ทศวรรษแห่งวิกฤตการเงิน ..... สู่เหตุแห่งความล่มสลาย .....
Billionaires are holding $1.7 trillion in cash
รายงานการบริหารสินทรัพย์มหาเศรษฐีของหน่วยวิจัยตลาด เวลท์-เอ็กซ์ (Wealth-X - The Global Authority on Wealth Intelligence) เปิดเผยว่า บรรดานักธุรกิจของโลกมีเงินสดที่ถือครองอยู่เป็นมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 59.11 ล้านล้านบาท) ในขณะนี้
ซึ่งถือเป็นปริมาณเงินสดที่สูงที่สุดตั้งแต่เริ่มบันทึกเมื่อปี ค.ศ. 2010 และใกล้เคียงกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) ของสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
รายงานดังกล่าวเสริมว่า มหาเศรษฐีของโลก 2,473 ราย เพิ่มสัดส่วนการถือครองเงินสดเป็น 22.2% ของสินทรัพย์ทั้งหมด จากความกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่กระแสการเข้าซื้อและควบรวมกิจการของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กระตุ้นให้มีเงินไหลเวียนไปยังกลุ่มมหาเศรษฐีเหล่านี้
ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับมูลค่าของข้อตกลงควบรวมกิจการทั้งหลายที่เพิ่มขึ้น ทำให้บรรดาคนรวยปรับพอร์ต และพยายามเข้าเก็บเงินสดเมื่อมีโอกาส รายงานระบุ
สอดคล้องกับรายงานของธนาคารยูบีเอส (Union Savings Bank) ที่ออกมาเมื่อเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ว่ากลุ่มคนรวยในสหรัฐอเมริกา ปรับพอร์ตลงทุนให้มีเงินสดอยู่ที่ประมาณ 20% ซึ่งใกล้เคียงกับระดับเฉลี่ยช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี ค.ศ. 2008 และโดยส่วนใหญ่กำลังพิจารณาลดการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากกังวลความไม่แน่นอนที่มากับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มคนรวยเหล่านี้ กำลังรอเหตุการณ์ที่ทำให้มูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่านี้และค่อยเข้าลงทุน
ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2015 การลงทุนของมหาเศรษฐีเติบโต 5.4% อยู่ที่ 7.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 267 ล้านล้านบาท) โดย
1. ทวีปยุโรป เป็นภูมิภาคที่มีจำนวนมหาเศรษฐีมากที่สุดที่ 806 ราย
2. ทวีปเอเชีย มีการขยายตัวของมหาเศรษฐีรวดเร็วที่สุด เพิ่มขึ้น 15% จากปี ค.ศ. 2015 อยู่ที่ 645 ราย
3. ทวีปอเมริกาเหนือ มีมหาเศรษฐี 628 ราย
นอกจากนี้รายงานพบว่า อุตสาหกรรมธนาคาร การลงทุนและเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) ยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมการลงทุนหลักของมหาเศรษฐี และมหาเศรษฐีส่วนใหญ่ทำเงินจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภท ขณะที่มีมหาเศรษฐีหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจ
1. เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry)
1.1 ธุรกิจการเกษตร (Agribusiness)
1.2 อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)
2. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products)
2.1 แฟชั่น (Fashion)
2.2 ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน (Home & Office Products)
2.3 ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ (Personal Products & Pharmaceuticals)
3. ธุรกิจการเงิน (Financials)
3.1 ธนาคาร (Banking)
3.2 เงินทุนและหลักทรัพย์ (Finance & Securities)
3.3 ประกันภัยและประกันชีวิต (Insurance)
4. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrials)
4.1 ยานยนต์ (Automotive)
4.2 วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (Industrial Materials & Machinery)
4.3 บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
4.4 กระดาษและวัสดุการพิมพ์ (Paper & Printing Materials)
4.5 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals)
4.6 เหล็ก (Steel)
5. อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction)
5.1 วสัดุก่อสร้าง (Construction Materials)
5.2 บริการรับเหมาก่อสร้าง (Construction Services)
5.3 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development)
5.4 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund & Real Estate Investment Trusts) (REITs)
6. ทรัพยากร (Resources)
6.1 พลังงานและสาธารณูปโภค (Energy & Utilities)
6.2 เหมืองแร่ (Mining)
7. บริการ (Services)
7.1 พาณิชย์ (Commerce)
7.2 การแพทย์ (Health Care Services)
7.3 สื่อและสิ่งพิมพ์ (Media & Publishing)
7.4 บริการเฉพาะกิจ (Professional Services)
7.5 การท่องเที่ยวและสันทนาการ (Tourism & Leisure)
7.6 ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics)
8. เทคโนโลยี (Technology)
8.1 ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Components)
8.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology)
Credit : http://www.cnbc.com/2016/08/10/billionaires-are-hoarding-cash.html
Credit : http://www.thewealthinsider.com/category/the-rich/billionaire/
Credit : http://www.moneycontrol.com/news/world-news/billionairesholding-3617-trillioncash_7248501.html
Credit : https://www.youtube.com/watch?v=H705vC8y-Sc
คัดลอกจากไลน์คุณอภิชาติ ประสิทธิ์ฤทธิ์
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|