Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

 

๑. เรื่องหลักการกับบุคคล สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการปะทะกันทางความคิดใน ๒ ประเด็น ระหว่าง “รัฐธรรมนูญไม่ดี เสนอยกร่างใหม่” กับ “ของเดิมดีอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่คน”

การติดยึดติดข้างใดข้างหนึ่งเป็นความเห็นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง แต่ขอให้พิจารณาด้วยทางสายกลาง คือพิจารณาไปตามเหตุปัจจัยตามกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี หรือเมื่อสิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นผล หรือ เมื่อระบอบมิจฉาทิฏฐิ (เพราะไม่มีหลักการปกครอง) ก็จะเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมิจฉาทิฏฐิ จะเป็นปัจจัยให้แผ่กระจายความมิจฉาทิฏฐิ ความไม่ถูกต้องออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามเมื่อระบอบการเมืองเป็นสัมมาทิฏฐิเพราะมีหลักธรรมการปกครอง) ก็จะเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมีความชอบธรรม จะเป็นปัจจัยให้แผ่กระจายความถูกต้องดีงาม ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในประเทศ

พระพุทธเจ้าทรงประกาศสัจธรรมอันลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมพ้นทุกข์  จะเห็นได้ว่าก่อนจะบวชเป็นภิกษุล้วนเป็นผู้มีความทุกข์และเห็นผิดมาก่อน แต่เมื่อได้รับฟังคำสั่งสอนก็เปลี่ยนมาเป็นความเห็นถูก รู้แจ้งสัจธรรม เพราะอาศัยหลักการที่ดีนั่นเอง

อุปมา เมื่อคลองคดเคี้ยว น้ำย่อมคดตาม คลองก็คือระบอบฯ น้ำก็คือรัฐบาล จะเห็นได้ว่า เมื่อรัฐบาลฯนี้ เข้าบริหารประเทศใหม่ๆ ประชาชนต่างก็ชื่นชม แม้จะมีคดีซุกหุ้น ศาลก็ตัดสินให้พ้นผิด ด้วยเกรงพลังประชาชนที่ให้การสนับสนุนจำนวนมาก แต่เมื่อบริหารประเทศผ่านไป ๕ ปี ปรากฏว่า รัฐบาลฯนี้ ได้เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เขียนได้เคยเตือนผู้นำรัฐบาลนี้ไว้มากแล้ว แต่รัฐบาลไม่เคยฉุกคิด ปัญหาก็คืออยู่ที่ใครเป็นผู้ยกร่างและรับรองรัฐธรรมนูญมิจฉาทิฏฐิ ผู้เขียนเองไม่มีส่วนได้เสียทางการเมือง คิดและเขียนอย่างมีภารกิจมุ่งขจัดมิจฉาทิฏฐิ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติและความผาสุกของปวงชนในชาติ

๒. เรื่องรัฐประหารกับการปฏิวัติ สองคำนี้มีจินตภาพที่แตกต่างกันมากและตรงกันข้ามกัน รัฐประหารเป็นการกระทำที่เป็นไปในทางลบ และจะเกิดขึ้นในระบอบการเมืองที่เป็นเผด็จการต่อประชาชนเท่านั้น แนวทางรัฐประหารไม่สามารถจะแก้ปัญหาประเทศชาติได้ ทั้งจะเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น และขอให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิวัติทางการเมืองแม้แต่ครั้งเดียว นับตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา มีแต่รัฐประหารเท่านั้น แต่หนังสือพิมพ์ และผู้สื่อข่าว บางส่วนหรือนักการเมือง มักจะพูดและเขียนว่า “ปฏิวัติรัฐประหาร” ซึ่งเป็นการพูดและเขียนไม่ถูกต้องตามหลักวิชารัฐศาสตร์ จึงควรแก้ไขจะได้ไม่อายเขา และพบว่า“รัฐประหารเกิดขึ้น จากเงื่อนไขต่ำทรามของระบอบเผด็จการรูปแบบต่างๆ” และจะไม่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตย และ ธรรมาธิปไตย อย่างเด็ดขาด

