โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ
ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)
แผนการดำเนินการปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒
ชื่อโครงการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ
แผนงาน สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเหมาะสมเข้าสู่ภาคธุรกิจบริการ
พัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการให้มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้
ยุทธศาสตร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีการขยายตัวและมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีธุรกิจภาคบริการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา แต่ในขณะนี้ภาคธุรกิจบริการมีความขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้านสูง และประสงค์จะให้มีการเตรียมและส่งเสริมแรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับแรงงานที่ขาด ทั้งๆที่คนไทยจำนวนมากไม่มีงานทำหรือทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนต่ำ การที่ภาคธุรกิจบริการขาดบุคลากรที่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับล่างทุกตำแหน่ง รวมถึงพนักงานบริหารทุกระดับ ทำให้คนไทยที่ตกงานมีโอกาสได้รับการอบรมเพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของแรงงาน และให้พนักงานที่เข้าทำงานอยู่ในภาคธุรกิจบริการอยู่แล้วมีโอกาสพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของพนักงานเอง และให้ได้รายรับที่ยุติธรรมและพอเพียงต่อการยังชีพของตัวเองและครอบครัว
ภาคธุรกิจบริการต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ด้านจิตวิญญาณ และทักษะเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงานมากกว่าความรู้ที่จบปริญญาตรี เช่น พนักงานทำความสะอาดห้องพักลูกค้าในโรงแรม พนักงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีใจรักในการทำงาน สนุกสนานและมีความพอใจในภารกิจที่จะต้องทำโดยไม่รังเกียจ มีความซื่อสัตย์ รู้ผิดรู้ชอบ พอใจในสิ่งที่ตัวมี ไม่ยึดเอาของคนอื่นมาเป็นของเราเอง มีทักษะในงานเฉพาะที่จะต้องทำ เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดีที่ จะมีหน่วยงานให้บริการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ซึ่ง โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ จะเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ขาดโอกาสให้ได้เข้ารับการเรียนรู้และสร้างมูลค่าของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจบริการ ทำให้ภาคธุรกิจบริการมีบุคลากรที่มีมาตรฐานพอเพียงต่อการขยายตัวและการแข่งขันในระดับสากล ช่วยลดการว่างงานของประชาชนชาวไทย ช่วยส่งเสริมศักยภาพความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs .ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการบริหารโครงการจนกว่าการพัฒนาองค์การเป็นมูลนิธิจะดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. จัดให้มีการอบรม ประชุมเสวนา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ ทั้งให้การอบรมเอง และประสานงานให้หน่วยงานงานอื่นเป็นผู้อบรม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องใน
๒. จัดให้มีการศึกษาและวิจัยความต้องการแรงงานในภาคบริการ มาตรฐานของแต่ละแรงงาน ความเหมาะสมของรายได้ของแรงงานในแต่ละมาตรฐานแรงงาน
๓. ให้การปรึกษาแก่ทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการที่เป็นสมาชิก
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ
๑. ทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ (ประชาชนคนไทยที่ด้อยโอกาส)
๒. ผู้ประกอบการธุรกิจภาคบริการ (SMEs) และองค์กรร่วมของเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๓. ภาคชุมชนในรูปแบบกลุ่มต่างๆ
ระยะเวลาดำเนินการ
เป็นโครงการนำร่องระยะเวลา ๑ ปี ( เมื่อครบกำหนด จะสรุปผลการดำเนินการและวางโครงการต่อเพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง) แนวทางการดำเนินงานโครงการ
๑. พัฒนาเครือข่าย และจัดหาสมาชิก เพื่อทำงานรวบรวมข้อมูลความต้องการการฝึกอบรมนำร่อง พร้อมๆกับโครงการหลักของ ศบม. ที่จะจัดทำ Data and Knowledge Based
๒. จัดทำโครงการอบรมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับศิลปิน ให้แก่สมาชิกหอศิลป์แห่งประเทศไทย และหอศิลป์ส่วนภูมิภาคในประเทศไทย
๓. จัดทำโครงการเสวนาผู้ประกอบการธุรกิจบริการ (การท่องเที่ยว) เพื่อแสวงหาทิศทางการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินงานโครงการ มี ๗ ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑. จัดตั้งทีมทำงานโครงการ จากกลุ่มผู้ก่อตั้งและผู้สนใจ เพื่อกำหนดกรอบของโครงการ และจัดหาเงินทุน และแต่งตั้งคณะทำงานในแต่ละคณะ
ขั้นตอนที่ ๒. ประสานงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการ ตัวแทนสมาคมภาคธุรกิจบริการ ตัวแทนสภาหอการค้า ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นตัวแทนหน่วยงานที่ให้ทุน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถานศึกษา นักวิชาการ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ ๓. เผยแพร่กรอบโครงการ
ขั้นตอนที่ ๔. จัดทำประเด็นหลักสูตรหลัก และพัฒนาหลักสูตรในระยะสั้นและระยะยาว
ขั้นตอนที่ ๕. ดำเนินการบริหารโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้ริเริ่มดำเนินงานกิจกรรมนำร่องก่อน ๒ กิจกรรมคือ โครงการอบรมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับศิลปิน ให้แก่สมาชิกหอศิลป์แห่งประเทศไทย และหอศิลป์ส่วนภูมิภาคในประเทศไทย และโครงการเสวนาผู้ประกอบการธุรกิจบริการ (การท่องเที่ยว) เพื่อแสวงหาทิศทางการฝึกอบราทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ
ขั้นตอนที่ ๖. ประเมินผลการดำเนินงาน
แผนการการดำเนินงานปีที่ ๑ (๒๕๕๑-๒๕๕๒)
ตารางที่ ๑ แสดงแผนการดำเนินงานในระยะปีที่ ๑ (๒๕๕๑-๒๕๕๒)
แหล่งเงินทุน
๑. จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์การ NGOs อื่น ในรูปเงินสนับสนุนหรือเงินให้ยืม
๒. จากผู้ประกอบการที่เข้าอบรม เสวนา
๓. จากการรับบริจาค
ผู้รับผิดชอบ
กรรมการและคณะทำงานใน ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสารสนเทศ
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|