กระทรวงกลาโหม

วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
พิมพ์
๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน และตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ภายหลังยกฐานะเป็นกระทรวงและเปลี่ยนชื่อเป็น...กระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ป้องกันประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวงสร้างสันติภาพ ให้ความสำคัญในการตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ และมีหน้าที่พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชประสงค์ 
ประวัติ 
กิจการทหารของชาติ: ได้ก่อกำเนิดมาพร้อม ๆ การกำเนิดของชาติไทย ได้มี วิวัฒนาการมาตั้งแต่ อาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดระบบ การทหารให้ทัดเทียมกับอารยประเทศได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน โดยตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น เมื่อ 8 เมษายน พ.ศ.2430 มีสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ เป็นเสนาบดีและต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2433 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงกลาโหม ปกครอง บังคับบัญชาทหารบก ฝ่ายเดียวส่วนทหารเรือ แยกไปตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยุบกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2474 และยกฐานะกรมทหาร อากาศเป็นกองทัพอากาศ เมื่อ 9 เมษายนพ.ศ.2480กิจการทหารไทยจึงมีทั้ง กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ.2481 ทางราชการเห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องรับผิดชอบทั้งด้านการทหารและการเมือง จึงได้ออกพระราชบัญญัติ จัดระเบียบ ราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2481 กำหนดให้มี กรมเสนาธิการทหารมีหน้าที่เตรียม และวางแผนการสงคราม และเป็นผู้ประสานงาน ระหว่างกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ใน พ.ศ.2503 ได้ตั้งกองบัญชาการทหาร สูงสุดขึ้น โดยแปรสภาพมาจากกรมเสนาธิการทหารปกครองบังคับบัญชากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศและส่วนราชการอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 

ศาลาว่าการกลาโหมปัจจุบัน ในอดีตคือ โรงทหารหน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เพื่อให้อนุชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้ และร่วมกันดูแลรักษาต่อไปในอนาคต

กระทรวงกลาโหม มีการแบ่งส่วนราชการระดับกรมออกเป็น 5 หน่วยงาน ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556ดังนี้

สำนักงานรัฐมนตรี 
มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองของรัฐมนตรี และมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลสำนักงานจเรทหารทั่วไป

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง

กรมราชองครักษ์ 
มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธี ตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน ตลอดจนวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับงานในหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

กองทัพไทย มีหนาที่เตรียมกำลังกองทัพไทย การปองกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใชกำลังทหารตามอำนาจหนาที่ของกระทรวงกลาโหม ควบคุมการปฏิบัติงานของกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
Like ·  · 
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 23:26 น.