างข้าราชการพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานร่วมกับ UNESCO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่ ๆ ที่กำลังจะเกษียณอายุไปสู่รุ่นน้อง หรือคนรุ่นใหม่ ๆ

- ต้องสร้าง Network กับหน่วยงานไทยหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเอกชนและ NGOs

- ต้องมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสำคัญ ๆ บ้างเพื่อสร้าง Impacts ในเวทีระดับโลก

- ต้องมีนโยบายการใช้สื่อที่คนไทยจับต้องได้ คล้าย ๆ งานของ Unicef

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หลาย ๆ ฝ่ายคงต้องช่วยกันผลักดันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ UNESCO สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทยโดยรวมได้อย่างแท้จริง

ผมขอขอบคุณท่าน ดร.คุณหญิง กษมา เป็นอย่างสูงครับ

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/604011

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 14:16 น.