Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ

รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป: Guo Jin Min Tui

โดย ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/aksornsri/news-list-1.php

เมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมาก่อนที่จะตกอยู่ในสถานะ“ผู้อพยพ”ลี้ภัยน้ำท่วมอย่างเต็มตัว ดิฉันได้มีโอกาสบินไปเก็บข้อมูลในเมืองจีนติดกันหลายรอบ และมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่านค่ะ เป็นเรื่องของทิศทางและแนวคิดของจีนที่จะให้ “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป”หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า Guo Jin Min Tui (กั๋ว จิ้น หมิน ทุ่ย) ซึ่งบิ๊กบอสคนเก่งของกลุ่มมิตรผลในจีน “คุณชูศักดิ์ ว่องกุศลกิจ” ผู้มีประสบการณ์ยาวนานร่วม 18 ปีในแดนมังกรได้เริ่มเกริ่นถึงแนวคิดนี้ให้ดิฉันและคณะดูงานได้รับทราบ และในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ดิฉันจึงให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ จนต้องกลับไปค้นคว้าข้อมูลที่มาที่ไปของแนวคิดดังกล่าว เพราะเป็นอีกตัวอย่างของนโยบายจีนที่พลิกตำราเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (อีกแล้ว) ค่ะ

ที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศส่วนใหญ่จะเน้นดำเนินการตามแนวคิด privatization หรือแปลไทยว่า “การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน” เพราะเชื่อกันว่า เอกชนน่าจะทำธุรกิจได้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่ากิจการของรัฐ แต่แนวคิด “กั๋ว จิ้น หมิน ทุ่ย” ในประเทศจีนกลับตรงกันข้าม เพราะในวันนี้ ประเทศจีนได้หันมาเน้น “การแปรรูปกิจการเอกชนให้เป็นของรัฐ”

ในขณะนี้ รัฐวิสาหกิจจีนในหลายอุตสาหกรรมได้ (กลับ) ขึ้นมามีบทบาทแทนที่บรรดาบริษัทเอกชนจีนที่เคยมีอยู่ดาษดื่น ทำให้อุตสาหกรรมของเอกชนจีนหดเล็กลง หรือต้องถอยฉากออกไป จนอาจจะทำให้ภาคเอกชนต้องลดบทบาทจากที่เคยเป็นผู้เล่นหลักในระบบเศรษฐกิจจีนก็เป็นได้

แนวคิด “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป” เริ่มประมาณปลายปี 2009 เมื่อทางการจีนเริ่มนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อให้ภาครัฐเข้าคุมกิจการของกลุ่มธุรกิจสำคัญและเพื่อโอบอุ้มรัฐวิสาหกิจจีนให้กลับขึ้นมาเป็น “พระเอก” ในอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เคมีภัณฑ์ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เหมืองแร่ การผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น สายการบิน การเงิน การประกันภัย ไปจนถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกำไรค่อนข้างสูง ทำให้บริษัทเอกชนจีนหลายแห่งในอุตสาหกรรมเหล่านี้ถูกบีบให้ปิดตัวลง บ้างก็ถูกบีบให้ขายออกไปในราคาที่ต่ำ

ดังนั้น ภายใต้นโยบาย “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป” นี้ กิจการของรัฐในจีนหลายแห่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาหรือกำหนดปริมาณการผลิตในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น

นอกจากนี้ เอกชนจีนหลายรายได้ออกมาโอดครวญว่า “มีประวัติทางการเงินดี แต่กลับกู้เงินไม่ได้ เพราะธนาคารในสังกัดของรัฐบาลจีนไม่เห็นบริษัทเอกชนอยู่ในสายตา” จนถึงขั้นเปรียบเปรยว่า “ในฤดูหนาว วิสาหกิจของรัฐได้ใส่เสื้อหนาๆ แต่บริษัทเอกชนจีนยังคงใส่เสื้อบางๆ

สำหรับตัวอย่างมาตรการที่ทางการจีนนำมาใช้ เช่น การเข้าซื้อกิจการ ตลอดจนการใช้เครื่องมือจากนโยบายของรัฐต่างๆ รวมทั้งการอัดฉีดให้เงินอุดหนุนกิจการของรัฐเป็นจำนวนมหาศาล พูดง่ายๆว่า โอบอุ้มกันสุดๆ จนเกิดคำกล่าวว่า รัฐบาลจีน“ปล่อยให้เอกชนกินน้ำซุป ส่วนรัฐวิสาหกิจจีนได้เป็นฝ่ายกินชิ้นเนื้อ”

ในยุค “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป” นี้ พบว่า สัดส่วนของทุนและสินทรัพย์ที่ถือโดยรัฐวิสาหกิจจีนได้ขยายเพิ่มมากขึ้นและเริ่มเข้ามาแทนที่ทุนเอกชนจีนในหลายสาขาอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น สายการบินของเอกชนจีนได้ถูกกลืนเข้าไปอยู่ในกำมือของสายการบินหลักที่เป็นรัฐวิสาหกิจจีน และกรณีตัวอย่างของเหมืองถ่านหินเอกชนจีนในมณฑลซานซีได้ถูกบีบให้กลายเป็นของรัฐ (Nationalization) เป็นต้น

กลุ่มที่สนับสนุนปรากฏการณ์นี้ในจีน ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมณฑลพยายามอธิบายว่า นโยบาย “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป” เป็นเพียงการดำเนินการตามระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะของจีน หรือภาษาทางการเรียกว่าState-led Socialist Market Economy with Chinese Characteristicsและเพื่อส่งเสริมให้ “ผู้ที่แข็งแรง (กว่า) เข้ามา ส่วนผู้อ่อนแอก็ต้องถอยฉากไป

อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่งก็มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย “กั๋ว จิ้น หมิน ทุ่ย” ของทางการจีน เช่น นักวิชาการจีนจากหลายสถาบันมีความเห็นว่า “นโยบายนี้เป็นการถอยหลังของการปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดที่ดำเนินมานานร่วม 30 ปี และโจมตีว่า ธุรกิจหลายอย่างได้ถูกผูกขาดโดยวิสาหกิจในสังกัดของรัฐบาลจีนและยังได้เข้ามา “แย่งกำไร” ของภาคเอกชน จึงเริ่มมีการตั้งคำถามในแง่การแข่งขันที่เป็นธรรมในระบบตลาด

นอกจากนี้ ยังมีบางรายถึงขั้นวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมาว่า “แท้จริงแล้ว มาตรการนี้เป็นไปเพื่อตอบสนองกลุ่มผลประโยชน์ (พิเศษ) ในรัฐบาลจีน” และยังได้โยงไปถึงผลประโยชน์ของรัฐบาลท้องถิ่นจีนจากการเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นเจ้าของ เพราะต้องไม่ลืมว่า ภายใต้ระบบ Decentralization รัฐบาลท้องถิ่นของจีนสามารถแสวงหารายได้และเก็บรายได้ไว้เองส่วนหนึ่งเพื่อการบริหารจัดการของท้องถิ่นตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้รัฐบาลกลางที่ปักกิ่งทั้งหมด รัฐบาลท้องถิ่นเหล่านี้จึงต้องการ “ทำมาหากิน” หาเงินเข้ากองคลังของตนนั่นเอง

ด้วยกระแสวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านแนวคิด “รัฐเข้า (คุม) เอกชนถอยไป” จากหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ทำให้บางองค์กรของจีน เช่น สภาที่ปรึกษาทางการเมืองจีน (CPPCC) ต้องออกมาปฏิเสธว่า “ไม่มีกั๋ว จิ้น หมิน ทุ่ยในประเทศจีน !!! จึงชัดเจนว่า แนวคิดเรื่องนี้ในประเทศจีนยังไม่มีข้อยุติ และคงต้องเกาะติดกันต่อไป เพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจทุนต่างชาติในจีน รวมทั้งธุรกิจของทุนไทยในจีนด้วยค่ะ

ก่อนจบ ขอแสดงความขอบคุณรัฐบาลจีนที่ได้มีน้ำใจส่งเงินและสิ่งของมาบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเมืองไทยของเรา ขอให้น้ำลดเร็วๆ เราจะได้ผ่านพ้นปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่นี้ไปด้วยกัน (ซะที)

หมายเหตุ : ข้อมูลหนังสือทุนจีนรุกอาเซียน http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9786167536125{jcomments on}

กรองตามชื่อเรื่อง     แสดง # 
# รายการหัวเรื่อง เขียนโดย ผู้ชม
1 นายกขยับหมาก เปลวสีเงิน เปลวสีเงิน 721
2 ทำไมอเมริกาจึงเสื่อมถอย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 2217
3 เปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร 2652
4 ทศวรรษแห่งวิกฤตการเงิน ..... สู่เหตุแห่งความล่มสลาย ..... อภิชาติ ประสิทธิฤทธิ์ 2773
5 บูรพาภิวัตน์ เอเชียคืออนาคต ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 3129
6 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจรัตนโกสินทร์ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 2859
7 ระบบทุนนิยมโลกในทัศนะ จอร์ซ โซรอส พ่อมดการเงินของโลก พุฒิเชษฐื ภูริพงษ์ธนเจริญ 3372
8 25 ข้อคิดในการบริหารธุรกิจ สไตล์แจ็ค หม่า พุฒิเชษฐื ภูริพงษ์ธนเจริญ 2812
9 15 นิสัยเศรษฐีที่รวยได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง คิดจะเริ่มสร้างตัวต้องทำแบบนี้ พุฒิเชษฐื ภูริพงษ์ธนเจริญ 3006
10 เทคโนโลยี เปลี่ยน โลก คุณธงชัย 145 2531
11 เทคโนโลยี เปลี่ยน โลก คุณธงชัย 145 2720
12 ดร.โสภณ ห่วง ดร.สมคิด พาชาติไปสู่หายนะ ดร.โสภณ พรโชคชัย 2816
13 ชีวิตที่พอเพียง ๒๕๗๐. เรียนรู้เศรษฐกิจไทยและโลก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 2957
14 ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณ SCB Economic Intelligence Center 3096
15 วางกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติแรงงานไทย SCB Economic Intelligence Center 2992
16 ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรต่อแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในตลาดแรงงานไทย? SCB Economic Intelligence Center 3195
17 แนะ "คสช" รับฟังความเห็นภาคประชาคมที่ติดตามนโยบายด้านพลังงาน รสนา โตสิตระกูล 3480
18 จากกัปตันเรือบรรทุกน้ำมัน กัปตัน ..รักเมืองไทย 3427
19 กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า อาจารย์รุจิระ บุนนาค 3287
20 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธุรกิจบริการสู่ AEC and Beyond ในธุรกิจบริการ 4 สาขา ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 3495
 
หน้า 1 จาก 2
Home > Articles > เศรษฐกิจ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5678
Content : 3088
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8899086

facebook

Twitter


บทความเก่า