ส่วนคำว่า “ปฏิวัติ” เป็นจินตภาพที่เป็นไปในทางดี เป็นไปในทางก้าวหน้า เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ การปฏิวัติทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย เช่น ใน ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส มาเลเซีย และการปฏิวัติสังคมนิยม เช่น สหภาพโซเวียต รัสเซีย จีน เวียดนาม ลาว เป็นต้น

จะได้อธิบายกระบวนการวิวัฒนาการทั้งทางนามธรรมและรูปธรรมมี ๒ ลักษณะ คือ

๑. แบบค่อยเป็นค่อยไป (evolution)

๒. แบบก้าวกระโดด (leap or revolution)

มีข้อสังเกตว่า การจะทำให้วัตถุบริสุทธิ์ด้วยน้ำมือของมนุษย์นั้น จะต้องทำให้เดือด หรือถึงจุดหลอมเหลว หรือทำให้ขัดแย้งอย่างถึงที่สุดเสียก่อน จึงจะทำการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลงได้ตามที่ต้องการ (มาร์กซ์ (Marx) เจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์, เลนิน ผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์โซเวียตรัสเซีย, เหมา เจ๋อตุง ผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนแดง ได้นำไปประยุกต์เป็นทฤษฏีปฏิวัติแนวทางรุนแรงด้วยกำลังอาวุธ โค่นล้มทำลายสถาบันองค์ประกอบแห่งรัฐและนายทุน แล้วสถาปนารัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ขึ้นแทน)

แต่ในทางนามธรรม หรือทางจิต จะทำให้บริสุทธิ์ได้นั้น จะต้องกลั่นจิตให้สงบ และไม่ให้ติดยึดในสังขารทั้งปวง (ข้อนี้ เป็นแนวทางการปฏิวัติสังคมแนวทางสันติ เช่น พระพุทธเจ้า, พระเจ้าอโศกมหาราชภายหลังมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว, มหาตมะคานธี ผู้นำยุคใหม่ของอินเดีย, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕  เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย)

ประเทศไทยยังไม่เคยผ่านการปฏิวัติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ สักวันหนึ่งก็จะต้องปฏิวัติอย่างแน่นอน แต่จะปฏิวัติด้วยแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ้งได้ทำแนวร่วมกับรัฐบาลในขณะนี้ หรือจะเป็นแนวทางลัทธิประชาธิปไตยก็มีขบวนการเคลื่อนไหวอยู่ หรือ จะเป็นแนวทางธรรมาธิปไตยอันเป็นแนวทางของพระพุทธเจ้า

ทั้งนี้จะเป็นแนวทางวัตถุรุนแรง หรือจะเลือกแนวทางสันติด้วยธรรมาธิปไตยอันเป็นชัยชนะของทุกคนและเพื่อสันติภาพโลก ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้นำและประชาชน

๓. เรื่องการสร้างระบอบการเมือง ขอย้ำว่าผู้ปกครองไทย ๑๖ รุ่น ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการจัดความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง เอาหางมาเป็นหัว  ส่วนหัวไม่มี หัวหายไป คือยังไม่ได้มีระบอบฯ หรือหลักการปกครอง  เมื่อไม่มีหลักการปกครอง เป็นบทตั้งหรือเป็นบททั่วไปอันเป็นหลักประกันของปวงชนในแผ่นดิน ก็จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีแต่ด้านวิธีการปกครองเพียงด้านเดียว จึงเป็นรัฐธรรมนูญระบอบเผด็จการ และเมื่อมาใช้กับรูปการปกครองระบบรัฐสภาจึงเรียกว่า  “ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา” นี่คือเหตุแห่งความพินาศของแผ่นดิน

การจัดความสัมพันธ์อย่างถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?

