Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๗)

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๗)

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๗)

การรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่นำผู้ศึกษาปฏิบัติให้รู้ชัดต่อสภาวธรรมในมิติต่างๆ เช่น อริยสัจ ๔, ขันธ์ ๕, สติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม), สังขตธรรม, อิทัปปัจจยตา, ปฏิจจสมุปบาท, ธรรมนิยามตา, ธรรมฐิติ, สุญญตา, อตัมมยตา, อสังขตธรรม, และตถตา
กล่าวคือเมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือมีความเห็นถูก เรียกว่ามี “ธรรมทัศน์” หรือมี ญาณทัสนวิสุทธิ จะเป็นปัจจัยให้มีความคิดถูก, พูดถูก, ทำถูก, ประกอบอาชีพถูก, ความเพียรถูก, สติถูก, สมาธิถูก, ญาณถูก, และวิมุตติชอบ อย่างเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา นั่นเอง
ดังกล่าวนี้ จะเป็นปัจจัยให้มีปัญญาอันยิ่ง เห็นการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติบนความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (ซึ่งมีลักษณะแผ่กระจาย) กับ สภาวะสังขตธรรม (ซึ่งมีลักษณะรวมศูนย์ หรือขึ้นต่อสภาวะอสังขตธรรม) ความสัมพันธ์ระหว่างแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ ก่อให้เกิดดุลยภาพ ซึ่งมีลักษณะพระธรรมจักร ดังรูปข้างล่างนี้


ธรรมจักรแบบผู้เขียน ธรรมจักรยุคพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย
(พ. ศ. ๒๕๔๙) (พ.ศ. ๒๗๐ – ๓๑๒) 

