Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๖. ปลดปล่อยจากพันธนาการของกาละและเทศะ และพันธนาการอื่นๆ

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๖. ปลดปล่อยจากพันธนาการของกาละและเทศะ และพันธนาการอื่นๆ

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๖ นี้ ตีความจาก Edge 4. The Time/Place Edge : Learning Anytime, Anywhere

เทคโนโลยีด้าน ไอซีที ช่วยปลดปล่อย หรือให้อิสระแก่การเรียนรู้    ไม่ต้องผูกพันกับห้องสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่าห้องเรียน    และไม่ต้องจำกัดอยู่เฉพาะในเวลาที่โรงเรียนกำหนดให้เป็น “เวลาเรียน” อีกต่อไป    นักเรียนจะเรียนที่ไหน เวลาใด ก็ได้

หมายความว่า เทคโนโลยี ไอซีที ช่วยปลดปล่อย    หรือเปิดโอกาส ให้การเรียนรู้เปลี่ยนโฉมไปโดยสิ้นเชิง ในเรื่อง กาละและเทศะ ของการเรียนรู้    แล้วระบบการศึกษาไทย จะใช้พลังของการปลดปล่อยนี้หรือไม่

แต่ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนกาละเทศะ ของการเรียนของนักเรียน มีมากกว่าเทคโนโลยีอย่างมากมาย    คือเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ ที่อยู่ในเมือง    ที่เวลาทำงานและเดินทางของพ่อแม่ ทำให้ลูกเลิกเรียนก่อน แต่ไม่รู้จะ ไปไหน ก่อนที่พ่อแม่จะมารับ    รวมทั้งความจำเป็นที่เด็กจะต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดปัญหา โรคอ้วน เป็นต้น

เทคโนโลยี ไอซีที เป็นทั้งตัวปัญหา และเป็นทั้งโอกาส ต่อการเรียนรู้ให้รู้จริง    หากเด็กเอาไปใช้เล่นเกม หรือติดต่อกับเพื่อนในทางเสื่อมเสีย   ไอซีที ก็เป็นตัวปัญหา    วงการศึกษาจึงต้องฝึก ให้ศิษย์รู้จักใช้ ไอซีที เพื่อประโยชน์ต่อการเรียน หรือประโยชน์ต่อชีวิตอนาคตของตน   ไม่ถูกความเย้ายวน ชักจูงให้ใช้ ไอซีที ไปในทาง เสื่อมเสียแก่อนาคตของตนเอง    หนามยอก ต้องเอาหนามบ่ง    คือต้องเปลี่ยนบทบาทของเยาวชน จากเสพสื่อเพื่อความบันเทิง เป็นใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์

การส่งเสริมให้เด็กเรียนโดยทำกิจกรรม ทำโครงงานเป็นทีม ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ของตนเองอย่างเอาจริงเอาจัง    เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกสำรวจพื้นที่ และค้นคว้าความรู้จาก อินเทอร์เน็ต    หรือใช้ อินเทอร์เน็ต ในการติดต่อสอบถามผู้รู้   ช่วยให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน และนอกเวลาเรียนของโรงเรียน    นักเรียนได้ฝึกสังเกตหรือเก็บข้อมูลในพื้นที่    ได้ฝึกค้นคว้าหาความรู้จากหลากหลายแหล่ง    และได้ฝึกประเมิน และเลือกความรู้ที่น่าเชื่อถือ และเหมาะสมต่อบริบทของตน มาใช้    ได้ฝึกประยุกต์ใช้ความรู้ให้เหมาะสม กับสภาพ บริบท หรือสภาพความเป็นจริง    และได้ฝึกเก็บข้อมูลเพื่อวัดผลความสำเร็จ    สำหรับนำมาคิดไตร่ตรอง ทำความเข้าใจความรู้เชิงทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้นั้นๆ

การเรียนตามย่อหน้าข้างบน เกิดขึ้นได้ 24/7/365    ไม่ใช่ 6/5/180 อย่างในการเรียนในห้องเรียน   แต่จะ เกิดขึ้นได้ ต้องมีการจัดการ   และมีการชักชวน ส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่า และสนุก ในการเรียนช่วงนอกเวลา ในห้องเรียน

ครู/พ่อแม่ ต้องไม่เอาใจใส่การเรียนของศิษย์/ลูก เฉพาะในช่วงเวลาในห้องเรียน   ต้องร่วมกันสร้างโอกาส และสร้างบรรยากาศ ของการเรียนรู้ แบบที่เด็กกำกับกิจกรรมของตนเอง    และเรียนแล้วเกิดความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ในความสามารถของตนเอง

ตามที่เล่าในหนังสือเล่มนี้ การเรียนนอกเวลา 6/5/180  หรือนอกห้องเรียน/โรงเรียน    ดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ    โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่หลากหลาย   รวมทั้งที่จัดโดยโรงเรียนเอง ร่วมกับองค์กรภาคีที่หลากหลาย หรือจัดร่วมกับสมาคมผู้ปกครอง    ผลที่เกิดขึ้นคือ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียน ดีขึ้นมาก   และช่วยแก้ปัญหาความประพฤติด้วย

ผมเคยไปเยี่ยมโรงเรียนระดับ ม. ต้น ของไทย    และได้รับคำบอกเล่าว่านักเรียนมักเลิกเรียนเวลา ๑๕ น.   แต่พ่อแม่เลิกงาน ๑๖.๓๐ น.   กว่าพ่อแม่จะมารับก็ ๑๗ - ๑๘ น.   ระหว่างเวลา ๒ - ๓ ชั่วโมงนั้นเด็กไม่มีอะไรทำ ก็เบื่อ    จะมีคนมาตั้งร้านเน็ตข้างๆ โรงเรียน    ให้เด็กไปเล่นเน็ต นำไปสู่การติดเกม หรือดูหนังโป๊   ล่อให้เด็กเดินไปสู่ทางอบาย

ในกรณีเช่นนี้ พ่อแม่และครูควรร่วมกันจัดเวลาเรียนแบบ Project-Based หลากหลายแบบ ให้เด็กเรียนเป็นทีม   มีโจทย์ที่ท้าทาย ได้ใช้เวลาว่างเสริมการเรียนวิชาในห้องเรียน   และอาจเป็นโจทย์ที่นักเรียนได้ภาคภูมิใจว่าตนได้ทำประโยชน์แก่โรงเรียน หรือแก่ชุมชนโดยรอบ ได้ด้วย

ที่จริงการปลดปล่อยการศึกษา/การเรียนรู้ ออกจากพันธนาการหรือกรงขังนี้    ไม่ใช่แค่ปลดปล่อย ออกจากกรงขังของเวลาและสถานที่ เท่านั้น    ยังต้องปลดปล่อยออกจากพันธนาการอีกหลายอย่าง    ได้แก่พันธนาการของวิชา ที่แต่ละวิชาต้องเรียนแยกกัน   พันธนาการของความเป็นครู ที่ครูแต่ละคนสอนแยกกัน    พันธนาการของการเรียนเป็นชั้นปี แยกกัน    พันธนาการเด็กให้เรียนจากโรงเรียนเท่านั้น แยกการเรียนรู้ออกจาก การทำงานที่บ้าน หรือการทำงานในสถานการณ์จริง ที่หนังสือเล่มนี้เรียกว่า Place-Based Learning

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 เมษายน 2014 เวลา 12:58 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๖. ปลดปล่อยจากพันธนาการของกาละและเทศะ และพันธนาการอื่นๆ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8613973

facebook

Twitter


บทความเก่า