Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๕๔. ภูมิทัศน์การเมืองไทย

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๕๔. ภูมิทัศน์การเมืองไทย

พิมพ์ PDF

 

บทความเรื่อง ภูมิทัศน์การเมืองไทยเปิดกระโหลกผม ในเรื่องสังคมและการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน ในแง่มุมภาพใหญ่ และภาพเคลื่อนไหว ที่ประทับใจที่สุดคือ ข้อสรุปในวรรณกรรมปริทัศน์ภาคการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ว่า ร้อยละ ๗๓ ของแรงงาน เป็นแรงงานภาคนอกระบบ ที่ “ไม่มีระบบประกันสังคมใดๆ รองรับ”

 

ข้อมูลและการวิเคราะห์ในตอนนี้ หลายส่วนใหม่และเปิดหูเปิดตาผมมาก ถือเป็นบุญที่ได้อ่านบทความที่ลุ่มลึกเช่นนี้ แต่ผมก็อดเถียงไม่ได้ ว่าแทนที่เราจะมองผู้คนเหล่านี้เป็น “แรงงานนอกระบบ” เรามองเป็น “ธุรกิจขนาดเล็กมาก” (VSE- Very Small Enterprise) จะดีกว่าไหม และภาครัฐและภาคการศึกษา หาทางส่งเสริมการเรียนรู้ และข้อเรียนรู้เพื่อให้ผู้คนเหล่านี้ทำธุรกิจ ได้ดียิ่งขึ้น และเป็นธุรกิจที่ก่อผลดีทั้งต่อตนเองและต่อสังคมได้มากขึ้น แทนที่จะไปตราเขาไว้ “นอกระบบ” ก็คิดใหม่ จัดระบบรองรับและส่งเสริมเขาเสียเลย เพราะเขาเป็นคนส่วนใหญ่ เกือบสามในสี่ของประเทศ “ระบบธุรกิจขนาดเล็กมาก”

 

ข้อความรู้ที่ควรจะหาทางให้คนเหล่านี้เรียนรู้เพิ่ม คือ (๑) ความผันผวนไม่แน่นอน ที่จะมีโอกาสกระทบธุรกิจของเขา และวิธีป้องกันความเดือดร้อนหรือผลกระทบ (๒) ลู่ทางเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และชีวิต (๓) ทักษะการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของมายาความหลอกลวง ที่มาจากสารพัดรูปแบบ

 

ผมไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า คนร้อยละ ๗๓ ของประเทศเหล่านี้ “ไม่มีระบบประกันสังคมใดๆ รองรับ” เพราะเขาได้รับ การคุ้มครองสุขภาพ ซึ่งเป็นระบบประกันสังคมรูปแบบหนึ่ง แม้จะแยกกันกับกฎหมายประกันสังคม การประกันสังคม ในชีวิตคน กับการประกันสังคมในกฎหมายประกันสังคม เป็นคนละเรื่อง

 

ในส่วนปริทรรศน์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผมสนใจข้อวิเคราะห์ความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน ว่ามี ๓ ส่วนคือ (๑) “ท้องที่” กำนันและผู้ใหญ่บ้าน (๒) “ท้องถิ่น” อปท. (๓) “ชุมชน” สภาองค์กรชุมชน

 

วิจารณ์ พานิช

 

๗ เม.ย. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 09 พฤษภาคม 2014 เวลา 09:12 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๕๔. ภูมิทัศน์การเมืองไทย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8656724

facebook

Twitter


บทความเก่า