Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๓. การประชุมวันแรก ๒๑ ก.ค. ๕๗

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๓. การประชุมวันแรก ๒๑ ก.ค. ๕๗

พิมพ์ PDF

การประชุม 2014 International Engagement Australia Conference ที่มหาวิทยาลัย Charles Sturt (CSU) เมือง Wagga Wagga, NSW, Australia วันแรก ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ไม่เข้มข้นมากนัก เขาบอกว่า การประชุมมีเป้าหมายทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการ (sharing) และเพื่อให้คนที่มาประชุมได้รู้จักกัน (connection/networking)

เริ่มต้นเวลา ๑๑.๐๐ น. ด้วย workshop 3 ห้องพร้อมกัน ให้ผู้เข้าประชุมเลือกเข้าตามความสนใจ ตามหัวเรื่องและวิทยากร คือ (1) Collaborative Networks, Professor Robyn Keast, Southern Cross University (2) Community-based Research, Dr. Kerry Strand, Hood University, USA (3) Knowledge Translation model, Dr. Tamika Heiden, Knowledge Translation Australia

ที่จริงหัวข้อน่าสนใจทั้ง ๓ เรื่อง และ ศ. ดร. ปิยะวัติ บอกว่า Dr. Kerry Strand เขียนหนังสือชื่อCommunity-based Research and Higher Education เสนอทฤษฎีน่าสนใจมาก ผมจึงไม่เข้าห้องที่สอง คิดว่าไปหาอ่านหนังสือเอาทีหลังได้

ผมติดใจหน่วยงาน ชื่อ Knowledge Translation Australia (www.ktaustralia.com) และสนใจว่า วงการ Community Engagement เอา KT มาใช้งานอย่างไรบ้าง จึงเลือกเข้าห้องที่ ๓ ซึ่งเข้าใจว่ามีผู้เข้าร่วมน้อยที่สุด ไม่ถึง ๒๐ คน เขาจัดห้องประชุมเป็นแบบโต๊ะจีน พอเห็นวิธีจัดที่นั่ง เราก็รู้ทันทีว่า ต้องการให้คนที่มาประชุม รู้จักและคุยกัน ซึ่งช่วยให้ผมได้เข้าใจหลักการอย่างหนึ่งของการทำงานพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ว่าฝ่ายคนมหาวิทยาลัยต้องมีความหลงใหล (passion) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่อง นี่คือคำของ Assoc. Prof. Subramanyam Vemulpad จากมหาวิทยาลัย Macquarie ที่ซิดนีย์ ที่ passion ของเขาคือ bush medicine ความเข้มแข็ง และการทำงานวิชาการต่อเนื่องเรื่องยาสมุนไพร นำไปเชื่อมโยงกับชุมชนคนพื้นเมือง ที่มีทั้งความรู้ ภาคปฏิบัติด้านสมุนไพร และมีความต้องการพัฒนาชุมชนของตน เกิดความร่วมมือที่ชุมชนกำหนด ความต้องการเอง และ Macquarie ยังดำเนินการเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงไปทั่วประเทศออสเตรเลีย และเชื่อมไปยังประเทศอินเดียด้วย เพราะ อ. Subramanyam มีพื้นเพเป็นคนอินเดีย

สุพราหมณ์ ใช้ความหลงใหลวิชาการของตน เป็นเครืองมือทำงานรับใช้สังคม ขยายเครือข่ายออกไป ผมได้แนะนำให้เขารู้จักกับ ดร. นงเยาว์ เพื่อเชื่อมโยงกับอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยที่มีความหลงใหลตรงกัน ชีวิตคนเรา หากได้มีโอกาสหลงใหลสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม/ผู้อื่น และมีเพื่อน/เครือข่าย ทำกิจกรรมนั้น ถือเป็นบุญของชีวิต

ผมได้เรียนรู้ว่า เรื่อง KT มีที่มาจากวงการสุขภาพ ต้นตอมาจากประเทศแคนาดา เป็นการตั้งชื่อและ ทำให้มีทฤษฎี สำหรับการทำงานวิชาการ “ขาลง” หรือประยุกต์ ดังปรากฎในเว็บไซต์ของ KT Australia ที่นี่

ตอนบ่ายเป็นรายการประชุมแบบ World Café ในหัวข้อ How can we unlock universities as catalysts for innovation and sustainability in communities? ทำให้ผมได้ประสบการณ์เทคนิคการประชุมแบบ World Café เป็นครั้งแรก หลังจากได้ยินชื่อมานาน ข้อดีคือทำให้คนรู้จักกัน และได้รับฟังข้อคิดเห็นของกัน และกัน รวมทั้งได้ข้อสรุปดีๆ เก็บเอาไว้ใช้

ตอนค่ำเป็น Welcome reception จัดที่ Winery ของมหาวิทยาลัย CSU เราได้รู้ว่า CSU มีหลักสูตรสอนเรื่อง ไวน์ อย่างครบวงจร คือ Bachelor of Viticulture (วิชาปลูกองุ่น), Master of Viticulture and Oenology (วิชาปลูกต้นองุ่นและทำไวน์), Bachelor of Wine Business, และ Bachelor of Wine Science ผมได้เรียนรู้ว่า มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ต้องทำให้การทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น เป็นวิชาการ และจัดอุดมศึกษาเพื่อการมีชีวิตที่ดีในท้องถิ่นนั้นๆ ความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เพื่อท้องถิ่นอยู่ที่การทำงานวิชาการที่ engage กับชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นนั้นเอง

community engagement ด้านการเรียนการสอนที่สำคัญ คือการเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับการทำมาหากิน ของคนในพื้นที่นั้นๆ

งาน Reception มีเป้าหมายเพื่อให้คนมาคุยกัน สร้างความสัมพันธ์ร่วมมือกัน โดยมีเครื่องมือ ๔ อย่างคือ ไวน์ เนยแข็ง ดนตรี และอาหารเป็นชิ้นๆ ที่มีคนเดินเสิร์พ ผมได้รับอย่างที่ ๕ ด้วย คือดอกไม้ ที่เขานำมาประดับแจกัน สร้างสุนทรียะทางสายตา โดย ดร. นงเยาว์มาแนะนำว่า นี่คือ Banksia นี่คือ Protea นอกจาก

เมื่อรู้ว่างาน reception เลี้ยงแต่ไวน์กับเนยแข็ง ศ. ดร. วิจิตร ก็แนะนำทันทีให้เตรียมไปกินอาหารค่ำ ที่ร้านในเมือง เราจึงได้กินอาหารค่ำที่ร้านอาหารใน Victoria Hotel ที่นอกจากอาหารอร่อยแล้ว สาวๆ บริกรยังสวยมากอีกด้วย หนุ่มๆ ในทีมหาเหตุไปถามโน่นถามนี่ไม่หยุดหย่อน

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ติดตามชมภาพประกอบได้ตาม link :http://www.gotoknow.org/posts/575255

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2014 เวลา 11:17 น.  
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๓. การประชุมวันแรก ๒๑ ก.ค. ๕๗

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603422

facebook

Twitter


บทความเก่า