Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > จรรยาบรรณทางวิชาการ โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

จรรยาบรรณทางวิชาการ โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

จรรยาบรรณทางวิชาการเป็นเครื่องมือของพลังความดี พลังเชิงบวก ที่จะสร้างความวัฒนาถาวรให้แก่สังคม ดังนั้น พลังนี้จะเกิดผลจริง เมื่อสังคมยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรม เป็นคุณค่าของสังคม ยิ่งกว่าปฏิบัติเพราะเกรงกลัวโทษ

 

ในการประชุมประจำปี “นักวิจัยใหม่ ... พบ ... เมธีวิจัยอาวุโส สกว.”  ปี๒๕๕๕  ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๒ ต.ต. ๕๕ ที่ชะอำ  เช้าวันที่ ๑๒ มีการเสวนาเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยผมร่วมเสวนาด้วย  ทางผู้จัดขอเอกสารประกอบ ผมจึงเขียนให้ ดังต่อไปนี้



จรรยาบรรณทางวิชาการ[*]

วิจารณ์ พานิช

..................

 

จรรยาบรรณทางวิชาการ เป็นคำกว้างๆ หมายถึงระเบียบที่ต้องประพฤติทางวิชาการ  ที่ควรพิจารณาว่ามีได้หลายระดับ  ได้แก่ระดับประเทศ  ระดับสถาบัน  ระดับสาขาวิชาการ  และระดับบุคคล  ควรมีการส่งเสริมหรือมีมาตรการเชิงบวก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  มีการประพฤติปฏิบัติ จนกลายเป็นวัฒนธรรมวิชาการ  ที่ก่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ  และได้รับการยอมรับนับถือจากสังคม

และในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีมาตรการเชิงลบ เพื่อป้องกันหรือป้องปรามการละเมิด  เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ  และเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ

นอกจากนั้น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาการ ที่ยึดถือร่วมกันในระดับสากล  ก็เป็นเกียรติภูมิและชื่อเสียงของประเทศ  ในทางตรงกันข้าม หากมีการประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง และไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง  ก็เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศได้

การจัดการจรรยาบรรณทางวิชาการ จึงน่าจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยง ของสถาบันวิชาการ  ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการจัดการเรื่องนี้บูรณาการอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ทางวิชาการทุกขั้นตอน  ดังนั้นนอกจากมีเอกสารกำหนดจรรยาบรรณทางวิชาการ และเผยแพร่อย่างกว้างขวางแล้ว  สถาบันทางวิชาการจะต้องกำหนดขั้นตอนการจัดการจรรยาบรรณทางวิชาการ แทรกอยู่ในขั้นตอนของงานวิชาการทั้งหมด  ทั้งการทำงานวิชาการ  การผลิตผลงาน  และการให้การยกย่องให้คุณค่าแก่ผลงานวิชาการ  รวมทั้งควรมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ “ผู้เปิดเผยพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการ”(whistle blower) และขั้นตอนการดำเนินการ และระดับการลงโทษ ต่อผู้ละเมิดจรรยาบรรณนี้

การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการ พึงกระทำตั้งแต่ยังเป็นเด็ก   การคัดลอกข้อเขียนหรือถ้อยคำของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง พึงได้รับการป้องกัน ห้ามปราม และลงโทษ  การเขียนรายงานแบบตัดปะพึงได้รับการห้าม และลงโทษ  โดยครูพึงอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า การปฏิบัติเช่นนั้น ผู้ได้รับผลเสียหายที่สุดคือตนเอง  เพราะจะติดนิสัยการเรียนรู้แบบผิวเผินไปตลอดชีวิต  พ่อแม่ที่รักลูกพึงกวดขันลูกในเรื่องนี้

สื่อมวลชนไทยมีการคัดลอกโดยไม่อ้างอิงอยู่เสมอ  ควรมีการทำงานร่วมกับสมาคมต่างๆ ด้านสื่อมวลชน เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้  และผู้ละเมิดแบบจงใจพึงได้รับโทษ โดยมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมาย อย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ

กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานวิชาการที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  จึงควรพิจารณาระบบจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตในการเสนอผลงานเพื่อขอตำแหน่ง คศ.  ที่มีข่าวอยู่เสมอว่ามีการว่าจ้างให้ผู้อื่นทำให้

จรรยาบรรณทางวิชาการไม่ได้มีเฉพาะที่เกี่ยวกับผลงานทางวิชาการเท่านั้น  ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการด้วยกัน  ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการกับสถาบันที่ตนสังกัด  ระหว่างนักวิชาการกับแหล่งทุนสนับสนุน  ระหว่างสถาบันวิชาการกับแหล่งทุนสนับสนุน

ที่จริงหน่วยงานที่เป็นแหล่งทุนสนับสนุนก็เป็นหน่วยงานวิชาการ จึงพึงมีข้อกำหนดจรรยาบรรณของหน่วยงาน และของผู้ปฏิบัติงานด้วย  ประเด็นที่พึงพิจารณาคือความประพฤติของเจ้าหน้าที่ ที่แสดงอำนาจเหนือในฐานะ “ผู้ให้ทุน”  ขาดความเคารพและให้เกียรติผู้รับทุนตามสมควรรวมทั้งกรณีให้ทุนแล้วเจรจาผลประโยชน์แก่ตนเองในรูปแบบต่างๆเช่นขอให้พาไปต่างประเทศขอให้ซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นต้น

วารสารวิชาการเป็นอีกแหล่งหนึ่งของการปกป้องรักษาและส่งเสริมจรรยาบรรณทางวิชาการ  วารสารควรประกาศข้อยึดถือและข้อปฏิบัติของวารสารในกรณีมีการกล่าวหาว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณทางวิชาการเกี่ยวข้องกับรายงานผลการวิจัยที่ได้ลงพิมพ์ในวารสารไปแล้วในกรณีที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่ามีการทุจริตทางวิชาการวารสารพึงถอนรายงานนั้นออกจากรายการในวารสารไม่ว่ารายงานนั้นจะได้ตีพิมพ์ไปนานเพียงใดแล้วประกาศให้วงการวิชาการรับทราบอย่างกว้างขวางทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องปรามนักวิชาการรายอื่นๆ

ในยุคสมัยทุนนิยม ที่วิชาการบางส่วนกลายเป็นธุรกิจ  มีการโฆษณาสินค้าวิชาการ  ตามแนวทางธุรกิจ  เป็นประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลระบบวิชาการพึงเอาใจใส่  หากไม่มีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง  ในที่สุดระบบคุ้มครองผู้บริโภคจะเข้ามาดูแล  พลังของจรรยาบรรณทางวิชาการก็จะยิ่งอ่อนแอลงไป

จรรยาบรรณทางวิชาการเป็นเครื่องมือของพลังความดี  พลังเชิงบวก  ที่จะสร้างความวัฒนาถาวรให้แก่สังคม  ดังนั้น พลังนี้จะเกิดผลจริง เมื่อสังคมยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรม เป็นคุณค่าของสังคม  ยิ่งกว่าปฏิบัติเพราะเกรงกลัวโทษ

 

…………………………

 

ในวันประชุมไฟดับ เสียเวลาไปเกือบ ๑ ชั่วโมง  แต่การนำเสนอของ รศ. ดร. วริยา ชินวรรโณ, ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ, และ ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ ให้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน  ใช้เวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง ได้อย่างทรงคุณค่า

ข้อเรียนรู้ของผมคือ ประเด็นทางจริยธรรมมันเกิดใหม่ตลอดเวลา  ที่ฮ็อตที่สุดเวลานี้ คือที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์และเกี่ยวกับวารสารสามานย์ ที่ลงบันทึกเมื่อวันที่ ๒๓ ต.ค. ๕๕

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ต.ค. ๕๕

 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > จรรยาบรรณทางวิชาการ โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601858

facebook

Twitter


บทความเก่า