Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > รียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๕. การประชุมวันที่สาม ๒๓ ก.ค. ๕๗

รียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๕. การประชุมวันที่สาม ๒๓ ก.ค. ๕๗

พิมพ์ PDF

การประชุม 2014 International Engagement Australia Conference ที่มหาวิทยาลัย Charles Sturt เมือง Wagga Wagga, NSW, Australia วันที่สาม๒๓กรกฎาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย

๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. เป็นรายการที่เขาเรียกว่า Roundtables พร้อมกัน ๔ ห้อง ห้องละ ๒ เรื่อง ผมเลือก เข้าห้องแรก เพราะอยากฟังเรื่อง E-DNA II โดย Pierre Viljoen, รองอธิการบดีฝ่าย Engagement, Campuses, and North Queensland Region, มหาวิทยาลัย Central Queensland ซึ่งก็คือประธานของ Engagement Australia นั่นเอง

E-DNA II เป็นระบบข้อมูล สำหรับให้อาจารย์บันทึกกิจกรรมด้าน Engagement ของตน สำหรับให้ทาง มหาวิทยาลัยรวบรวม เป็นผลงาน เขาทำระบบนี้มา ๔ ปีแล้ว และพัฒนามาเป็น version II ให้ใช้ง่ายขึ้น และมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เขาเอ่ยชวน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ประธาน Engagement Thailand ให้เข้าฟังห้องเขา เพราะ EA กับ ET จะลงนามความร่วมมือกัน และระบบข้อมูลจะเป็นเรื่องหนึ่งในสัญญาความร่วมมือ

มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือเครื่องมือบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย เพราะ CQU มีวิสัยทัศน์ว่า “เป็นมหาวิทยาลัยที่ most engaged ในออสเตรเลีย ผ่านการเป็นภาคีกับ อุตสาหกรรม นักศึกษา และชุมชน แสดงออกผ่าน engagement ด้าน การเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรม และด้านบริการ”

เขาบอกว่า นี่คือเครื่องมือเปลี่ยนมหาวิทยาลัยจาก expert producer of knowledge ไปสู่collaborative knowledge processes ผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนท่าที หรือ mental model นี้อย่างยิ่ง แม้ในมหาวิทยาลัยวิจัย ระดับโลก ก็ต้องการการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เช่นนี้

ผมชอบ ที่เขาตอบคำถาม ว่าไม่บังคับให้อาจารย์ต้องกรอกข้อมูล เพราะเขาพัฒนาระบบ E-DNA ให้เป็นเครื่องมือช่วยอาจารย์ ไม่ใช่เป็นเครื่องมือช่วยรองอธิการบดีคือตัวเขาเอง เสียดายที่เขาไม่ได้เอาข้อมูล ของมหาวิทยาลัยของเขามาให้ดู

ระบบข้อมูลแบบนี้ ต้องมีการจัดการด้านการใช้งานที่ดี ให้ผู้เข้ามาใช้ได้รับประโยชน์ คือต้องมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการระบบฐานข้อมูล นำเอากิจกรรมหรือผลงานเด่น เสนอผู้บริหาร ให้หาทางสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ทำงานนั้นๆ สะดวกขึ้น หรือให้ได้รับการยกย่อง หรือได้โอกาส ไปเสนอผลงาน หรือได้รับผลประโยชน์ด้านการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

เขามีเจ้าหน้าที่คอยดึงข้อมูลเอาไปทำเป็นรายงานเสนอผู้บริหาร ในประเด็นต่อไปนี้ (๑) จำนวนกิจกรรม ในด้าน การเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรม และด้านการบริการ (๒) โอกาสพัฒนาไปเป็น “engaging activity” และความก้าวหน้าของ

เรื่องที่ ๒ เรื่อง Outcome Measurement and Community Engagement : A Methodological Discussion โดยทีมของ CSU โดยเขาเอาเครื่องมือที่ชื่อว่า SpICE (Space of Integrated Community Engagement) มาให้รู้จัก มีแผ่นกระดาษ Data Gathering Triangle ที่แบ่งเป็น ๔ ชั้น ชั้นบนสุดที่ยอดสามเหลี่ยม คือ Vision ของโครงการ ถัดลงมา (มี ๓ สามเหลี่ยมเล็ก) คือ Aims ถัดลงมา (มี ๕ สามเหลี่ยมเล็ก) คือ KPIs และล่างสุด (มี ๗ สามเหลี่ยมเล็ก) คือ Outcomes เขาเอาแผ่นกระดาษมาให้เราลองบรรจุโคงการของเราลงไปในสามเหลี่ยม เหล่านั้นแต่ละชั้น แต่เนื่องจากเวลามีน้อย จึงให้ลองทำเฉพาะส่วนชั้นบนสุดกับล่างสุด ผมคิดว่า เครื่องมือนี้เมื่อเอาไปใช้ในชุมชนน่าจะช่วยการคิดร่วมกันของชาวบ้าน และร่วมกับคนทำงานชุมชนได้ดี

เวลา ๑๑.๓๐ - ๑๒.๑๕ น. เป็นรายการเรื่องเล่ากิจกรรม engagement แยกเป็น ๒ ห้อง ห้องละ ๖ เรื่อง ให้เวลาเล่าเรื่องละ ๕ นาทีแล้วซักถาม ผมได้คำที่น่าสนใจเช่น Community of Learners, Collaborative Learning Community, และ SpICE ในความหมายที่สอง คือ Specialist Integrated Community Engagment ผมได้แนวทางที่มหาวิทยาลัยเข้าไปทำงาน CE ในชุมชนผ่านการสนับสนุนเยาวชนให้ทำงานสร้างสรรค์ที่เขาถนัด และเป็นประโยชน์แก่ชุมชน ดังตัวอย่างที่เขาไปหาทางป้องกันไม่ให้วัยรุ่นริสูบบุหรี่ โดยให้วัยรุ่นในชุมชนสร้าง วีดิทัศน์แนะนำแก่วัยรุ่นกันเอง เกิดผลงานที่น่าชื่นชมมาก

รายการสุดท้ายของการประชุม เวลา ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. Looking Back, Looking Forward มีวิทยากร ๕ คน ผู้ดำเนินรายการ ๑ คน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นวิทยากรท่านแรก วิทยากรท่านอื่นๆ ๑ ท่านมาจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อีกท่านหนึ่งมาจากอังกฤษ สองท่านเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย พูดกันเรื่องหลักการของ CE และการเอาชนะอุปสรรคต่อ CE วิทยากรท่านหนึ่งเน้นที่การข้ามพรมแดน (boundary crossing) ระหว่างวิชาการกับชุมชน

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ติดตามชมภาพประกอบได้ที่ link:http://www.gotoknow.org/posts/575349

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2014 เวลา 12:12 น.  
Home > Articles > การศึกษา > รียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๕. การประชุมวันที่สาม ๒๓ ก.ค. ๕๗

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603753

facebook

Twitter


บทความเก่า