๑. เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า

เราชาวไทยส่วนใหญ่ (๙๔.๗๕%) นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่ตราตรึงประทับอยู่ในใจของชาวไทยพุทธทั้งปวง ควรพิจารณาวิธีการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้ง เช่น กฎอิทัปปัจจยตา, กฎปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจ ๔ ได้รู้แจ้งโลกและพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง คือตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เองและทรงบัญญัติและสอนอริยสัจ ๔, มรรคมีองค์ ๘, โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นต้น

จนกระทั่งมีพระอรหันตสาวกมากถึง ๑,๒๕๐ องค์ ก็ยังไม่มีพระวินัยใดๆ เลย แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ตรัสสอนหลักธรรมก่อนหรือหลักการก่อน (ระบอบ) ต่อมาเมื่อสาวกมากขึ้น จึงค่อยๆ บัญญัติพระวินัย (ธรรมนูญ) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อเท็จจริงที่สาวกได้ปฏิบัติอันไม่สมควรแก่สมณสารูป

สมมติว่าถ้าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยก่อน พระพุทธศาสนาก็คงไม่ได้เกิดขึ้นมาในโลกเป็นแน่แท้ พึงใคร่ครวญพิจารณากันดูเถิด ท่านนักการเมืองและนักวิชาการทั้งหลายก็เหมือนกับที่ผู้ปกครองไทยรุ่นแล้ว รุ่นเล่า ได้คล้อยตามเอาแบบอย่างมิจฉาทิฏฐิตามๆ กันมาอย่างโง่ๆ ด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างระบอบประชาธิปไตย แต่กลับได้ระบอบเผด็จการทุกครั้งไป และเมื่อพวกเขาคิดจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงระบอบประชาธิปไตยยังไม่ได้เกิดขึ้น  จึงเป็นการกระชับระบอบเผด็จการให้มากขึ้นๆ นั่นเอง

สรุป ในเบื้องต้นควรกำหนดหลักการปกครอง หรือจุดมุ่งหมายขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ให้จัดทำวิธีการ คือหมวดและมาตราต่างๆ ตามที่จะเป็น เมื่อหลักเป็นประชาธิปไตย จะได้ระบอบประชาธิปไตย หรือหลักการเป็นธรรมาธิปไตย ๙ ก็จะได้ระบอบธรรมาธิปไตยเกิดขึ้น อุปมาว่า เราจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายขึ้นมาก่อน สมมติว่า จุดมุ่งหมายคือ กรุงเทพฯ ส่วนวิธีการ ที่จะไปให้ถึงกรุงเทพฯ เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน หรือจะไปทางน้ำ จะไปด้วยวิธีไหนๆ ไปถึงกรุงเทพฯ ได้ ตามกำลังความสามารถ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญ ๑๖ ฉบับ โดยไม่มีหลักการปกครอง มีแต่วิธีการปกครอง หมายความว่า จะไปด้วยวิธีการใดๆ ก็ไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ส่วนผู้ปกครองอาจจะไปด้วยเครื่องบิน แล้วบินไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่รู้ว่าไปลงที่ไหน น้ำมันหมดถัง ก็โหม่งโลกทุกทีไป

 

๒.  แบบอย่างจากต่างประเทศ  พอจะเป็นแบบอย่างเพื่อการศึกษา

๒.๑ ประเทศสหรัฐอเมริกาสร้างระบอบประชาธิปไตย ใช้รูปการปกครองระบบประธานาธิบดี ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยใช้เวลาสร้างระบอบประมาณ ๑๔ ปี จึงได้ร่างรัฐธรรมนูญเฟสเดอรัลสเตท (Federal state) เป็นผลสำเร็จ (ค.ศ. ๑๗๗๖ – ๑๗๘๙)

๒.๒ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำและประชาชนร่วมกันปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชาติและได้เอกราชจากประเทศอังกฤษ ปี พ. ศ. ๒๔๙๗ สร้างระบอบประชาธิปไตยแบบมาเลเซีย ใช้เวลาถึง ๘ ปี ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี พ. ศ. ๒๕๐๖ ประเทศก็ราบรื่นก้าวหน้ามาตลอด กระทั่งก้าวหน้ากว่าประเทศไทย อย่างไม่น่าเป็นไปได้ ทั้งที่เป็นประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะเขาสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและสำเร็จ นั่นเอง และมีข้อสังเกตว่า นับแต่ พ. ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา ๔๒ ปีแล้ว ประเทศมาเลเซียไม่เคยมีกบฏ หรือรัฐประหาร เกิดขึ้นเลย

