บทความของ ผศ ทิพยวรรณ นิลทยา

วันอังคารที่ 06 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
พิมพ์

 

การเรียนจากประสบการณ์ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์

(ขอนำบทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา ใน www.gotoknow มาเผยแพร่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องของผู้นำ ที่ผมนำบทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเผยแพร่ก่อนหน้านี้)

 

ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง ภาวะผู้นำกับการพยาบาล

โดย ศาสตราจารย์ ดร นพ กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 (บทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา)

 

บรรยายให้กับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ฝึกให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 เป็นพิธีกรแนะนำวิทยากร

นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดีจนเป็นที่ประทับใจวิทยากร

 

อาจารย์เล่าให้นักศึกษาฟังว่า สมัยเด็กอาจารย์ถูกครูลงโทษ ทำให้ไม่ไปโรงเรียน ต่อมาช่วยงานที่บ้าน เลี้ยงเป็ด

เมื่ออายุ9 ปีไป ทำงานขายของที่ร้านคนจีนทั้งปี 40 บาท

ปีที่ 2 ทำงานทั้งปี มีรายได้ 60 บาท

สรุแล้ว สองปีที่ทำงานมีรายได้ 100 บาท

ในระหว่างที่ฝึกงานเถ้าแก่มีถังน้ำ อาจารย์ต้องหิ้วน้ำไปขายบริเวณสถานีรถไฟ ขายขันละ 5 สตางค์  บางครั้งรถวิ่งออกไปแล้ว อาจารย์จะาจารย์ต้องมีการสิ่งตามรถเพื่อขอขันคืน อาจารย์จึงเล่าว่าอเก่งเรื่องวิ่งขึ้นลงรถไฟ

ต่อมาอาจารย์ย้ายไปอุดร ธานีขายกะปิ น้ำปลา

อาจารย์ว่าประสบการณ์ดังกล่าวอาจารย์โชคดี

เพราะการทำงานคือ การเรียนหนังสือ

 

ที่สำคัญ อาจารย์ส่งหนังสือพิมพ์ที่อินทรอำรุง ครูเจริญ ปราบณศักดิ์ ใช้อาจารย์ไปซื้อบุหรี่ อาจารย์ชอบรับใช้ อยู่มาวันหนึ่ง คุณครูถามอาจารย์เรื่องการเรียน เสนอให้อาจารย์เรียน เข้าเรียน ม 1 ครูใหญ่ช่วยให้ครูสอนกวดวิชาให้ คนรูที่สอนบอกครูใหญ่ว่า อาจารย์เรียนไม่ได้ อาจารย์กล่าวว่าครูเจริญเป็นครูที่มีความเมตตา อาจารย์ใหญ่เจริญจึงสอนให้เอง ทำให้อาจารย์ผ่าน ม 1 ได้

อาจารย์ได้ให้นักศึกษารำลึกถึงภาวะผู้นำของครูเจริญด้วยการปรบมือให้

การทำงานคือการศึกษา

 

เมื่ออยู่ ม 4 อาจารย์พบผู้แทนราษฎรมาหาเสียง ผู้แทนฯเลยชวนอาจารย์ไปอยู่กรุงเทพ ขึ้นรถไฟไปกรุงเทพด้วยกางเกงขาสั้น ไม่สวมรองเท้า อยู่กับ สส ท่านทำงานทุกอย่างในบ้าน สส ได้ฝากให้ท่านเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ ชั้น ม 5 ครูกวี พันธ์ปรีชา

สอบ ม 6 เข้าโรงเรียนเตรียมได้เลือกให้เป็นประธานนักศึกษาจบได้โล่พระเกี้ยวทองคำ จากนั้นเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสอบข้ามฟากเรียนที่ศิริราช ตอนกลางคืนสอนติวที่สี่พระยาจนจบแพทย์ศิริราช

อาจารย์เล่าว่าเมื่อจบแล้วกลับไป เริ่มต้นชีวิตทำงานที่เมืองพลบ้านเกิด ทำงานที่สุขศาลา บ้านไม้มีเจ้าหน้าที่เรียกว่าสารวัตรสุขาภิบาลฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาจารย์จึงได้รับรางวัลแมกไซไซ โนเบลของเอเชีย ได้รับเครื่องราชย์จากจักรพรรรดิญี่ปุ่น

 

อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย 3 แห่งดังนี้

1.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

2.มหาวิทยาลัยนเรศวร

3.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

ประสบการณ์สอนให้เกิดการเรียนและสร้างภาวะผู้นำของอาจารย์ ดังนี้

  1. เรื่องการทำงานให้ทุ่มเทกับการทำงาน การรู้เรื่องงานเป็นการเรียนที่ไม่เป็นทางการ
  2. ภาวะผู้นำไม่เกี่ยวกับขาว ดำ อายุมาก น้อย แต่เกี่ยวกับประสบการณ์

บันได 3 ขั้น ของภาวะผู้นำประกอบด้วย

1.  ภาวะผู้นำรุ้จักเพิ่มค่าความหมายให้คนอื่น ยกย่องให้เกียรติ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่อายุมาก ด้วยการสวัสดี ขอโทษ เป็นสิ่งที่ต้องสะสมไว้

จากการเยี่ยมโรงพยาบาลของญี่ปุ่น มีการสร้างคุณค่าหลังจากการออกกำลงกาย สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอโทษค่ะ ขอให้โชคดีค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ

2.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับงานที่เราทำ จากการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

3.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับตนเองเสมอๆช่วยเหลือผู้อื่นสังคม ด้วยการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองตลอดเวลา

 

อาจารย์มีแนวทางพัฒนานักศึกษาให้เกิดภาวะผู้นำโดย F4

FOCUS FLEXIBLE FAIR FUN

ท้ายที่สุด อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษามาเล่าเรื่องสรุปที่อาจารย์บรรยาย และแสดงความคิดเห็นพร้อมมอบรางวัลเป็นหนังสือ

นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นสรุปบทเรียนและแสดงความคิดเห็น

สรุปว่า ตัวแทนนักศึกษาดังกล่าวสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำทางการพยาบาลจากการรับฟังแนวคิดของอาจารย์ในวันนี้ ที่สำคัญคือ เห็นแรงจูงใจของนักศึกษาในการทำความดีเพื่อเป็นคนดีเหมือนวิทยากร

เช่่นนี้ ย่อมบรรลุวัตถุประสงค์ของการบรรยายพิเศษวันนี้อย่างเป็นธรรมชาติดีแท้

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 16:05 น.