เมื่อมองภาพรวมโดยรอบในทุกมิติ แท้จริงเป็นความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (บรมธรรม, นิพพาน) ที่มีลักษณะแผ่กระจายออกไปทุกทิศทุกทาง กับ สภาวะสังขตธรรม ที่มีลักษณะรวมศูนย์หรือขึ้นต่อสภาวะอสังขตธรรม จึงมีลักษณะเป็นพระธรรมจักร หรือลักษณะเอกภาพของสรรพสิ่ง และมีข้อสังเกตว่าความสัมพันธ์ระหว่างแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์หรือขึ้นต่อนั้น เป็นปัจจัยให้กฎธรรมชาติดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ 
ภาพองค์รวมดังกล่าวนี้ อธิบายการวิวัฒนาการทางนามธรรมหรือวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้ ที่โยงใยเป็นเครือข่ายสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดนับแต่สิ่งมีชีวิตเล็กสุด จนบรรลุถึงบรมธรรม จะก่อให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งเป็นจริงแห่งธรรมในนัยต่างๆ มากมาย เป็นลำดับไปดังนี้
๑. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า ภาพรวมของกระบวนการของนามรูป นับแต่การประชุมธาตุทั้ง ๖ (ธาตุดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศธาตุ, และวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้) รวมตัวกันด้วยเหตุปัจจัยที่พอเหมาะ ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตเริ่มขึ้น แล้วได้วิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดียวในเบื้องต้น เป็นสัตว์เดรัจฉาน จากนั้นค่อยๆ วิวัฒนาการเป็นมนุษย์ จนกว่าจะบรรลุถึงนิพพาน หรือ บรมธรรม ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องเอกภาพของความแตกต่างหลากหลาย 
๒. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า สิ่งมีชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะวิวัฒนาการใน ๒ ลักษณะ คือ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และก้าวกระโดดเมื่อถึงจุดอิ่มตัวในภพนั้นๆ ก็จะก้าวไปสู่ภพใหม่ที่ก้าวหน้ากว่า สูงกว่าทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (ภวหรือ ภพ แปลว่า ความเป็น, ความมี) ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องวิถีอัตตวิสัยและการแก้ปัญหาทางอัตตวิสัย
๓. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า วิถีของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และจุดมุ่งหมาย หรือศูนย์กลางของสรรพสัตว์ทั้งหลายคือบรมธรรม (ธรรมาธิปไตย), หรือนิพพาน 
๔. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า จุดมุ่งหมาย หรือศูนย์กลางของสรรพสิ่ง คือ บรมธรรม และมรรคา (หนทาง, ทางที่ไป) ของสรรพสัตว์ทั้งหลายคือการวิวัฒนาการ ๒ ลักษณะ คือ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และก้าวกระโดด และสำหรับมรรคาของมนุษยชาติ คือ มรรคมีองค์ ๘ และการละสังโยชน์ ๑๐ ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องจุดมุ่งหมายและมรรควิธี หรือ หลักการและวิธีการ 
๕. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า สภาวะบรมธรรมแผ่กระจายโอบอุ้มนับแต่สัตว์เล็กที่สุดจนถึงมนุษย์ (อุปมา ดุจดังฝาชีครอบอาหาร) และการรวมศูนย์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายเพื่อจะไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดอันเป็นหนึ่งเดียว คือ บรมธรรม
๖. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า วิถีอัตตวิสัยของสรรพสัตว์ขึ้นต่อบรมธรรม โดยได้วิวัฒนาการจากล่างขึ้นสู่บน หรือจากต่ำขึ้นไปสูง (อุปมาเหมือนเดินขึ้นบันได) และสภาวะธรรมแผ่กระจายจากบนลงสู่ล่าง (อุปมาเหมือนเดินลงบันได) แผ่ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องการจัดความสัมพันธ์ในการแก้ปัญหาทางอัตตวิสัยและภาวะวิสัย หรือการคิดแก้ปัญหาส่วนตัว กับ การคิดแก้ปัญหาส่วนรวม 
๗. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพ (บรมธรรม, อสังขตธรรมหรือสภาวธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง) และด้านความแตกต่างหลากหลาย (ธาตุต่างๆ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย หรือด้านสังขตธรรมหรือสภาวะธรรมที่ปรุงแต่ง) ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องเอกภาพของความแตกต่างหลากหลาย 
๘. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า สภาพดุลยภาพระหว่างอสังขตธรรม (มีลักษณะแผ่รัศมีกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง) กับ สังขตธรรม (มีลักษณะรวมศูนย์) จะเห็นได้ว่าแผ่ กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพกัน ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องดุลยภาพ 