๒.๓ ประเทศลาว พรรคคอมมิวนิสต์ลาวได้รับชัยชนะในสงครามปฏิวัติ ในปี  พ.ศ. ๒๕๑๘ พรรคคอมมิวนิสต์ลาวได้สร้างระบอบการเมืองสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบลาวขึ้น และได้กำหนดระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบลาว ใช้เวลาถึง ๑๖ ปี ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในปี พ. ศ. ๒๕๓๔ มีข้อสังเกตว่า จนถึงปัจจุบันประเทศลาวยังไม่เคยมีกบฏ หรือรัฐประหาร เกิดขึ้นเลย

ผู้ปกครองไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าลอกเลียนแบบตะวันตก แต่ลอกเอาเฉพาะวิธีการอันเป็นเปลือกนอก   คือ หมวดและมาตรา อันที่จริงระบอบหรือหลักการปกครองก็คือจุดมุ่งหมาย  หรือยุทธศาสตร์  วิธีการก็คือหนทาง (มรรคา)  หรือยุทธวิธี  เมื่อมีแต่ด้านวิธีการ  ก็เท่ากับว่า เรามีแต่หนทางหรือทางที่จะไป  และไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย  จึงเป็นรัฐธรรมนูญไร้ทิศทางผิดไปจากวิถีธรรมโดยสิ้นเชิง  เมื่อนำมาปกครอง บริหารประเทศ จึงไร้ทิศทาง  รัฐบาลไปทางหนึ่ง  ประชาชน ๖๐  ล้านคนก็ ๖๐ ล้านจุดมุ่งหมาย  ลักษณะอย่างนี้ รู้ได้ชัดว่าระบอบการเมืองที่เป็นอยู่  ใครขึ้นมาบริหารประเทศก็จะไปไม่รอดอย่างแน่นอน เพียงแต่รอเวลาเท่านั้น

“เมื่อไม่มีจุดมุ่งหมาย ก็ไม่มีหนทาง เมื่อไม่มีหนทาง ก็ไม่มีความก้าวหน้า อุปมา พายเรือในอ่างน้ำ”

รัฐบาลปัจจุบัน มาจากวิธีการประชาธิปไตย (เลือกตั้งซื้อเอา) ภายใต้ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ใช้เงื่อนไขของระบอบฯนี้บริหารประเทศ และการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬารทุกวันนี้ เกิดจากระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ทั้งนักการเมืองและนักวิชาการผู้สนับสนุนและผู้สร้างระบอบปัจจุบัน  ไม่ยอมรับความเป็นจริง นักวิชาการบางคนเป็นผู้ค้ำระบอบปัจจุบัน ทั้งที่ระบอบปัจจุบันนี้ เป็นระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา คือเหตุแห่งการทำลายความมั่นคงของชาติ ให้ค่อยๆ ทรุดลงๆ ดุจปลวกกินบ้าน กว่าจะรู้ตัวก็...

ประชาชนหมดศรัทธารัฐบาล เพราะเป็นรัฐบาลภายใต้ระบอบที่อยุติธรรม  ระบอบเลวเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ผลคือรัฐบาลเลวด้วย  รัฐบาลไหนๆ ก็ตามซึ่งอยู่ภายใต้ระบอบเลว  สักวันหนึ่งก็จะถูกประชาชนขับไล่ ดังนั้นการคิดจะไล่คนเพียงด้านเดียว อุปมา ระบอบการเมืองดุจดังน้ำ ประชาชนนั้นดุจดังปลา การที่จะไล่จ่าฝูงปลาปิรันย่านี้ให้พ้นไปเพียงอย่างเดียวนั้น ฝูงใหม่ก็จะเข้ามาอีก จึงควรแก้ไขน้ำเน่า (ระบอบ) อันเป็นเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวง

ของชาติ และการสมานฉันท์ภายในชาติจะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ด้วยหลักธรรมาธิปไตย ๙ เป็นศูนย์กลางเท่านั้น

ทั้งนี้ขอให้เจริญรอยตามองค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความรู้รักสามัคคีธรรม สู่ การสถาปนาธรรมาธิปไตย คือชัยชนะของปวงชนในแผ่นดิน

 

“ธรรมาธิปไตย หลักรัฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญของไทยและโลก”

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 พ.ค.2557

คัดลอกจากหนังสือธรรมาธิปไตย 9 โดย ดร.ป.เพชรอริยะ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 21:54 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603293

facebook

Twitter


บทความเก่า