แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
พิมพ์

การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ยิ่งเรื่องประวัติศาสตร์สังคม ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นต่างๆทั่วไทยและทั่วโลก ชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งของไทย มีความเป็นมาทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างหลากหลาย ทั้งหมดล้วนเป็นประวัติศาสตร์สังคม ที่มีทั้งคุณค่าและมูลค่ามหาศาลทางการท่องเที่ยว แต่ไทยมองข้ามสิ่งนี้ เพราะระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ราชธานี ที่มีวังกับวัด(ของวัง) และวีรบุรุษสงครามโดยไม่มีสังคมของคน จึงไม่มีชุมชนท้องถิ่นในประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย กรุงเทพฯก็มองข้ามสิ่งนี้ จึงไม่มีประวัติศาสตร์สังคม และไม่มีชุมชนหมู่บ้านย่านต่างๆอยู่ในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีว่ามีพัฒนาการตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา (หรืออาจก่อนหน้านั้นก็ได้)

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง "แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา" ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จัดโดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

เป็นครั้งแรกที่ไปประชุมที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กลัวจะไม่มีที่จอดรถจึงออกจากบ้านตั้งแต่ 6.30 น รถติดพอสมควรไปถึงพิพิธภัณฑเวลา 8.30 น ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงเต็ม เท่ากับเดินทางไปพัทยา ขับรถเข้าไปจอดในพิพิธภัณฑ เป็นคนแรกที่เข้าไปลงทะเบียน พบท่านผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี คุณธราพงศ์ ศรีสุชาติ ยืนต้อนรับอยู่ที่หน้างาน

 

9.30 น เปิดประชุมสัมมนา โดย อธิบดีกรมศิลปากร นายสหวัฒน์ แน่นหนา

10.00 - 11.00 น บรรยายหัวข้อ "ภาพอนาคตชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดย นายสุวพร เจิมรังษี รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

11.00-12.00 น อภิปรายหัวข้อ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในวันนี้

นางประภาพรรณ จันทร์นวล จากสำนักผังเมือง

นายระพีพัฒน์ เกษโกศล นักพัฒนาการท่องเที่ยวชำนาญการ กองการท่องเที่ยว

นางสาว ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักโบราณคดี เป็นผู้ดำเนินรายการ

ท่านรองอธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร และท่านผู้ดำเนินรายการ

13.00-14.00 น บรรยายหัวข้อ " กรุงเทพฯ กรุงธน ฯ บนพื้นที่ทับซ้อนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดย นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ลูกเล่นในการบรรยายของท่านสุดยอด ท่านขึ้นต้นว่า ท่านจะไม่พูดตามหัวข้อ ให้ไปอ่านเอาเองตามเอกสารที่พิมพ์แจก ท่านได้พูดหลายประเด็น แต่ละประเด็นเป็นความรู้ใหม่ที่ผมไม่เคยทราบมาก่อน  ขอยกตัวอย่างบางตอนจากเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา ขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ มาให้ทราบเป็นข้อมูลบางตอน

กรุงธนฯ มีมาก่อนกรุงเทพฯ แต่กรุงเทพฯตั้งอยู่บนพื้นที่ทับซ้อนเดียวกับกรุงธนฯ

ร.6 โปรดเกล้าให้แยกตั้งเป็นจังหวัดพระนคร กับจังหวัดธนบุรี แต่ "คณะปฎิวัติ" เผด็จการทหาร ยกเลิกทั้ง 2 จังหวัดแล้วรวมเป็น กรุงเทพมหานคร สืบจนทุกวันนี้

กรุงเทพฯ มาจากไหน

"กรุงเทพ" เป็นคำยกย่องสรรเสริญบ้านเมืองในอุดมคติตามระบบความเชื่อ ผี-พราหมณ์-พุธ หมายถึงเมืองราชธานีที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เคยมีใช้มาก่อนแล้ว ในนามทางการของกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

กรุงศรีอยุธยา มีนามทางการว่า "กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา" แล้วเรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพ (ในบุณโณวาทคำฉันท์) กรุงเทพมหานคร(ในกฏหมายลักษณะทาส) กรุงเทพพระมหานคร (ในกัลปนาวัด พัทลุง) ฯลฯ

กรุงธนบุรี มีนามทางการว่า "กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดี ศรีอยุธยา" (อยู่ในพระราชสาส์นกรุงธนบุรีถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต พ.ศ.2314)

กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ ร.1 สถาปนา มีนามทางการอย่างเดียวกับกรุงธนบุรี ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดี ศรีอยุธยา"

ครั้นเสร็จการบรมราชาภิเษก ร.1 ทรงขนานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ฯ" ต่อมา ร.4 ทรงแปลงสร้อยนามจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น "อมรรัตนโกสินทร์์" แล้วใช้สืบมาจนปัจจุบัน

 

 

14.00-16.00 น เสวนาหัวข้อ "ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการชุมชนโบราณแม่น้ำเจ้าพระยา"  เริ่มจาก อาจารย์ ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร พูดเรื่อง เมืองบางกอกที่บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่

 

 

เมืองพระประแดงที่คลองเตย โดย อาจารย์รุ่งเรือง ภิรมย์อนุกูล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

คุณสุกัญญา สัญญะเดช ชุมชนบางกอกน้อย "วิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของชุมชนโบราณ

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "เครื่องมือที่เหมาะสมในการอนุลักษณ์ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์"