๙. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า ความเสมอภาคทางโอกาสของสรรพสัตว์ในแต่ละภพ หรือสัตว์ทุกชนิดมีความเสมอภาคทางโอกาสที่พัฒนาให้มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปในภพภูมิแห่งสัตว์นั้นๆ ตามกำลังความมุ่งมั่นและความเพียรแห่งสัตว์นั้นๆ (อุปมา คนจบ ป. ๖ (การศึกษาเบื้องต้น) ก็มีโอกาสที่จะศึกษา, มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพุทธวิปัสสนาภาวนา จนสามารถบรรลุธรรมได้เฉกเช่นคนจบปริญญาตรี, โท, เอก) หรืออุปมาได้ว่า กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของทุกคน, ใครจะเดินก็มุ่งไปกรุงเทพฯ, วิ่งก็มุ่งไปกรุงเทพฯ, ขี่จักรยานก็มุ่งไปกรุงเทพฯ, ขี่มอเตอร์ไซค์, รถยนต์, รถไฟ, เครื่องบินก็มุ่งไปกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพหรือความสามารถของแต่ละบุคคล โดยที่ไม่มีการห้าม หรือปิดกั้นด้วยความแตกต่างใดๆ ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาคทางโอกาสของประชาชน
๑๐. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า ลักษณะภราดรภาพของสรรพสัตว์ต่างๆ ในแต่ละภพภูมิ ไม่มีชนชั้นวรรณะ ถึงแม้จะมีความแตกต่างของธาตุรู้จะสูงบ้าง ต่ำบ้างก็ตาม แล้วทำไมมนุษย์บางเหล่าจึงมีชนชั้น หรือวรรณะ ก็เพราะว่ามนุษย์มีภาษาสมมติเป็นสื่อกลางนี่เอง ทั้งมียศ ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ จึงทำให้มีชนชั้น หรือยศ-ตำแหน่งต่ำ - สูง ตามสมมติบัญญัติ หรือโลกบัญญัติ แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นตามโลกบัญญัติดังกล่าว แต่ในทางปรมัตถธรรม จะเป็นไปอย่างภราดรภาพ, มีความเสมอภาคทางโอกาสเสมอกัน ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องเสรีภาพ, ความเสมอภาคทางโอกาส, และภราดรภาพของประชาชนในทางการเมือง
๑๑. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า กฎแห่งกรรม หรือกฎอิทัปปัจจยตา กำลังขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมิได้ว่างเว้นทั้งวิถีจากบนลงสู่ล่าง (จากบรมธรรมสู่สัตว์เล็กที่สุด) และจากล่างขึ้นสู่บน (จากสัตว์เล็กที่สุด เป็นสัตว์เดรัจฉาน สู่ มนุษย์ ทั้งถอยหลัง (เพราะทำบาปอกุศล) และก้าวหน้า (เพราะทำบุญกุศล) มุ่งไปยังบรมธรรมอันเป็นสุดยอดแห่งปัญญา สุดยอดความดี, สุดยอดความสุขทางใจ และความสิ้นทุกข์ทางใจ (นิพพานัง ปะระมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) และรวมทั้งความเป็นไปทางภาวะวิสัยทั้งหมด ล้วนแล้วเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น) 
ดังกล่าวนี้ เราสามารถเปรียบเทียบ อุปมาเหมือนกับฟันเฟืองต่างๆ ในเครื่องยนต์กลไก ทำงานสัมพันธ์เกี่ยวพันธ์กันทั้งหมด อันเป็นกฎของความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย ถ้าเหตุดี ผลก็จะดีตามไปด้วย พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ข้อนี้นำไปเป็นหลักคิดเรื่องหลักนิติธรรม และเรื่องจัดความสัมพันธ์ว่าอะไรเป็นปฐมภูมิและอะไรเป็นทุติยภูมิ หรืออะไรเป็นเหตุและอะไรเป็นผล และเรื่องสรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด
๑๒. ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า กฎธรรมชาติทั้งองค์รวมคือ บรมธรรมหรืออสังขตธรรมนั้น มีลักษณะแผ่ธรรมานุภาพ หรือแผ่ธาตุรู้ ครอบงำสัตว์เล็กที่สุด และขณะเดียวกันสัตว์
ต่างๆ ก็พยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้มีธาตุรู้เพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ ตามลำดับ ตามกำลังวิวัฒนาการในกระบวนการของสัตว์เดรัจฉานในภพนั้นๆ จนถึงมนุษย์ และมนุษย์สามารถ
วิวัฒนาการทางจิตให้สูงขึ้นด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รู้แจ้ง ตถตาและไวพจน์ดังได้กล่าวในเบื้องต้น กระทั่งสามารถละสังโยชน์ ๑๐ ได้หมดสิ้น ได้รู้แจ้งสัจธรรม สิ้นอาสวะกิเลสทั้งปวงเข้าถึงบรมธรรม, หรือนิพพาน อันเป็นอมตธรรม มี พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เป็นต้น จึงเป็นที่มาของธรรมาธิปไตยบุคคล, ธรรมาธิปไตยในกฎธรรมชาติที่มีอยู่เดิม และนำมาประยุกต์เป็นธรรมาธิปไตยทางการเมือง และทุกหน่วยของสังคมโดยรอบ นี่คือความสุดยอดแห่งภูมิปัญญาไทย

“พบธรรมาธิปไตยภายใน แล้วออกไปสร้างธรรมาธิปไตยแห่งรัฐ และ โลก”

คัดลอกจากหนังสือธรรมาธิปไตย ๙

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 01 มิถุนายน 2014 เวลา 15:21 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๗)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8604016

facebook

Twitter


บทความเก่า